ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

วิเคราะห์ทัศนคติของปลัดพาณิชย์คนใหม่ที่มีต่อภาคเศรษฐกิจของไทย


 Elihu Vedder (1836–1923)

จากข้อมูลในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ฉบับวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2555 หัวข้อคอลัมภ์ "ปลัดพาณิชย์คนใหม่เดินหน้าจำนำข้าว ไม่หวั่นนักวิชาจอมค้าน" มีข้อสังเกตหลายประการเกี่ยวกับทัศนคติ และ แนวคิดของปลัดกระทรวงพาณิชย์คนใหม่ ที่เรียกได้ว่า "ผิดแปลก" ไปจาก "หลักวิชาเศรษฐศาสตร์" ดังต่อไปนี้

(คำพูดในเครื่องหมายคำพูด คัดลอกมาจากหนังสือพิมพ์ดังกล่าว)

1. "ต้องการยกระดับราคาสินค้าเกษตรไม่ให้ตกต่ำ และทำให้เกษตรกรมีรายได้ที่ดีขึ้น มีเงินเหลือมาจับจ่ายใช้สอย ซึ่งจะส่งผลต่อเนื่องให้เศรษฐกิจในประเทศขยายตัวได้" 
          ปฏิเสธไม่ได้ว่าเกษตรกรมีความสำคัญต่อเศรษฐไทยมาอย่างยาวนาน อีกทั้งยังเป็นส่วนสำคัญใน GDP ของประเทศไทย อย่างไรก็ตาม การที่รัฐแทรกแซง (intervene) ราคาของสินค้า จะส่งผลให้สิ่งที่เรียกว่า Deadweight Loss เกิดขึ้น เพราะการแทรกแซงราคาเป็นการบิดเบือนราคาที่แท้จริงภายใต้มือที่มองไม่เห็นด้วยหลัก Price Mechanism (Smith,1776) ส่งผลให้มีการผลิตสินค้าและบริการที่เลยจุดที่มีประสิทธิภาพ (Inefficient Production) ก่อให้เกิด "ของเหลือ" ที่ไม่จำเป็น ผลของนโยบายที่ผิดพลาดนี้สังเกตจาก "นโยบายหอมแดง" ที่อคส รับซื้อ และท้ายที่สุดแล้ว กลายเป็นของเสียจนไม่สามารถขายได้เท่าทันความต้องการของตลาดนั่นเอง นอกจากนี้การที่ระดับราคาของสินค้าสูงขึ้น ถามว่า ใครที่จะต้องแบกรับ ? ใช่ ไม่มีใครอื่นนอกจาก ผู้บริโภค การกระทำของรัฐเป็นเสมือนแรงกระตุ้นเงินเฟ้อทางอ้อม จริงอยู่ที่ค่าจ้างขั้นต่ำถูกขึ้นมาเพื่อรองรับกับระดับการครองชีพ (Subsistence Level) ที่สูงขึ้น อันที่จริงเราควรสนใจกับ Real Income มากกว่า Real Income หมายถึง ระดับรายได้ที่แท้จริง โดยการนำเอารายได้ที่ได้มา ณ เวลาดังกล่าว หารด้วยระดับราคาสินค้า ณ เวลาเดียวกัน แล้วเปรียบเทียบกับ ระดับรายได้ที่แท้จริงก่อนหน้า ในกรณีสมมุติ หากปี 2554 นาย ก. มีระดับรายได้ 8,000 บาท ระดับราคาสินค้าโดยเฉลี่ยคือ 2 บาท ดังนั้น Real income ของนายก. คือ 4,000 หน่วย แต่หากในปี 2555 รายได้ของนาย ก. คือ 9000 บาท แต่ระดับราคาสินค้าโดยเพิ่มขึ้นไปที่ 3 บาท ดังนั้น Real income จะลดลงมาเหลือแค่ 3,000 หน่วย ซึ่งน้อยกว่าในปี 2554 ด้วยซ้ำไป แต่คำถามคือว่า อะไรก้าวกระโดดเร็วกว่ากัน ระหว่างระดับราคาสินค้าและบริการ กับ รายได้ประชาชน ? แน่นอน คำตอบย่อมเป็นระดับราคาสินค้า การที่รัฐบาลของรัฐมุ่งเน้นไปที่กลุ่มเกษตรกร แล้วรัฐไม่ใยดีกับกลุ่มคนที่อยู่เบื้องหลังนั้น ย่อมทำให้เกิดความไม่พอใจอย่างแน่นอน ด้วยหลัก Maximin (Rawls) แล้วนั้น รัฐควรให้ความสำคัญกับผู้มีรายได้ต่ำผ่านสวัสดิการที่จะหาให้ ดังนั้น คำถามที่รัฐจะต้องตอบคือ ผู้มีรายได้น้อยที่สุด 20% แรกคือใคร? และนโยบายที่มีอยู่ตอบโจทย์ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจแล้วหรือยัง? 
         จากตัวแปรพื้นฐานของระบบเศรษฐกิจ Y = C + I + G + X - M ตัว C นี้มาจาก Disposable Income หรือ Y - T ระดับรายได้หลักหักภาษี จากคำกล่าวของปลัด แสดงให้เห็นถึงตัว C ที่เป็น Ca หรือ Consumption from Agriculturist ซึ่งแน่นอนว่า หากรัฐจำนำราคาข้าวด้วยระดับราคาที่สูงกว่าตลาดเช่นนี้แล้ว เกษตรกรย่อมมีรายได้ที่เพิ่มสูงขึ้น มีความเป็นไปได้ที่จะเพิ่มการบริโภคให้มากขึ้น และ Contribute ไปให้ GDP แต่คำถามคือ แล้วหน่วยเศรษฐกิจอื่นจะเป็นเช่นไร? การเพิ่มขึ้นใน Ca จะถูกฉุดด้วย Cg หรือไม่? Co ในที่นี้หมายถึง Consumption from others ไม่ว่าจะเป็น แรงงานจากภาคอุตสาหกรรม คนงานก่อสร้าง พนักงานออฟฟิศ รวมถึงหน่วยอื่นที่ไม่ได้มีรายได้สูงขึ้นเหมือนอย่างเกษตรกรแต่ต้องเผชิญกับระดับราคาสินค้าที่จะเพิ่มสูงขึ้น หากเป็นไปเช่นนี้ Ca ที่เพิ่มขึ้น จะชดเชยได้พอดีส่วน(Completely offset)หรือไม่?

