ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

แนะกทม. ทบทวนค่าธรรมเนียมบำบัดน้ำเสีย: ไร้ประสิทธิภาพ ไร้ความเป็นธรรม และสร้างภาระให้คนกรุงเทพเกินความจำเป็น



แนะกทม. ทบทวนค่าธรรมเนียมบำบัดน้ำเสีย:
 ไร้ประสิทธิภาพ ไร้ความเป็นธรรม และสร้างภาระให้คนกรุงเทพเกินความจำเป็น
ที่มาของภาพ: FILE PHOTOS

วรรณพงษ์ ดุรงคเวโรจน์

                ในวันที่ 13 กรกฎาคม 2559 ได้มีการเปิดเผยจากสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (กทม.) ว่าได้มีการสรุปผลการศึกษาการเก็บค่าธรรมเนียมบำบัดน้ำเสีย โดยใช้หลัก "ใครผลิตน้ำเสียมาก-จ่ายมาก ใครผลิตน้ำเสียน้อย-จ่ายน้อย" โดยมีรายละเอียดดังนี้

ตารางที่ 1
สัดส่วนการเก็บ
ประเภท
ฐาน
ค่าบำบัด
อัตราค่าบำบัด
ต่อ
1 ลบ.ม. (บาท)
กรณีใช้น้ำต่ำสุด
กรณีใช้น้ำสูงสุด
เฉลี่ย (ATR)
90%
บ้านเรือนทั่วไป
ผลิตน้ำเสียไม่เกิน 10 ลบ.ม.
ไม่เสีย
ไม่เสีย
ใช้น้ำ 10 - 100 ลบ.ม.
เหมาจ่ายเดือนละ 30 บาท
3
0.30
0.78
ครัวเรือนขนาดใหญ่/คอนโด
ใช้น้ำ 101 - 500 ลบ.ม.
เหมาจ่ายเดือนละ 500 บาท
4.95
1
2.01
ใช้น้ำ 501 - 1,000 ลบ.ม.
เหมาจ่ายเดือนละ 1,000 บาท
2
1
1.39
10%
อุตสาหกรรม
80% ของการใช้น้ำถือเป็นน้ำเสีย เก็บ 4 บาท/ลบ.ม.
4
ขึ้นอยู่กับการใช้น้ำ








หมายเหตุ: 1) อัตราค่าบำบัดต่อ 1 ลบ.ม. กรณีใช้น้ำต่ำสุด หมายถึง หากครัวเรือนใช้น้ำ 10 ลบ.ม. ต่อเดือน จะเสียค่าบำบัดน้ำเสียเหมาจ่าย 30 บาท ซึ่งหมายถึงเสียค่าบำบัดในอัตรา 3 บาทต่อการใช้น้ำ 1 ลบ.ม. ซึ่งกรณีใช้น้ำสูงสุดมีการคำนวณแบบเดียวกัน
                    2) เฉลี่ย หมายถึง ทำการเฉลี่ยอัตราค่าบำบัดน้ำเสียต่อ 1 ลบ.ม. ทั้งหมดในช่วง โดยคำนวณละเอียดในระดับ 1 ลบ.ม. เท่านั้น ซึ่งหมายความว่าในช่วงการช้ำ 10 - 100 ลบ.ม. นั้น มีจำนวนอัตราค่าบำบัดที่นำมาเฉลี่ยทั้งสิ้น 99 อัตรา

