ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

รีวิวรถไฟความเร็วสูงปักกิ่ง-เซี้ยงไฮ้ ชั้น First Class: บทเรียนจากจีนสู่ไทย

วรรณพงษ์ ดุรงคเวโรจน์
อาจารย์ประจำภาควิชาเศรษฐศาสตร์การพัฒนา
คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง




ผมมีโอกาสได้ไปทำวิจัยเรื่องศักยภาพสินค้าไก่ระหว่างไทย-จีน ณ ประเทศจีน ระหว่างวันที่ 9 - 14 พฤษภาคม 2560 และได้มีโอกาสนั่งรถไฟความเร็วสูง (High-speed Train/Bullet Train) เส้นทางปักกิ่ง (Beijing) ไปเซี้ยงไฮ้ (Shanghai) จึงมารีวิวและเขียนข้อเสนอแนะเพิ่มเติมครับ

รถไฟความเร็วสูงของจีน (High-speed rail; HSR) บริหารโดยรัฐวิสาหกิจที่มีชื่อว่า China Railway Corporation (คงคล้ายๆ กับรฟท.ของไทย) ได้ชื่อว่ามีโครงข่ายที่ยาวที่สุดในโลก (เพราะอาณาเขตพื้นที่ของจีนนั้นยิ่งใหญ่มหาศาลเหลือเกิน) มีเส้นทางรวมกันกว่า 22,000 กิโลเมตร และมีโครงการที่ขยายเส้นทางให้ครอบคลุมถึง 38,000 กิโลเมตรในอนาคต รถไฟความเร็วสูงของจีนเริ่มต้นให้บริการในปี พ.ศ. 2550 โดยมียอดการใช้บริการมากกว่า 1 พันล้านคนต่อปี

เส้นทางของรถไฟความเร็วสูงปักกิ่ง-เซี้ยงไฮ้อยู่ที่ 1,318 กิโลเมตร เทียบได้กับเชียงใหม่-สุราษฏร์ธานี โดยให้บริการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554 (เริ่มสร้างในปี พ.ศ. 2551) โดยเส้นทางดังกล่าวถือเป็นเส้นทางที่สร้างกำไรให้กับจีนมากที่สุด

สำหรับประเภทของรถไฟนั้น จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ตามความเร็ว ได้แก้
1) G Train (300 กม./ชม.) ใช้เวลาเดินทาง 5 ชั่วโมง และ 
2) D Train (250 กม./ชม.) ใช้เวลาเดินทาง 8 ชั่วโมง

ทั้งนี้ ราคาของค่าโดยสารขึ้นอยู่กับคลาสที่นั่ง โดยหลักๆ แล้วจะแบ่งออกเป็น 3 คลาส คือ
1) Business Class (1,748 หยวนหรือประมาณ 8,771 บาท) แถวละ 3 ที่นั่ง
2) First Class (933 หยวน หรือประมาณ 4,681 บาท) แถวละ 4 ที่นั่ง และ
3) Second Class (533 หยวน หรือประมาณ 2,775 บาท) แถวละ 5 ที่นั่ง

สำหรับการจองตั๋วนั้น มีวิธีหลักๆ อยู่ 2 วิธี คือ 1) จองตั๋วออนไลน์แล้วไปรับที่สถานี หรือ 2) ไปซื้อที่สถานีเลย สำหรับผมนั้น ใช้การจองตั๋วผ่าน Agent แล้วให้ส่งไปที่โรงแรมที่พักในปักกิ่งครับ


สถานีที่เราจะขึ้นรถไฟกันนั้น มีชื่อว่า "Beijing South Railway Station" ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากตัวเมืองปักกิ่งมากนัก เมื่อเข้ามาในสถานีรถไฟ ความรู้สึกแรกคือ "เหมือนสนามบิน" คือ มีการตรวจสัมภาระ มีหน้าจอแสดงตารางการเดินทางไปยังสถานที่ต่างๆ มีการระบุว่าเส้นทางต่างๆ เปิดให้เช็คอินหรือยัง