2. "ไม่รู้ว่านักวิชาการทำไปเพื่ออะไร นักวิชาการไม่มีอะไรที่เป็นประโยชน์กว่านี้ทำกันอีกแล้วหรือ โครงการรับจำนำสินค้าเกษตรก็เห็นอยู่ว่าได้ประโยชน์ หากจะคัดค้านทำไมไม่คัดค้านตั้งแต่เริ่มต้นดำเนินการ" 
       ต้องทำความเข้าใจว่ารัฐบาลยุค พ.ศ. 2555 ไม่ใช่ รัฐบาลในยุคของ John Austin ที่ว่ารัฐเป็นพระเจ้า ทุกคนสามารถโต้แย้ง และกระทำการภายใต้กฏหมายรัฐธรรมนูญว่าด้วยสิทธิของประชาชนในการแสดงความคิดเห็น นักวิชาการถือเป็นหน่วยหนึ่งของ Research and Development จากหลักวิชาเศรษฐศาสตร์การพัฒนา อ้างโดย Economic Development (Todaro) กล่าวว่าประเทศที่พัฒนาแล้วทุกประเทศนั้น มีระดับ R&D ที่เข็มแข็งมาก รวมทั้งองค์กรอิสระ (NGOs) มีความสำคัญมากต่อนโยบายที่เข้ามาขับเคลื่อนประเทศ เมื่อรัฐบาลได้รับเลือกเข้ามาเพื่อให้บริหารประเทศ สมควรอย่างยิ่งที่จะรับฟังทุกข้อคิดเห็น และการกระทำ อย่าลืมว่าเราทำไปภายใต้กรอบของกฏหมาย นักวิชาการนิด้ามีสิทธิตามกฏหมายเอกชนที่จะเข้าเล่นการเมืองโดยสมัครรับเลือกตั้ง ควบคุมตรวจสอบการบริหารโดยผ่านกระบวนการของรัฐทั้งหลาย เลือกผู้ปกครองท้องถิ่น ชุมนุมโดยสงบเพื่อแสดงความคิด-คัดค้าน หรือรวมกลุ่มเพื่อจัดตั้งองค์กรทางการเมือง นี่คือสิทธิของประชาชนที่กฏหมายรัฐธรรมนูญที่ว่าด้วยการกำหนดสถาบันแห่งอำนาจสูงสุด สถาบันทางการเมือง และหลักประกันสิทธิ-เสรีภาพของประชาชน ได้ว่าไว้ ดังนั้นนักวิชาการจึงมีสิทธิเต็มที่ 
      ในส่วนการของรับจำนำสินค้าเกษตร ตำราเศรษฐศาสตร์จุลภาคนับร้อยเล่ม งานวิจัยที่หนุนหลังหนังสือเหล่านี้อีกมากมายที่ยืนยันว่า การรับจำนำสินค้าเกษตร ให้ผลแง่ลบเสียมากกว่าดี Laissez-faire ที่เจ๊งไม่เป็นท่าในประเทศไทย กำลังเป็นปัญหาเรื้อรัง ก่อนอื่นต้องความเข้าใจว่า การรับประกันราคาข้าวนั้น เกษตรกรได้เงินกลับมาจริง แต่รัฐก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าเงินที่เสียไป คือเงินภาษีประชาชน ในกรณีที่จะให้สวัสดิการของเกษตรกรดีขึ้นในระดับเดียวกัน รัฐใช้เงินรอบละกว่าหลายหมื่นล้านในการโอบอุ้มเกษตรกรด้วยเงินของประชาชนผู้เสียภาษี รายได้ของรัฐส่วนใหญ่มาจากภาษีของประชาชน และจากข้อมูลของสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง คนไทยเสียภาษีกันแค่ 2 ล้านกว่าคน คนสองล้านกว่านี้ต้องแบกรับคนทั้งประเทศ คำถามก็คือว่า แล้วมันจะพอหรือไม่? หากไม่พอ รัฐจะทำอย่างไร? พร้อมกับคำาถามที่ว่า ความมีประสิทธิภาพของนโยบายของรัฐบาลวัดได้จากอะไร? 
       นอกจากนั้น นักวิชาการคัดค้านการประกันราคาข้าวมาตั้งนานแล้ว มาตั้งแต่สมัยที่ยังมีการเลือกตั้ง บทวิเคราะห์ของไทยรัฐเรื่องงบประมาณที่ใช้ในการประกันราคาข้าวถูกเผยแพร่แทบทุกอาทิตย์ หรือยอย่างน้อย ในบลอคแหงนี้ก็ได้มีบทวิเคราะห์นโยบายราคาไว้ตั้งแต่ก่อนรัฐบาลนี้จะเข้ามาบริหารประเทศ ดังนั้น จึงไม่เป็นความจริงที่นักวิชาการเพิ่งออกมาโต้แย้ง 