                ทั้งนี้ มีประเด็นดังต่อไปนี้

1.                                     มีการระบุว่าใช้หลักการ "Polluter Pays Principle" (PPP) หรือผู้ที่ก่อน้ำเสียเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการบำบัดน้ำ หลักการนี้เป็นความพยายามในการเปลี่ยนผู้รับภาระในการจัดการของเสียจากรัฐบาล (ผู้จ่ายภาษี) เป็นบริษัทผู้ผลิตของเสียดังกล่าว ทำให้ภาระนี้ถูกรวมเข้าไปอยู่ในต้นทุนในการผลิตสินค้าและบริการ ซึ่งทำให้ผู้ผลิตจำเป็นที่จะต้องปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้น้ำให้ดียิ่งขึ้น ซึ่งเมื่อดูจากขั้นบันไดธรรมเนียมบำบัดน้ำเสีย พบว่า กทม.แนวความคิดที่ว่ายิ่งบ้านเรือนมีขนาดใหญ่ขึ้น ก็มีโอกาสใช้น้ำมากขึ้น และจะปล่อยน้ำเสียมากขึ้น จึงสมควรถูกเก็บค่าธรรมเนียมมากขึ้น แต่ข้อสังเกตหนึ่งคือ ครัวเรือนที่ใหญ่ขึ้น หมายถึงมีจำนวนสมาชิกมากขึ้น ซึ่งหากสมมติให้การปล่อยน้ำเสียต่อคนระหว่างครอบครัวเล็กกับครอบครัวใหญ่เท่ากัน แต่ครอบครัวใหญ่ต้องจ่ายค่าบำบัดน้ำเสียสูงกว่าครอบครัวเล็ก ซึ่งความจริงแล้ว สมาชิกในครอบครัวใหญ่มีประสิทธิภาพการใช้น้ำไม่ต่างกับครอบครัวเล็ก ดังนั้น การเก็บค่าธรรมเนียมแบบเหมาทั้งครัวเรือน ไม่ใช่รายบุคคล จึงบิดเบือนความจริงในส่วนนี้

2.                                     โครงสร้างการจัดเก็บค่าบำบัดน้ำเสียที่กทม.เสนอมานั้น ไม่ได้เป็นไปตามหลักการของ PPP เพราะเป็นการเก็บค่าบำบัดน้ำเสียจากการจ่ายน้ำ ไม่ใช่การปล่อยน้ำเสียออกมาสู่ระบบนิเวศน์ นอกจากนั้นยังตั้งสมมติฐานว่า 100 % ของน้ำที่จ่ายไปให้บ้านเรือนทั่วไปและครัวเรือนขนาดใหญ่คือ น้ำเสียทั้งหมด ขณะที่อุตสาหกรรมกำหนดเพียง 80 % จึงเกิดคำถามว่าทราบได้อย่างไรว่าน้ำจากบ้านเรือนทุกหลังจะกลายสภาพเป็นน้ำเสีย ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว ภาคอุตสาหกรรมน่าจะมีสัดส่วนของน้ำเสียต่อน้ำที่ถูกจ่ายมากกว่าครัวเรือนทั่วไป นอกจากนั้น ครัวเรือนที่ผลิตน้ำเสียน้อยและมีพฤติกรรมการใช้น้ำที่ดีกำลังจะต้องจ่ายค่าบำบัดน้ำเสียเท่ากับบ้านที่ผลิตน้ำเสียมากหากทั้งสองครอบครัวถูกจ่ายน้ำมาให้ในปริมาณเท่ากัน ปัญหาข้อแรกที่เกิดขึ้นคือ ระบบนี้ไม่สร้างความเป็นธรรมและไม่ส่งเสริมครัวเรือนที่มีพฤติกรรมที่ดีอยู่แล้ว ขณะเดียวกัน กลับเอาใจครัวเรือนที่มีพฤติกรรมแย่เพราะรับผิดชอบต้นทุนของการบำบัดน้ำเสียเท่ากับคนอื่นๆ ดังนั้น เมื่อเก็บค่าบำบัดจากฝั่งขาเข้า ไม่ใช่จากปริมาณน้ำเสีย จึงเกิดปัญหาที่เรียกว่า "Moral Hazard & Adverse Selection" กล่าวคือ ประชาชน/อุตสาหกรรม รู้อยู่แล้วว่าเดือนๆ หนึ่งจะต้องจ่ายค่าบำบัดเสียเท่าไหร่ ซึ่งจะผลิตน้ำเสียมากขึ้นหรือน้อยลงก็ยังต้องเสียค่าบำบัดน้ำเสียเท่าเดิม ดังนั้น ต่อไปก็จะมีแต่ครอบครัวที่มีพฤติกรรมแย่มากขึ้น ดังนั้น ระบบนี้นอกจากจะไม่สร้างแรงจูงใจให้ใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพขึ้นแล้ว อาจสนับสนุนให้ประชาชนมีพฤติกรรมการใช้น้ำที่แย่ลง เพราะอย่างไรก็ต้องจ่ายค่าน้ำแพงขึ้นทุกเดือน จึงไม่จำเป็นที่จะต้องระมัดระวังหรือห่วงใยทรัพยากรใดๆ

