ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก พฤษภาคม, 2013

มาตรการรับมือบาทแข็ง

วรรณพงษ์    ดุรงคเวโรจน์ สิ่งแรกที่ต้องทำความเข้าใจคือเรื่อง Foreign Market Determination หรือการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ อัตราแลกเปลี่ยนนั้นอยู่ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นปัจจัยด้านเงินทุนเคลื่อนย้าย   ปัจจัยทางด้านบัญชีเดินสะพัด เป็นต้น หรือสามารถแบ่งได้เป็นอุปสงค์และอุปทานของเงินตราต่างประเทศ ในกรณีของประเทศไทย ค่าเงินที่แข็งค่าขึ้นมาจากการไหลเข้าของเงินตราต่างประเทศเนื่องมาจากนักลงทุนต่างชาติมีแรงจูงใจด้านผลตอบแทนจากความแตกต่างกันของผลตอบแทนในรูปของดอกเบี้ยที่สูงกว่าในไทยทำให้มีเงินไหลเข้าเป็นจำนวนมาก เป็นผลทางด้านอุปทานทำให้ค่าเงินบาทแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้เมื่ออัตราแลกเปลี่ยนมีความเปลี่ยนแปลงหรือผันผวนย่อมกระทบต่อการส่งออกและการนำเข้า เพราะอัตราแลกเปลี่ยนหมายถึงกฎเกณฑ์ในการซื้อ-ขายสินค้าระหว่างสองประเทศ หากเงินบาทแข็งค่า สินค้าไทยในมุมมองผู้บริโภคต่างชาติจะแพงขึ้น ยกตัวอย่างเช่น หากอัตราแลกเปลี่ยนอยุ่ที่ 30 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ สินค้า A ของไทยราคา 30 บาทส่งออกไปที่ประเทศสหรัฐ ผู้บริโภคชาวอเมริกันจะใช้เงิน 1 ดอลลาร์ในการซื้อสิน