3."นักวิชาการคิดหรือเปล่าว่าถ้าราคาข้าวลดลง ใครจะช่วยเหลือเกษตรกร"
    คำถามคือ รัฐอยากจะช่วยเกษตรกรจนลืมที่จะสนใจหน่วยเศรษฐกิจอื่นหรือเปล่าครับ? แล้วผู้บริโภคที่ทำงานในภาคก่อสร้างที่หาเช้ากินค่ำที่ต้องแบกรับค่าอาหารที่สูงขึ้น รัฐได้เข้ามาดูแลหรือเปล่า? หรือคิดว่า ขึ้นราคา 300 บาท แล้วพอเพียง? อันที่จริงเราควรสนใจกับ Real Income มากกว่า Real Income หมายถึง ระดับรายได้ที่แท้จริง โดยการนำเอารายได้ที่ได้มา ณ เวลาดังกล่าว หารด้วยระดับราคาสินค้า ณ เวลาเดียวกัน แล้วเปรียบเทียบกับ ระดับรายได้ที่แท้จริงก่อนหน้า ในกรณีสมมุติ หากปี 2554 นาย ข. มีระดับรายได้ 8,000 บาท ระดับราคาสินค้าโดยเฉลี่ยคือ 2 บาท ดังนั้น Real income ของนายข. คือ 4,000 หน่วย แต่หากในปี 2555 รายได้ของนาย ข. คือ 9000 บาท แต่ระดับราคาสินค้าโดยเพิ่มขึ้นไปที่ 3 บาท ดังนั้น Real income จะลดลงมาเหลือแค่ 3,000 หน่วย ซึ่งน้อยกว่าในปี 2554 ด้วยซ้ำไป อีกหนึ่งแนวความคิดเรื่องค่าแรง 300 บาท คือแนวคิดจากหลักวิชาเศรษฐศาสตร์มหภาค ที่เมื่อไหร่ก็ตามที่ minimum wage ขึ้นสูงกว่า wage equilibrium แล้วนั้นหรือเรียกว่า Wage Rigidity จะก่อให้เกิดการว่างงานเกิดขึ้นอันเนื่องมาจากผู้ว่าจ้างจะชะลอการว่างงานจนกระทั่งราคาค่าจ้างลดต่ำลงจนกระทั่งถึงจุด Optimum แล้วอย่างนี้ นโยบายของรัฐข้อไหนที่จะเข้ามาแก้ไข? หรือว่าพออะไรเสีย ก็ออกนโยบายออกมารอบรับ แก้กันไป แก้กันมาแบบนี้เรื่อยไป นี่คือแนวทางของนโยบายที่มีประสิทธิภาพใช่หรือไม่? 
    อีกหนึ่งแนวความคิดในสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ หากระดับราคาสินค้าและบริการสูงขึ้น   ความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบจะถูกกัดกินไปเรื่อยๆอันเนื่องมาจาการไร้ความสามารถในการแข่งขัน เมื่อประเทศไทยส่งออกข้าวโดยราคาที่สูงกว่าประเทศเพื่อนบ้าน แน่นอนว่าข้าวสายพันธุ์ใกล้เคียงของอีกประเทศอย่างเวียดนามและอินเดียย่อมน่าสนใจกว่า ในความจริงที่ว่าเศรษฐกิจโลกกำลังซบเซาจากสถาการณ์ของยุโรป จีน รวมถึงภาคการผลิตของญี่ปุ่นเช่นนี้ ประชาชนย่อมลดการใช้จ่ายด้วยการหันมาบริโภคสินค้าและบริการที่ถูกกว่าอย่างแน่นอน และแชมป์การส่งออกข้าวที่ไทยเราอยากจะครอบครองก็อาจได้รับผลกระทบจนกระทั่งสูญเสียไปในที่สุด 