3.                                     ระหว่างการใช้น้ำ 100 ลบ.ม. ต่อเดือน กับ 101 ลบ.ม. ต่อเดือน มีความแตกต่างกันเพียง 1 ลบ.ม. ต่อเดือน แต่ค่าธรรมเนียมค่าบำบัดน้ำเสียกลับเพิ่มขึ้นอย่างมากจาก 30 บาท เป็น 500 บาทต่อเดือน เช่นเดียวกับกรณีระหว่าง 500 ลบ.ม. กับ 501 ลบ.ม. ต่อเดือน ซึ่งค่าธรรมเนียมต่างกันถึง 2 เท่า ซึ่งไม่น่าจะสมเหตุสมผลเท่าใดนัก

4.                                     สำหรับภาคอุตสาหกรรมที่ กทม. กำหนดอัตราคงที่เป็น 4 บาทต่อ ลบ.ม. โดยกำหนดให้คิดน้ำเสียเป็นร้อยละ 80 ของน้ำที่ถูกจ่ายไปให้ อย่างไรก็ตาม การเก็บลักษณะนี้อาจไม่เป็นธรรมกับอุตสาหกรรมที่มีระบบบำบัดน้ำเสียของตัวเอง ซึ่งจำนวนน้ำเสียอาจมีจำนวนน้อยกว่า 80 % ของน้ำที่ถูกจ่ายมาจากการประปานครหลวง คำถามก็คือว่า เจ้าของบริษัทที่มีระบบการบำบัดน้ำเสีย ซึ่งช่วยกทม. ทางอ้อมนั้น ควรได้รับค่าธรรมเนียมในอัตราพิเศษหรือไม่ หรือหากจะให้เป็นธรรมที่สุด ควรลดค่าธรรมเนียมตามสัดส่วนน้ำเสียที่ปล่อยจริงโดยอาจเทียบจากเกณฑ์ 4 บาทต่อ ลบ.ม. เช่น หากบริษัท ก. มีการบำบัดน้ำเสีย โดยปล่อยน้ำเสียออกมาเพียง 50 % ของน้ำที่ใช้ ค่าบำบัดน้ำเสียในส่วนที่เหลือควรจะมีราคาเพียง 2 บาทต่อ ลบ.ม. เป็นต้น

5.                                     เนื่องจากเป็นการเก็บภาษีแบบ Lump sum หรือเก็บเป็นก้อน ในทางเศรษฐศาสตร์นั้น การเก็บภาษีประเภทนี้ทำให้คนที่ใช้น้ำน้อยกว่าเสียค่าบำบัดน้ำในอัตราที่แพงกว่า แม้ว่าจะจ่ายเท่ากัน แสดงในตารางที่ 2

ตารางที่ 2
ครอบครัว
ปริมาณการใช้น้ำ
อัตราค่าน้ำ
(บาท/ลบ.ม.)
ค่าน้ำ
ตามที่ใช้จริง
ค่าบำบัด
(เหมาจ่าย)
รวมภาระ
สัดส่วนค่าบำบัดต่อ
ค่าน้ำทั้งหมด
(%)
ครอบครัว ก
20 ลบ.ม. ต่อเดือน
8.5
170
30
200
15.00
ครอบครัว ข
90 ลบ.ม. ต่อเดือน
12.5
1125
30
1155
2.61
 หมายเหตุ: อัตราค่าน้ำยึดตามอัตราค่าน้ำประปา ประเภทที่ 1 ที่พักอาศัย โดยไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม
สืบค้นจาก
http://www.mwa.co.th

