ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก 2012

หลักเศรษฐศาสตร์กับโครงการรับจำนำข้าว : อีกหนึ่งเสียงที่รัฐควรฟัง

 ภาพ : www.bansuanporpeang.com                                                                                                      บทความโดย วรรณพงษ์ ดุรงคเวโรจน์ เชื่ อแน่ว่าหนึ่งในหัวข้อร้อนในช่วงนี้คงหนีไม่พ้นโครงการรับจำนำข้าวที่มีทั้งผู้เห็นด้วยและผู้ไม่เห็นด้วย ในฝั่งของผู้ไม่เห็นด้วยก็มีนักวิชาทางนิด้าและทีดีอาร์ไอเข้ามาเป็นแกนหลัก และในส่วนของผู้เห็นด้วย แน่นอนว่าย่อมเป็นรัฐบาลผู้ออกนโยบายเองอีกทั้งเกษตรกรที่ได้รับผลประโยชน์ (beneficiary) จากการอุดหนุนตลาดนี้                 โครงการรับจำนำข้าวในทัศคติของตัวกระผมนั้น มีอยู่ 2 ด้านคือ ทั้งเห็นด้วย และ ไม่เห็นด้วย แต่จะเอนไปฝั่งไม่เห็นด้วยเสียไปเป็นส่วนใหญ่ ทั้งนี้เพราะการรับจำนำข้าวถือเป็นการแทรกแซงตลาดที่ทำโดยรัฐ โดยมีวัตถุประสงค์มุ่งหวังเพื่อให้ผู้รับมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น จากราคาพืชผลทางการเกษตรที่สูงขึ้นอันนำมาซึ่งรายได้ที่สามารถนำมาจุนเจือ ครอบครัวได้มากขึ้นนั่นเอง แต่ก็มีข้อเสียบางอย่างที่น่าสนใจ โดยกระผมขอแยกเป็นประเด็นต่างๆ ดังนี้ 1. ในทางทฤษฏีเศรษฐศาสตร์ โครงการรับจำนำข้าวเป็นการแทรกแซงตลาด

วิเคราะห์ทัศนคติของปลัดพาณิชย์คนใหม่ที่มีต่อภาคเศรษฐกิจของไทย

 Elihu Vedder (1836–1923) จากข้อมูลในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ฉบับวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2555 หัวข้อคอลัมภ์ "ปลัดพาณิชย์คนใหม่เดินหน้าจำนำข้าว ไม่หวั่นนักวิชาจอมค้าน" มีข้อสังเกตหลายประการเกี่ยวกับทัศนคติ และ แนวคิดของปลัดกระทรวงพาณิชย์คนใหม่ ที่เรียกได้ว่า "ผิดแปลก" ไปจาก "หลักวิชาเศรษฐศาสตร์" ดังต่อไปนี้ (คำพูดในเครื่องหมายคำพูด คัดลอกมาจากหนังสือพิมพ์ดังกล่าว) 1. "ต้องการยกระดับราคาสินค้าเกษตรไม่ให้ตกต่ำ และทำให้เกษตรกรมีรายได้ที่ดีขึ้น มีเงินเหลือมาจับจ่ายใช้สอย ซึ่งจะส่งผลต่อเนื่องให้เศรษฐกิจในประเทศขยายตัวได้"            ปฏิเสธไม่ได้ว่าเกษตรกรมีความสำคัญต่อเศรษฐไทยมาอย่างยาวนาน อีกทั้งยังเป็นส่วนสำคัญใน GDP ของประเทศไทย อย่างไรก็ตาม การที่รัฐแทรกแซง (intervene) ราคาของสินค้า จะส่งผลให้สิ่งที่เรียกว่า Deadweight Loss เกิดขึ้น เพราะการแทรกแซงราคาเป็นการบิดเบือนราคาที่แท้จริงภายใต้มือที่มองไม่เห็นด้วยหลัก Price Mechanism (Smith,1776) ส่งผลให้มีการผลิตสินค้าและบริการที่เลยจุดที่มีประสิทธิภาพ (Inefficient Production) ก่อให้เกิด "ของเ

Myanmar, reconsidered

              Myanmar, as you know, is military-based country. In recent years, there is some good news from Myanmar – one of the poorest countries in Southeast Asia. The situation of politics is better than ten years ago because of the internal and external pressure. Releasing of political prisoners and also Aung San Suu Kyi in 2010 until the election in April 2012 guarantees the improved political scenario. Parliament also passed the law to help encourage investment from foreign investor. The United State, E.U., and Australia started easing sanction. World Bank and E.U. have already opened their office while Dawei port is constructing assiduously. China – one of the greatest border trading partner – does not stop constructing the infrastructure in connecting Yunnan to other countries in Indochina region. Consequently, the world is now glaring at Myanmar. It is the fact that Myanmar has potential to become leader of Southeast Asia, economically, socially, and politically. This p