สำหรับบรรยากาศรอบๆ (หลังจากเข้ามาในอาคารแล้ว - ตรวจสัมภาระแล้ว) ก็จะมีที่นั่งให้นั่งรอ โดย รถไฟแต่ละขบวนจะเข้า  Gate ที่ต่างกัน ดังนั้น คุณจะต้องสังเกตหน้าจอว่า รถไฟของเราขบวนอะไร (รหัสอะไร) และต้องไปเข้าที่ Gate ไหน (ลักษณะเหมือนสนามบิน) นอกจากที่นั่ง (ที่มักจะเต็มแล้วนั้น) จะมีร้านของฝาก และร้านขนมให้ได้ซื้อ เท่าที่ผมจำได้ก็จะมี McDonald Starbucks และร้านขายของฝากจากจีน


เมื่อถึงเวลา ก็จะมีการประกาศ (ภาษาจีนเท่านั้น) ให้ไปรอหน้าประตูทางเข้า ขบวนใคร ขบวนมัน

ต้องบอกเลยว่า เจ้าหน้าที่ที่คุมค่อนข้างดุครับ น่าจะเป็นเพราะต้องการให้เป็นระเบียบ อย่างไรก็ตาม เขาพูดแต่ภาษาจีนเท่านั้นครับ


  




พอเข้า Gate มา ก็จะเจอบันไดเลื่อนลงไปยังชานชาลาครับ


บรรยากาศโดยรอบของชานชาลาครับ






เมื่อเข้ามาในขบวนรถไฟของชั้น First Class ซึ่ง 1 แถวจะมี 4 ที่นั่ง ซ้าย-ขวา และตรงกลางเป็นทางเดินครับ


 โดยรวมแล้ว ถือว่าที่นั่ง และทางเดินกว้าง สะดวกสบายครับ


ที่สำคัญคือ เราสามารถเอาที่ชาร์จแบตโทรศัพท์มาชาร์จได้กับเบาะของคนข้างหน้าครับ

เมื่อรถไฟออก...

ผู้โดยสารชั้น First Class จะได้รับถุงขนมและน้ำดื่ม โดยเลือกได้ระหว่างน้ำเปล่าและน้ำมะพร้าวครับ


หรือหากไม่อิ่ม สามารถซื้อขนมเพิ่มเติมได้ครับ รวมถึงสิ่งนี้..


เบียร์ชิงเต่า เบียร์สัญชาติจีนที่รสชาติดีไม่แพ้เบียร์อื่นๆเลยครับ จิบเบียร์ไป ชมวิวข้างทางไป บรรยากาศดีครับ

สำหรับเส้นทางปักกิ่ง-เซี้ยงไฮ้ สาย G นั้น จะจอดด้วยกัน 4 จุดครับ ประกอบด้วย Jinan West, Xuzhou East, Nanjing South และจุดหมายปลายทางของเราครับ Shanghai Hongqiao

หลับๆ ตื่นๆ ก็ถึงแล้วครับ...เมืองเศรษฐกิจอันดับ 1 ของจีน...ชางไฮ่ หรือ เซี้ยงไฮ้ ครับ

เมื่อลงมาข้างล่าง คนเยอะเลยครับ

นอกจากนั้นเราก็จะเจอป้ายบอกทางครับ ทั้งรถ Taxi ที่จอดรถ รวมถึงรถไฟฟ้าใต้ดินเข้าเมืองครับ




อย่างไรก็ตาม ผมค่อนข้างเซอร์ไพรส์กับสิ่งนี้ครับ


ผมค่อนข้างแปลกใจเหมือนกัน ว่าสถานีรถไฟความเร็วสูง ในเมืองเศรษฐกิจอย่างเซี้ยงไฮ้ ยังมีการอนุญาตให้คนจรนอนอยู่ที่อย่างนี้ครับ