                จากตารางข้างต้น พบว่าครอบครัว ก. เป็นครอบครัวเล็ก มีการใช้น้ำน้อยกว่าครอบครัว ข. โดยค่าน้ำประปาที่ครอบครัว ก. ต้องจ่ายทุกเดือนคือ 200 บาท แบ่งเป็นค่าประปาที่ใช้จริง 170 บาทและค่าบำบัดน้ำเสียอีก 30 บาท ขณะที่ครอบครัว ข. จะเสียค่าน้ำเดือนละ 1,155 บาท แบ่งเป็นค่าใช้น้ำ 1,125 บาท และค่าบำบัดอีก 30 บาท โดยมีข้อสังเกต 2 ประการคือ 1) ครอบครัวเล็กจ่ายค่าบำบัดน้ำเสียเท่ากับครอบครัวใหญ่ทั้งๆ ที่ใช้น้ำน้อยกว่าและอนุมานได้ว่าผลิตน้ำเสียน้อยกว่า คนผลิตน้ำเสียมาก-น้อย จึงจ่ายเท่ากัน
2) ครอบครัวเล็กเสียอัตราค่าบำบัดน้ำเท่ากับ 15 % ของค่าน้ำทั้งหมด ขณะที่ครอบครัว ข. จ่ายค่าบำบัดน้ำเสียงเพียง 2.6 1% ดังนั้น ครอบครัวเล็กจึงจ่ายภาษีบำบัดน้ำเสียในอัตราที่สูงกว่าครอบครัวใหญ่ ทำให้รูปแบบภาษีเป็นแบบ Regressive ซึ่งในทางเศรษฐศาสตร์นั้น การเก็บภาษีประเภทนี้นอกจากจะไม่มีประสิทธิภาพแล้วยังไม่ช่วยส่งเสริมการลดความเหลื่อมล้ำในสังคม

6.                                     การเก็บค่าบำบัดแบบ Lump Sum ไม่ควรนำมาใช้กับฐานภาษีที่เป็นช่วง (Interval) เนื่องจากจะทำให้ผู้ใช้น้ำน้อยจะเสียค่าบำบัดน้ำเสียต่อหน่วยแพงกว่าผู้ใช้น้ำมาก จากตารางที่ 1 จะเห็นว่า บ้านเรือนทั่วไปที่ใช้น้ำเดือนละ 10 ลบ.ม. เสียค่าบำบัดน้ำเสียต่อหน่วยเท่ากับ 3 บาทต่อ ลบ.ม. ขณะที่บ้านเรือนทั่วไปที่ใช้น้ำเดือนละ 100 ลบ.ม. เสียค่าบำบัดน้ำเสียต่อหน่วยเพียง 0.30 บาทต่อลบ.ม. ซึ่งผิดกับหลักการ PPP เพราะคนที่ใช้น้ำมากกลับเสียค่าบำบัดน้ำเสียในอัตราที่ต่ำกว่า แม้จะถูกเก็บเท่ากัน

7.                                     ครัวเรือนขนาดใหญ่ (แฟลต/คอนโด) ที่ใช้น้ำระหว่าง 101 - 125 หน่วย ซึ่งเสียค่าบำบัดเท่ากับเดือนละ 500 บาท จะเสียค่าบำบัดน้ำเสียต่อหน่วยในอัตราที่สูงกว่าอุตสาหกรรม แสดงดังตารางที่ 3

ตารางที่ 3
 คอนโด
ปริมาณการใช้น้ำ
อัตราค่าน้ำ
(บาท/ลบ.ม.)
ค่าน้ำเดิม
(บาท)
ค่าบำบัด
(บาท)
ค่าน้ำใหม่
(บาท)
ค่าบำบัด
ต่อ ลบ.ม.
คอนโด ก
110 ลบ.ม. ต่อเดือน
13.15
 1,446.50
500
 1,946.50
4.55
คอนโด ข
126 ลบ.ม. ต่อเดือน
13.47
 1,697.22
500
 2,197.22
3.97
หมายเหตุ: อัตราค่าน้ำยึดตามอัตราค่าน้ำประปา ประเภทที่ 1 ที่พักอาศัย โดยไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม
สืบค้นจาก
http://www.mwa.co.th