4. "ในเร็วๆนี้ อคส.จะนำเข้าอาหารสัตว์จากประเทศเพื่อบ้านในราคาถูก และชะลอการปรับขึ้นราคา"
     ดูเหมือนว่า ทัศนคติจะไม่ค่อยสอดคล้องกันเท่าไหร่ เพราะให้ความสำคัญแก่เกษตรกรผู้ปลูกข้าวเพียงอย่างใด ตามหลักแนวคิดวิชาเศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ ตำราจากต่างประเทศไม่ว่าจะเป็น The World Economy(Yarbrough), Global Economy(Carbaugh), International Economics (Salvatore) เขียนอย่างชัดเจนในเรื่องของผลกระทบจากการนำเข้าสินค้าราคาถูกเข้ามาในประเทศ แน่นอนว่าจะมีผลทำให้ผู้บริโภคสามารถขยายการบริโภคที่มากขึ้น อันเนื่องมาจากราคาสินค้าที่ต่ำลง ส่วนเกินผู้บริโภคขยายใหญ่ขึ้น แต่ในขณะเดียวกัน คนที่เจ็บปวดก็จะเป็นผู้ผลิตเพราะจะต้องถูกบังคับให้ลดการผลิตอันเนื่องมาจากหากผู้ผลิตขายแพงกว่าราคาที่นำเข้า ก็จะไม่สามารถขายสินค้านั้นได้ ทำให้ความต้องการเสนอขายลด ส่วนเกินผู้ผลิตลด และท้ายที่สุดเงินในกระเป๋าของผู้ผลิตย่อมลดลง จุดนี้จะก่อให้เกิด Political Pressure ของผู้ผลิต นำไปสู่ปัญหาทางการเมืองเพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลกำหนดโควต้าการนำเข้าหรือเลยไปถึงการกำหนดภาษีการนำเข้า (Tariff) ซึ่งผลกระทบของนโยบายกีดกัดทางการค้า (Trade Barrier) ดังกล่าว ย่อมมีผลต่อสวัสดิการโดยรวมของประเทศให้ลดต่ำลงอันเนื่องมาจากสิ่งที่เรียกว่า "Deadweight Loss" การกีดกัดทางการค้าดังกล่าวก็เป็นหนึ่งในภารกิจของ WTO ที่พยายามจะลด Tariff ทั่วโลก ทั้งนี้ หากนโยบายของรัฐบาลไม่สอดคล้องกับหลักแนวความคิดดังกล่าว ท้ายที่สุดแล้ว ประชาชนเองย่อมต้องแบกรับความผิดพลาดจากการเพิกเฉยต่อเสียงท้วงติงจากนักวิชาการที่มีหลักฐานจากงานวิจัยมากมายมารอบรับ 

