ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก กรกฎาคม, 2016

ประเทศไทยเดินไปทางไหนดี? ข้อสังเกตบางประการจากแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12

ประเทศไทยเดินไปทางไหนดี? ข้อสังเกตบางประการจากแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 วรรณพงษ์ ดุรงคเวโรจน์ ภาควิชาเศรษฐศาสตร์การพัฒนา คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ที่มาของภาพ: www.th.undp.org             เมื่อวันศุกร์ที่ 22 กรกฎาคม 2559 สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้จัดประชุมประจำปี 2559 ในหัวข้อ "ร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2564) " ณ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี ผมเองก็ได้เข้าประชุมดังกล่าวและได้รับเอกสารมา 1 ชุด ประกอบด้วย เอกสารประกอบการประชุมฯ และสรุปสาระสำคัญรายงานผลการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ 4 ปี ของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11           หลักการสำคัญของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 มีด้วยกัน 5 ข้อ ดังนี้ 1.        ยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (ที่ดำเนินต่อเนื่องมาตั้งแต่แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9) 2.        ยึดคนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา (เน้นให้คนมีวินัย ใฝ่รู้ มีความรู้ มีทักษะ มีความคิดสร้างสรรค์ มีทัศนคติที่ดี รับผิดชอบต่อสังคม มีจริยธรรมและคุณธรรม) 3.        ยึดว

แนะกทม. ทบทวนค่าธรรมเนียมบำบัดน้ำเสีย: ไร้ประสิทธิภาพ ไร้ความเป็นธรรม และสร้างภาระให้คนกรุงเทพเกินความจำเป็น

แนะกทม. ทบทวนค่าธรรมเนียมบำบัดน้ำเสีย :   ไร้ประสิทธิภาพ ไร้ความเป็นธรรม และสร้างภาระให้คนกรุงเทพเกินความจำเป็น ที่มาของภาพ: FILE PHOTOS วรรณพงษ์ ดุรงคเวโรจน์                 ในวันที่ 13 กรกฎาคม 2559 ได้มีการเปิดเผยจากสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (กทม.) ว่าได้มีการสรุปผลการศึกษาการเก็บค่าธรรมเนียมบำบัดน้ำเสีย โดยใช้หลัก "ใครผลิตน้ำเสียมาก - จ่ายมาก ใครผลิตน้ำเสียน้อย - จ่ายน้อย" โดยมีรายละเอียดดังนี้ ตารางที่ 1 สัดส่วนการเก็บ ประเภท ฐาน ค่าบำบัด อัตราค่าบำบัด ต่อ 1 ลบ.ม. ( บาท) กรณีใช้น้ำต่ำสุด กรณีใช้น้ำสูงสุด เฉลี่ย ( ATR) 90% บ้านเรือนทั่วไป ผลิตน้ำเสียไม่เกิน 10 ลบ.ม. ไม่เสีย ไม่เสีย ใช้น้ำ 10 - 100 ลบ.ม. เหมาจ่ายเดือนละ 30 บาท 3 0.30 0.78 ครัวเรือนขนาดใหญ่/คอนโด ใช้น้ำ 101 - 500 ลบ.ม. เหมาจ่ายเดือนละ 500 บาท 4.95 1 2.01 ใช้น้ำ 501 - 1,000 ลบ.ม. เหมาจ่ายเดือนละ 1,000 บาท 2 1 1.39