                จากตารางจะเห็นว่า คอนโด ก. ที่มีขนาดเล็กกว่า ใช้น้ำ 110 ลบ.ม. ต่อเดือน จะมีค่าบำบัดน้ำเสียต่อ 1 ลบ.ม. เท่ากับ 4.55 บาท สูงกว่าอุตสาหกรรมที่เสียเหมาจ่ายที่ ลบ.ม. ละ 4 บาท ซึ่งในความเป็นจริงแล้วนั้น หากใช้หลักการ PPP อุตสาหกรรมน่าจะปล่อยน้ำเสียมากกว่าคอนโด อย่างไรก็ตาม หากต้องการลดค่าบำบัดน้ำเสียต่อ ลบ.ม. อาจทำการใช้น้ำมากขึ้นเป็น 126 ลบ.ม. ต่อเดือน ซึ่งจะทำให้ค่าบำบัดน้ำเสียต่อ ลบ.ม. ถูกลงกว่าภาคอุตสาหกรรม

8.                                     โครงการบำบัดน้ำเสียของกทม. จะช่วยสร้างงบประมาณมหาศาลให้กับกทม. อย่างง่ายดายเพราะเมื่อเก็บค่าบำบัดจากฝั่งขาเข้าหรือน้ำที่จำหน่ายแล้วนั้น กทม. สามารถเก็บได้ผ่านทางบิลค่าน้ำจากการประปานครหลวงได้เลย ทั้งนี้ ในปี พ.ศ. 2558 ปริมาณน้ำจำหน่ายของการประปานครหลวงมีจำนวนเท่ากับ 1,406.30 ล้าน ลบ.ม. มีจำนวนผู้ใช้น้ำ 2,226,707 ราย (ซึ่งหมายถึง 2.23 ล้านบิล) ซึ่งเราสามารถนำไปคำนวณงบประมาณหรือค่าบำบัดน้ำเสียจากโครงการนี้ ดังนี้

ตารางที่ 4
ปริมาณน้ำจำหน่ายปี 2558 เท่ากับ 1,406.30 ล้านลบ.ม.
สัดส่วนการจำหน่ายน้ำ
การจำหน่ายน้ำ
(ล้าน ลบ.ม.)
ค่าบำบัดน้ำเสียเฉลี่ย
(บาทต่อ ลบ.ม.)
รายได้
(ล้านบาท)
ครัวเรือน (45%)
                           632.84
0.78
           493.61
ครัวเรือนขนาดใหญ่ 1 (30%)
                           421.89
2.01
           848.00
ครัวเรือนขนาดใหญ่ 2 (15%)
                           210.95
1.39
           293.21
อุตสาหกรรม (10%)
                           140.63
4
           562.52
รวม
                        1,406.30
รวมรายได้
        2,197.34
หมายเหตุ: 1) เนื่องจากไม่มีข้อมูลจำแนกว่า ประเภทของครัวเรือน (ทั่วไปและใหญ่) มีสัดส่วนเท่าไหร่ใน 90% ของการจัดเก็บค่าธรรมเนียมบำบัดน้ำเสีย ผู้เขียนจึงได้สมมติให้ครัวเรือนทั่วไปมีฐานมากที่สุด รองลงมาเป็นครัวเรือนขนาดใหญ่ 1 และครัวเรือนขนาดใหญ่ 2 ซึ่งอาศัยนิยามตามตาราง 1
                2) ปริมาณการจำหน่ายน้ำคิดตามสัดส่วนการจำหน่ายน้ำ
                3) ค่าธรรมเนียมบำบัดน้ำเสียใช้อัตราเฉลี่ยต่อ ลบ.ม. ตามตารางที่ 1