      ส่วนที่สำคัญที่สุด คือความสอดคล้องของนโยบายแห่งรัฐ การมุ่งเอาใจหน่วยเศรษฐกิจใดหน่วยเศรษฐกิจหนึ่ง จะทำให้อีกหน่วยเศรษฐกิจได้รับความเดือดร้อน และเป็นเสมือนกองฟืนที่รอเชื้อเพลิงจากผู้เสียประโยชน์ภายใต้แรงกดดันทางสังคมในอนาคต 


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

รีวิวรถไฟความเร็วสูงปักกิ่ง-เซี้ยงไฮ้ ชั้น First Class: บทเรียนจากจีนสู่ไทย

วรรณพงษ์ ดุรงคเวโรจน์ อาจารย์ประจำภาควิชาเศรษฐศาสตร์การพัฒนา คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ผมมีโอกาสได้ไปทำวิจัยเรื่องศักยภาพสินค้าไก่ระหว่างไทย-จีน ณ ประเทศจีน ระหว่างวันที่ 9 - 14 พฤษภาคม 2560 และได้มีโอกาสนั่งรถไฟความเร็วสูง (High-speed Train/Bullet Train) เส้นทางปักกิ่ง (Beijing) ไปเซี้ยงไฮ้ (Shanghai) จึงมารีวิวและเขียนข้อเสนอแนะเพิ่มเติมครับ รถไฟความเร็วสูงของจีน (High-speed rail; HSR) บริหารโดยรัฐวิสาหกิจที่มีชื่อว่า China Railway Corporation (คงคล้ายๆ กับรฟท.ของไทย) ได้ชื่อว่ามีโครงข่ายที่ยาวที่สุดในโลก (เพราะอาณาเขตพื้นที่ของจีนนั้นยิ่งใหญ่มหาศาลเหลือเกิน) มีเส้นทางรวมกันกว่า 22,000 กิโลเมตร และมีโครงการที่ขยายเส้นทางให้ครอบคลุมถึง 38,000 กิโลเมตรในอนาคต รถไฟความเร็วสูงของจีนเริ่มต้นให้บริการในปี พ.ศ. 2550 โดยมียอดการใช้บริการมากกว่า 1 พันล้านคนต่อปี เส้นทางของรถไฟความเร็วสูงปักกิ่ง-เซี้ยงไฮ้อยู่ที่ 1,318 กิโลเมตร เทียบได้กับเชียงใหม่-สุราษฏร์ธานี โดยให้บริการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554 (เริ่มสร้างในปี พ.ศ. 2551) โดยเส้นทางดังกล่าวถือเป็นเส้นทางที่สร้างกำไรให้กั

กนง. ลดอัตราดอกเบี้ย ดีหรือไม่?