จบแล้วครับ สำหรับการรีวิวรถไฟความเร็วสูงเส้นทางปักกิ่ง-เซี้ยงไฮ้ ทั้งนี้ ผมมีข้อสังเกตบางอย่างที่อาจนำมาปรับใช้กับไทยได้ครับ

1. เมื่อเปรียบเทียบค่าตั๋วรถไฟความเร็วสูง กับ เครื่องบิน พบว่า (อ้างอิงจากเว็บไซต์ CTrip) ราคาเริ่มต้นของตั๋วเครื่องบินปักกิ่ง - เซี้ยงไฮ้ คือประมาณ 590 หยวน (ประมาณ 2,960 บาท) ซึ่งแปลว่า แพงกว่าราคารถไฟความเร็วสูงชั้น 2 อยู่ประมาณ 60 หยวน (ประมาณ 300 บาท)

อย่างไรก็ตาม การเดินทางโดยเครื่องบิน ใช้ระยะเวลาเพียง 2 ชั่วโมงเท่านั้น ซึ่งผู้โดยสารต้อง Trade off ระหว่างระยะเวลาที่เร็วขึ้นกับค่าตั๋วโดยสารที่แพงกว่า

ทั้งนี้ ประเด็นน่าจะอยู่ที่ ราคาของตั๋วรถไฟชั้น First Class ที่แพงกว่าตั๋วเครื่องบินราคาประหยัดเกือบ 2 เท่า ดังนั้น ตั๋วรถไฟจึงทั้งแพงกว่าและใช้ระยะเวลามากกว่า กลุ่มผู้บริโภคชั้น First Class (รวมถึง Business Class) จึงน่าจะเป็นนักท่องเที่ยวที่อยากสัมผัสบรรยากาศรถไฟความเร็วสูง มากกว่าจะเป็นผู้เดินทางประจำ



2. ข้อเสียอย่างมากของสถานีรถไฟความเร็วสูงคือ "ไม่มีคนพูดภาษาอังกฤษเลย ยกเว้นพนักงาน Starbucks" แม้กระทั่ง Information Centre ซึ่งผมค่อนข้างตกใจเหมือนกันว่าทำไมจึงไม่จ้างพนักงานที่สามารถพูดภาษาอังกฤษได้ อย่างน้อยก็เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับนักท่องเที่ยวต่างชาติ (ทั้งนี้ ผมไม่ได้ไปที่ช่องขายตั๋วว่าสามารถพูดภาษาอังกฤษได้หรือไม่)

ดังนั้น หากไทยจะมีรถไฟความเร็วสูงในอนาคต เจ้าหน้าที่ที่ให้บริการข้อมูลต้องเก่งภาษาอังกฤษ! 

3. รถไฟความเร็วสูง น่าจะเหมาะกับการขนส่งมวลชน หรือ คน มากกว่าสินค้า ดังนั้น ผมจึงไม่ค่อนเห็นด้วยกับความเห็นที่ว่า ทำรถไฟความเร็วสูงไม่คุ้มเพราะขนส่งคนได้อย่างเดียว การขนส่งสินค้าทางรถไฟไม่ได้เป็น Mode ที่มีราคาถูกที่สุด นอกจากนั้นยังมีข้อจำกัดด้านพื้นที่และน้ำหนัก

4. ในด้านราคา รถไฟมีความได้เปรียบเรื่องความปลอดภัย (Stereotype ว่าอย่างน้อยก็ปลอดภัยกว่านั่งรถบัส รถตู้) การตั้งราคารถไฟความเร็วสูงจึงต้องละเอียด รอบคอบ โดยเส้นทางที่มี Route เครื่องบิน ต้องระวังการตั้งราคาที่แพงกว่า ขณะที่ Route อื่นต้องระวังการตั้งราคาที่แพงมากกว่าราคารถบัส บขส.

ดังนั้น การตั้งราคาจึงเป็นหัวใจของการประสบความสำเร็จของรถไฟความเร็วสูงในไทย ไทยเป็นประเทศกำลังพัฒนา สัดส่วนของคนรายได้ปานกลางมีเยอะ ทำอย่างไรถึงจะได้ลูกค้ากลุ่มนี้เป็นโจทย์ที่ต้องคิดกันต่อไป...