                จากการคำนวณคร่าวๆ พบว่า โครงการบำบัดน้ำเสียนี้จะก่อให้เกิดรายได้กับกทม. เพื่อนำไปใช้ในการบำบัดน้ำเสียกว่า 2,197.34 ล้านบาท ซึ่งถือว่าสูงมากเมื่อเทียบค่าใช้จ่ายจริงในโครงการบำบัดน้ำเสีย ซึ่งในปัจจุบัน กทม.มีโรงงานบำบัดน้ำเสียขนาดใหญ่จำนวน 7 แห่ง ใช้วิธีการจ้างเอกชน 5 แห่ง และกทม. บริหารเอง 2 แห่ง ได้แก่ โรงควบคุมคุณภาพน้ำสี่พระยา รัตนโกสินทร์ ช่องนนทรี หนองแขม ทุ่งครุ ดินแดง และจตุจักร จากข้อมูลพบว่า กทม. มีค่าใช้จ่ายในการบำบัดน้ำเสียในอัตราเฉลี่ย 1.4 บาทต่อลบ.ม. หรือประมาณ 1 ล้านบาทต่อวัน[1] ซึ่งหมายถึงในปี 1 กทม.จะมีค่าบำบัดน้ำเสียเท่ากับ 365 ล้านบาท แต่จากโครงการดังกล่าว สามารถสร้างงบประมาณได้ถึง 2 พันกว่าล้านบาท ดังนั้น ค่าธรรมเนียมที่เก็บมาจึงมากกว่าต้นทุนที่แท้จริงถึง 6 เท่ากว่าๆ เหตุเพราะค่าใช้จ่ายจริงในการบำบัดน้ำเสียนั้นต่ำกว่าค่าบำบัดน้ำเสียที่เก็บจริง โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เก็บกับอุตสาหกรรมถึงลบ.ม. ละ 4 บาท คำถามคือ กทม. จำเป็นที่จะต้องทบทวนอัตราค่าธรรมเนียมให้สอดคล้องกับค่าใช้จ่ายจริงหรือไม่

                อย่างไรก็ตาม หากคำนวณภาระที่เกิดขึ้นกับผู้ใช้น้ำทั้งหมดในกทม. โดยคำนวณจากค่าเฉลี่ยของการใช้น้ำต่อเดือน จะมีผลตามตารางที่ 5





ตารางที่ 5
ประเภทผู้ใช้น้ำ
จำนวน (คน)
ปริมาณน้ำใช้
เฉลี่ยต่อเดือน
(ลบ.ม.)
ค่าธรรมเนียมบำบัด
(ต่อเดือน)
งบประมาณที่จะเก็บได้ (ต่อปี)
ผู้ใช้น้ำรายเล็ก
2,190,943
31
30
788,739,480
ผู้ใช้น้ำรายใหญ่
35,764
137.23
500
214,584,000




1,003,323,480
หมายเหตุ: 1) ผู้ใช้น้ำปี พ.ศ. 2558 ทั้งหมดอยู่ที่ 2,226,707 ล้านคน
                    2) ปริมาณน้ำใช้เฉลี่ยต่อเดือนของผู้ใช้น้ำทุกประเภทอยู่ที่ 52.34 ลบ.ม. ต่อเดือน
                    3) ที่มาของข้อมูลจำนวนและปริมาณน้ำใช้เฉลี่ยต่อเดือน นำมาจากรายงานประจำปีของกปน.
               
                จากตารางที่ 5 พบว่า หากใช้ค่าเฉลี่ยของปริมาณการใช้น้ำเฉลี่ยต่อเดือน จำแนกตามผู้ใช้น้ำรายเล็กและผู้ใช้น้ำรายใหญ่ ผู้ใช้น้ำรายเล็กกว่า 2.19 ล้านคน มีปริมาณการใช้น้ำเฉลี่ย 31 ลบ.ม. ต่อเดือน จะเสียค่าธรรมเนียมแบบเหมาจ่าย 30 บาทต่อเดือน หรือ 360 บาทต่อปี รวมเป็นงบประมาณให้กทม. ทั้งสิ้น 788.74 ล้านบาทต่อปี ขณะที่ผู้ใช้น้ำรายเล็กกว่า 35,764 คน มีปริมาณการใช้น้ำเฉลี่ย 137.23 ลบ.ม. ต่อเดือน ซึ่งจะเสียค่าธรรมเนียมเหมาจ่ายเท่ากับ 500 บาทต่อเดือน หรือ 6,000 บาทต่อปี ตามเกณฑ์ที่กทม. กำหนดแสดงในตารางที่ 1 ซึ่งสร้างงบประมาณให้กทม. กว่า 214.58 ล้านบาท ดังนั้น หากใช้สมมติฐานนี้ กทม.จะมีรายได้เพื่อไปบำบัดน้ำเสียเพิ่มขึ้นกว่า 1 พันล้านบาท