การปรับใช้แนวความคิด Offshore Assembly Provisions (OAPs) หรือ ภาษีการประกอบผลิตภัณฑ์นอกราชอาณาจักร สำหรับภาคการค้าระหว่างประเทศในประเทศไทย ในบริบทของความพึงพอใจของผู้บริโภคภายในประเทศและรายได้จากภาษีนำเข้าของรัฐบาลไทย

บทความโดย วรรณพงษ์   ดุรงคเวโรจน์                 การเก็บภาษีนำเข้า (Tariff) โดยส่วนมากแล้วนั้นเป็นการตอกย้ำนโยบายการปกป้องประเทศ (Protectionist Policy) แต่หากในส่วนของการปกป้องนั้นกลายเป็นผู้ผลิตภายในประเทศ ไม่ใช่ผู้บริโภคแต่อย่างใด ในแต่ละประเทศนั้นภาษีนำเข้ามีความแตกต่างหลากหลาย ทั้งนี้ในตัวอย่างของประเทศสหรัฐอเมริกาที่กำหนดภาษีนำเข้าอย่างหลากหลาย แต่ละประเทศที่ทำการค้ากับสหรัฐอเมริกาต้องเจอกับอัตราภาษีนำเข้าที่แตกต่างกัน ทั้งนี้มีรูปแบบหนึ่งของอัตราภาษีนำเข้าของประเทศสหรัฐอเมริกาที่น่าสนใจ เรียกว่า Offshore Assembly Provisions (OAPs) โดยชื่อในภาษาไทยนั้น ยังไม่มีผู้ตั้งไว้ แต่ผู้เขียนจะขอเรียกเป็น “ ภาษีการประกอบผลิตภัณฑ์นอกราชอาณาจักร ”  โดยปกตินั้น ภาษีนำเข้ามักเป็นเปอร์เซ็นต์จากมูลค่าของสินค้า (Ad volarem Tariffs) ซึ่ง OAPs นั้นเป็นการลดอัตราภาษีจากมูลค่าที่เกิดขึ้นในประเทศให้เหลือ 0% โดยส่วนที่เหลือที่ผลิตภายนอกประเทศนั้นจะถูกเก็บภาษีแทน แต่การเก็บภาษีในกรณีนี้จะต้องเป็นสินค้าที่ถูกผลิตในประเทศที่ทำ OAP และนำไปประกอบในประเทศตน ซึ่งจะหมายถึงการผลิตสินค้าช่วงกลาง

พม่า..ผืนแผ่นดินทอง

ข้อมูลพื้นฐานประเทศพม่า ประเทศพม่า (Burma  หรือ  Myanmar)  มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า "สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า" ( Republic of the Union of Myanmar ) เป็นประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และคาบสมุทรอินโดจีน มีพรมแดนทางแผ่นดินติดต่อกับ 5 ประเทศ ได้แก่ อินเดีย จีน บังคลาเทศ ลาว และไทย ทั้งนี้ พม่าเคยอยู่ภายใต้อาณานิยมของอังกฤษในช่วง พ.ศ. 2367-2485 และ 2488-2491 ด้วยพื้นที่ 261 , 789 ตารางไมล์ ( 678 , 034 ตารางกิโลเมตร ) แบ่งเป็นพื้นที่ทางบก 657,740 ตารางกิโลเมตร และพื้นที่ทางน้ำ 20,760 ตารางกิโลเมตร   อาณาเขต                  ทางฝั่งตะวันตกอยู่ติดกับบังกลาเทศ ทางเหนือติดกับอินเดียและจีน   ทางตะวันออกติดกับลาวและไทย ทางตอนใต้ของประเทศจะอยู่ติดกับอ่าวเบงกอลและทะเล  อันดามัน จังหวัดที่มีอาณาเขตติดต่อกับพม่า มี 10 จังหวัด คือ เชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ตาก กาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพรและระนอง   การปกครอง แบ่งเป็น 7 ภาคได้แก่ เขตอิระวดี เขตมาแกว เขตมัณฑะเลย์ เขตพะโค ( หงสาวดี) เขตสะกาย เขตตะนาวศรี และเขตย่างกุ้ง และ 7 รัฐ ได้แก่ รัฐยะไข่ รั