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

กนง. ลดอัตราดอกเบี้ย ดีหรือไม่?

Photo Source: http://www.dailynews.co.th สรุปสั้นๆ>> "กนง.ลดดอกเบี้ยนโยบายหวังกระตุ้นเศรษฐกิจ เหลือ 2.25 ธนาคารพาณิชย์ตอบรับด้วยการลดดอกเบี้ยทั้งฝากและกู้"  วิเคราะห์ >>  1. ดอกเบี้ย สามารถพิจารณาได้เป็น 2 อย่าง คือเป็นทั้งผลตอบแทน (Rewards) ของการฝากเงิน และเป็นต้นทุน (Cost) หรื อราคาของการกู้ ดังนัน หากลดอัตราดอกเบี้ยลง ย่อมจูงใจให้ภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจเข้ามา "กู้เงิน" มากยิ่งขึ้น 2. สำหรับภาคธุรกิจ กู้เพื่อนำไปลงทุนหรือขยายกิจการ ซื้อเทคโนโลยี การตลาด ต่างๆ นานา การลงทุนของเอกชนนี้ หากเป็นการขยายร้านหรือลงทุนทางกายภาพ จะ"ส่งผลต่อเนื่อง"ไปยังตลาดสินค้าและบริการรวมถึงตลาดแรงงาน นับเป็นผลทางบวก 3. สำหรับภาคครัวเรือน การลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จะเปิดโอกาสให้กู้เพื่อซื้ออสังหาริมทรัพย์ได้มากขึ้น อย่างที่กล่าวว่าดอกเบี้ยคือราคาของการกู้ เมื่อราคาถูกลง ตามหลักอุปสงค์อุปทานพื้นฐาน ปริมาณเสนอซื้อหรือความต้องการซื้อหรือในที่นี่คือความต้องกู้ย่อมมากขึ้นเป็นธรรมดา อย่างไรก็ตามต้องมีการระวังในเรื่องของฟองสบู่ในตลาดอสังหาริมทรัพย์ เพราะวิกฤติฟองสบ

พม่า..ผืนแผ่นดินทอง

ข้อมูลพื้นฐานประเทศพม่า ประเทศพม่า (Burma  หรือ  Myanmar)  มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า "สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า" ( Republic of the Union of Myanmar ) เป็นประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และคาบสมุทรอินโดจีน มีพรมแดนทางแผ่นดินติดต่อกับ 5 ประเทศ ได้แก่ อินเดีย จีน บังคลาเทศ ลาว และไทย ทั้งนี้ พม่าเคยอยู่ภายใต้อาณานิยมของอังกฤษในช่วง พ.ศ. 2367-2485 และ 2488-2491 ด้วยพื้นที่ 261 , 789 ตารางไมล์ ( 678 , 034 ตารางกิโลเมตร ) แบ่งเป็นพื้นที่ทางบก 657,740 ตารางกิโลเมตร และพื้นที่ทางน้ำ 20,760 ตารางกิโลเมตร   อาณาเขต                  ทางฝั่งตะวันตกอยู่ติดกับบังกลาเทศ ทางเหนือติดกับอินเดียและจีน   ทางตะวันออกติดกับลาวและไทย ทางตอนใต้ของประเทศจะอยู่ติดกับอ่าวเบงกอลและทะเล  อันดามัน จังหวัดที่มีอาณาเขตติดต่อกับพม่า มี 10 จังหวัด คือ เชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ตาก กาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพรและระนอง   การปกครอง แบ่งเป็น 7 ภาคได้แก่ เขตอิระวดี เขตมาแกว เขตมัณฑะเลย์ เขตพะโค ( หงสาวดี) เขตสะกาย เขตตะนาวศรี และเขตย่างกุ้ง และ 7 รัฐ ได้แก่ รัฐยะไข่ รั