                ซึ่งจะเห็นว่ารายได้ที่กทม. จะได้นั้น แม้ใช้สถานการณ์ที่ประมาณแบบน้อยที่สุดแล้วก็ยังสูงกว่าค่าใช้จ่ายจริงในการบำบัดน้ำเสีย ทั้งนี้ หากปรับค่าบำบัดลงครึ่งนึ่งจากตารางที่ 3 (ผู้ใช้รายย่อยเสียค่าบำบัดเฉลี่ย 15 บาทต่อเดือน ขณะที่ผู้ใช้รายใหญ่เสียค่าบำบัดเฉลี่ย 250 บาทต่อเดือน) กทม.ก็ยังมีรายได้กว่า 500 ล้านบาทต่อปี ซึ่งก็ยังสูงกว่าต้นทุนการบำบัด ดังนั้น กทม. จึงต้องทบทวนค่าบำบัดนี้ใหม่อีกครั้งเพื่อให้มีความเป็นธรรมและสอดคล้องกับต้นทุนที่แท้จริงมากยิ่งขึ้น

9.                                     เสนอให้มีการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการบำบัดน้ำเสียจาก Lump Sum เป็นแบบ Ad Valorem หรือเก็บเป็นร้อยละของการใช้น้ำ โดยออกแบบให้ผู้ที่ใช้น้ำน้อยเสียค่าบำบัดน้ำในอัตราที่ต่ำ เพราะหมายถึงสามารถปล่อยน้ำเสียได้น้อยเพราะสามารถผลิตน้ำเสียได้มากที่สุดเท่ากับจำนวนน้ำที่ใช้ ขณะที่ผู้ใช้น้ำมากจะต้องเสียค่าบำบัดน้ำในอัตราที่สูง เพราะสามารถปล่อยน้ำเสียได้มากเท่ากับจำนวนน้ำที่ใช้ การเก็บแบบ Progressive ซึ่งเหมือนกับการเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดานี้ แม้จะไม่ช่วยสร้างแรงจูงใจให้กับประชาชนในการใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น (เพราะเก็บจากน้ำที่จ่ายมา) แต่ก็ช่วยทำให้ผู้ที่ใช้น้ำมากและมีโอกาสผลิตน้ำเสียมากได้รับภาระค่าบำบัดน้ำเสียมาก ซึ่งสอดคล้องกับหลักการ PPP มากกว่าหลักเกณฑ์ปัจจุบัน


[1] สืบค้นจาก http://www.manager.co.th/UpToDate/ViewNews.aspx?NewsID=9590000070063

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

รีวิวรถไฟความเร็วสูงปักกิ่ง-เซี้ยงไฮ้ ชั้น First Class: บทเรียนจากจีนสู่ไทย

วรรณพงษ์ ดุรงคเวโรจน์ อาจารย์ประจำภาควิชาเศรษฐศาสตร์การพัฒนา คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ผมมีโอกาสได้ไปทำวิจัยเรื่องศักยภาพสินค้าไก่ระหว่างไทย-จีน ณ ประเทศจีน ระหว่างวันที่ 9 - 14 พฤษภาคม 2560 และได้มีโอกาสนั่งรถไฟความเร็วสูง (High-speed Train/Bullet Train) เส้นทางปักกิ่ง (Beijing) ไปเซี้ยงไฮ้ (Shanghai) จึงมารีวิวและเขียนข้อเสนอแนะเพิ่มเติมครับ รถไฟความเร็วสูงของจีน (High-speed rail; HSR) บริหารโดยรัฐวิสาหกิจที่มีชื่อว่า China Railway Corporation (คงคล้ายๆ กับรฟท.ของไทย) ได้ชื่อว่ามีโครงข่ายที่ยาวที่สุดในโลก (เพราะอาณาเขตพื้นที่ของจีนนั้นยิ่งใหญ่มหาศาลเหลือเกิน) มีเส้นทางรวมกันกว่า 22,000 กิโลเมตร และมีโครงการที่ขยายเส้นทางให้ครอบคลุมถึง 38,000 กิโลเมตรในอนาคต รถไฟความเร็วสูงของจีนเริ่มต้นให้บริการในปี พ.ศ. 2550 โดยมียอดการใช้บริการมากกว่า 1 พันล้านคนต่อปี เส้นทางของรถไฟความเร็วสูงปักกิ่ง-เซี้ยงไฮ้อยู่ที่ 1,318 กิโลเมตร เทียบได้กับเชียงใหม่-สุราษฏร์ธานี โดยให้บริการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554 (เริ่มสร้างในปี พ.ศ. 2551) โดยเส้นทางดังกล่าวถือเป็นเส้นทางที่สร้างกำไรให้กั

กนง. ลดอัตราดอกเบี้ย ดีหรือไม่?