Photo Source: http://www.dailynews.co.th สรุปสั้นๆ>> "กนง.ลดดอกเบี้ยนโยบายหวังกระตุ้นเศรษฐกิจ เหลือ 2.25 ธนาคารพาณิชย์ตอบรับด้วยการลดดอกเบี้ยทั้งฝากและกู้"  วิเคราะห์ >>  1. ดอกเบี้ย สามารถพิจารณาได้เป็น 2 อย่าง คือเป็นทั้งผลตอบแทน (Rewards) ของการฝากเงิน และเป็นต้นทุน (Cost) หรื อราคาของการกู้ ดังนัน หากลดอัตราดอกเบี้ยลง ย่อมจูงใจให้ภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจเข้ามา "กู้เงิน" มากยิ่งขึ้น 2. สำหรับภาคธุรกิจ กู้เพื่อนำไปลงทุนหรือขยายกิจการ ซื้อเทคโนโลยี การตลาด ต่างๆ นานา การลงทุนของเอกชนนี้ หากเป็นการขยายร้านหรือลงทุนทางกายภาพ จะ"ส่งผลต่อเนื่อง"ไปยังตลาดสินค้าและบริการรวมถึงตลาดแรงงาน นับเป็นผลทางบวก 3. สำหรับภาคครัวเรือน การลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จะเปิดโอกาสให้กู้เพื่อซื้ออสังหาริมทรัพย์ได้มากขึ้น อย่างที่กล่าวว่าดอกเบี้ยคือราคาของการกู้ เมื่อราคาถูกลง ตามหลักอุปสงค์อุปทานพื้นฐาน ปริมาณเสนอซื้อหรือความต้องการซื้อหรือในที่นี่คือความต้องกู้ย่อมมากขึ้นเป็นธรรมดา อย่างไรก็ตามต้องมีการระวังในเรื่องของฟองสบู่ในตลาดอสังหาริมทรัพย์ เพราะวิกฤติฟองสบ

พม่า..ผืนแผ่นดินทอง

ข้อมูลพื้นฐานประเทศพม่า ประเทศพม่า (Burma  หรือ  Myanmar)  มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า "สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า" ( Republic of the Union of Myanmar ) เป็นประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และคาบสมุทรอินโดจีน มีพรมแดนทางแผ่นดินติดต่อกับ 5 ประเทศ ได้แก่ อินเดีย จีน บังคลาเทศ ลาว และไทย ทั้งนี้ พม่าเคยอยู่ภายใต้อาณานิยมของอังกฤษในช่วง พ.ศ. 2367-2485 และ 2488-2491 ด้วยพื้นที่ 261 , 789 ตารางไมล์ ( 678 , 034 ตารางกิโลเมตร ) แบ่งเป็นพื้นที่ทางบก 657,740 ตารางกิโลเมตร และพื้นที่ทางน้ำ 20,760 ตารางกิโลเมตร   อาณาเขต                  ทางฝั่งตะวันตกอยู่ติดกับบังกลาเทศ ทางเหนือติดกับอินเดียและจีน   ทางตะวันออกติดกับลาวและไทย ทางตอนใต้ของประเทศจะอยู่ติดกับอ่าวเบงกอลและทะเล  อันดามัน จังหวัดที่มีอาณาเขตติดต่อกับพม่า มี 10 จังหวัด คือ เชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ตาก กาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพรและระนอง   การปกครอง แบ่งเป็น 7 ภาคได้แก่ เขตอิระวดี เขตมาแกว เขตมัณฑะเลย์ เขตพะโค ( หงสาวดี) เขตสะกาย เขตตะนาวศรี และเขตย่างกุ้ง และ 7 รัฐ ได้แก่ รัฐยะไข่ รั