ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก ตุลาคม, 2019

รางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ 2019 กับข้อจำกัดของ RCTs

วรรณพงษ์ ดุรงคเวโรจน์ PhD Candidate, Australian National University Photo: Ill. Niklas Elmehed. © Nobel Media. ประกาศกันไปแล้ว สำหรับรางวัลโนเบล สาขาเศรษฐศาสตร์ ประจำปี 2019 ได้แก่ Professor Abhijit Banerjee (MIT), Professor Esther Duflo (MIT), Professor Michael Kremer (Harvard University) สำหรับการวิจัยเชิงทดลอง (experimental approach) ที่ใช้เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน โดยความพิเศษของปีนี้คือ Duflo ถือเป็น (1) นักเศรษฐศาสตร์ที่อายุน้อยที่สุดที่ได้รางวัลดังกล่าว มีอายุเพียง 46 ปีเท่านั้น (เจ้าของสถิติเดิม คือ Kenneth Arrow ได้รางวัลตอนอายุ 51 ปี เมื่อปี 1972) และ (2) นักเศรษฐศาสตร์ผู้หญิงคนที่สองที่ได้รางวัลโนเบล ต่อจาก Elinor Ostrom ที่ได้รับรางวัลเมื่อปี 2009 ซึ่งศาสตราจารย์ด้านเศรษฐศาสตร์การพัฒนา ทั้ง 3 ท่าน ถือว่า เป็นผู้บุกเบิกการนำเอาเครื่องมือที่ใช้ในวงการแพทย์อย่าง Randomized Controlled Trials (RCTs) มาประยุกต์ใช้กับงานทางด้านเศรษฐศาสตร์ สำหรับ Banerjee และ Duflo นั้น หลายคนอาจจะรู้จักในฐานะผู้เขียนหนังสือชื่อดังอย่าง "Poor Economics" ซึ่ง