Photo Source: http://www.dailynews.co.th สรุปสั้นๆ>> "กนง.ลดดอกเบี้ยนโยบายหวังกระตุ้นเศรษฐกิจ เหลือ 2.25 ธนาคารพาณิชย์ตอบรับด้วยการลดดอกเบี้ยทั้งฝากและกู้"  วิเคราะห์ >>  1. ดอกเบี้ย สามารถพิจารณาได้เป็น 2 อย่าง คือเป็นทั้งผลตอบแทน (Rewards) ของการฝากเงิน และเป็นต้นทุน (Cost) หรื อราคาของการกู้ ดังนัน หากลดอัตราดอกเบี้ยลง ย่อมจูงใจให้ภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจเข้ามา "กู้เงิน" มากยิ่งขึ้น 2. สำหรับภาคธุรกิจ กู้เพื่อนำไปลงทุนหรือขยายกิจการ ซื้อเทคโนโลยี การตลาด ต่างๆ นานา การลงทุนของเอกชนนี้ หากเป็นการขยายร้านหรือลงทุนทางกายภาพ จะ"ส่งผลต่อเนื่อง"ไปยังตลาดสินค้าและบริการรวมถึงตลาดแรงงาน นับเป็นผลทางบวก 3. สำหรับภาคครัวเรือน การลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จะเปิดโอกาสให้กู้เพื่อซื้ออสังหาริมทรัพย์ได้มากขึ้น อย่างที่กล่าวว่าดอกเบี้ยคือราคาของการกู้ เมื่อราคาถูกลง ตามหลักอุปสงค์อุปทานพื้นฐาน ปริมาณเสนอซื้อหรือความต้องการซื้อหรือในที่นี่คือความต้องกู้ย่อมมากขึ้นเป็นธรรมดา อย่างไรก็ตามต้องมีการระวังในเรื่องของฟองสบู่ในตลาดอสังหาริมทรัพย์ เพราะวิกฤติฟองสบ

พม่า..ผืนแผ่นดินทอง

ข้อมูลพื้นฐานประเทศพม่า ประเทศพม่า (Burma  หรือ  Myanmar)  มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า "สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า" ( Republic of the Union of Myanmar ) เป็นประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และคาบสมุทรอินโดจีน มีพรมแดนทางแผ่นดินติดต่อกับ 5 ประเทศ ได้แก่ อินเดีย จีน บังคลาเทศ ลาว และไทย ทั้งนี้ พม่าเคยอยู่ภายใต้อาณานิยมของอังกฤษในช่วง พ.ศ. 2367-2485 และ 2488-2491 ด้วยพื้นที่ 261 , 789 ตารางไมล์ ( 678 , 034 ตารางกิโลเมตร ) แบ่งเป็นพื้นที่ทางบก 657,740 ตารางกิโลเมตร และพื้นที่ทางน้ำ 20,760 ตารางกิโลเมตร   อาณาเขต                  ทางฝั่งตะวันตกอยู่ติดกับบังกลาเทศ ทางเหนือติดกับอินเดียและจีน   ทางตะวันออกติดกับลาวและไทย ทางตอนใต้ของประเทศจะอยู่ติดกับอ่าวเบงกอลและทะเล  อันดามัน จังหวัดที่มีอาณาเขตติดต่อกับพม่า มี 10 จังหวัด คือ เชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ตาก กาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพรและระนอง   การปกครอง แบ่งเป็น 7 ภาคได้แก่ เขตอิระวดี เขตมาแกว เขตมัณฑะเลย์ เขตพะโค ( หงสาวดี) เขตสะกาย เขตตะนาวศรี และเขตย่างกุ้ง และ 7 รัฐ ได้แก่ รัฐยะไข่ รั