ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

มาตรการรับมือบาทแข็ง



วรรณพงษ์   ดุรงคเวโรจน์
สิ่งแรกที่ต้องทำความเข้าใจคือเรื่อง Foreign Market Determination หรือการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ อัตราแลกเปลี่ยนนั้นอยู่ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นปัจจัยด้านเงินทุนเคลื่อนย้าย  ปัจจัยทางด้านบัญชีเดินสะพัด เป็นต้น หรือสามารถแบ่งได้เป็นอุปสงค์และอุปทานของเงินตราต่างประเทศ ในกรณีของประเทศไทย ค่าเงินที่แข็งค่าขึ้นมาจากการไหลเข้าของเงินตราต่างประเทศเนื่องมาจากนักลงทุนต่างชาติมีแรงจูงใจด้านผลตอบแทนจากความแตกต่างกันของผลตอบแทนในรูปของดอกเบี้ยที่สูงกว่าในไทยทำให้มีเงินไหลเข้าเป็นจำนวนมาก เป็นผลทางด้านอุปทานทำให้ค่าเงินบาทแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้เมื่ออัตราแลกเปลี่ยนมีความเปลี่ยนแปลงหรือผันผวนย่อมกระทบต่อการส่งออกและการนำเข้า เพราะอัตราแลกเปลี่ยนหมายถึงกฎเกณฑ์ในการซื้อ-ขายสินค้าระหว่างสองประเทศ หากเงินบาทแข็งค่า สินค้าไทยในมุมมองผู้บริโภคต่างชาติจะแพงขึ้น ยกตัวอย่างเช่น หากอัตราแลกเปลี่ยนอยุ่ที่ 30 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ สินค้า A ของไทยราคา 30 บาทส่งออกไปที่ประเทศสหรัฐ ผู้บริโภคชาวอเมริกันจะใช้เงิน 1 ดอลลาร์ในการซื้อสินค้าดังกล่าว หากอัตราแลกเปลี่ยนแปลงไปโดยที่ค่าเงินบาทของไทยแข็งค่าขึ้น เช่น 29 บาทต่อ 1 ดอลลาร์ และกำหนดให้สินค้าไทยที่ส่งออกมีราคา 30 บาทเท่าเดิม ผู้บริโภคชาวอเมริกันจะต้องใช้เงินมากกว่า 1 ดอลลาร์ในการซื้อสินค้าดังกล่าว การที่ค่าเงินของเราแข็งค่า จึงเปรียบเสมือนว่าสินค้าของเรานั้นแพงขึ้นทั้งที่ขายในราคาเท่าเดิม ในทางกลับกัน สินค้าจากประเทศสหรัฐอเมริกาจะถูกลงในสายตาของคนไทย ยกตัวอย่าง สินค้า B ขายในราคา $5 ในกรณีอัตราแลกเปลี่ยน 30 บาทต่อ 1 ดอลลาร์ เราใช้เงิน 30 x 5 = 150 บาทในการซื้อ หากอัตราแลกเปลี่ยนเป็น 29 บาทต่อดอลลาร์ เราใช้เงินเพียง 29 x 5 = 145 บาท ดังนั้นสินค้า B จึงมีราคาถูกลงในสายตาของคนไทย แม้ price tag จะยังคงเท่าเดิมก็ตาม โดยสรุป หากค่าเงินประเทศใดแข็งค่าขึ้น Export จะได้ความเสียหาย และ Import จะมีสถานการณ์ที่ดีขึ้น ในทางกลับกัน หากค่าเงินประเทศใดอ่อนค่าขึ้น Export จะดีขึ้นและ Import จะแย่ลง เราจึงสามารถสังเกตข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์อยู่บ่อยๆ ว่าหากเมื่อไหร่ก็ตามที่ค่าเงินมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้น ผู้ส่งออกมักออกมาเรียกร้องให้แบงค์ชาติดำเนินการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ทั้งนี้ ผู้ส่งออกมักทำประกันค่าเงินไว้แล้ว ผู้เขียนจึงมองว่าการออกมาเรียกร้องเป็นแค่การป้องกันความเสี่ยงที่ค่าเงินจะแข็งค่าระยะยาวเท่านั้นเอง
ทั้งนี้การที่ค่าเงินอ่อนค่าลงนับเป็นผลดีต่อการส่งออก การพยายามทำให้ค่าเงินของชาติตนเองอ่อนค่าไว้นั้นเป็นการทำลายตลาดส่งออกของ trading partner เช่นกัน (กรณี Currency War) เมื่อค่าเงินอ่อนลง ส่งออกได้มากขึ้น contribute ไปให้ GDP ผลงานก็ตกเป็นของรมว.คลัง ดังนั้นเราจึงไม่แปลกใจ หากเห็นนักการเมืองพยายามแทรกแซงแบงค์ชาติให้ทำให้ค่าเงินอ่อนค่าลง นอกจากนี้ในกรณีค่าเงินบาทแข็งค่าจะทำให้ตัวเลขมูลค่าของ GDP ต่ำกว่าที่คาดหมาย (expected value) เนื่องมาจากหน่วยคูณในการคำนวณปริมาณสินค้าและบริการมีมูลค่าหน่วยลดน้อยลงนั่นเอง (เป็นที่มาของการจัดทำ exchange rate at PPP)
สำหรับประเทศไทย ระบบอัตราแลกเปลี่ยนนั้นเป็นระบบ Managed Floating Exchange Rate System หรือลอยตัวอย่างมีการจัดการ สามารถควบคุมค่าเงินไม่ให้ผันผวนได้จากการเข้าแทรกแซงทางด้านอุปสงค์จากแบงค์ชาติ แต่ไม่บ่อยนักที่จะเห็นการแทรกแซงลักษณะนี้เพราะต้องอาศัยความมั่นคงของตลาดพอสมควร จากที่กล่าวข้างต้น สำหรับการที่ค่าเงินบาทในช่วงนี้มีการแข็งค่าขึ้นเป็นผลมาจากการเข้ามาลงทุนของนักลงทุนต่างชาติที่แสวงหากำไรจากอัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่าในประเทศไทย สูตรที่ง่ายและนิยมใช้กันมากคือการลดอัตราดอกเบี้ย การลดอัตราดอกเบี้ยคือการลดผลตอบแทนของการเข้ามาลงทุน ลดแรงจูงใจของนักลงทุนต่างชาติ สามารถเห็นผลได้โดยตรง และดูเหมือนว่าวิธีการนี้จะเป็นวิธีการที่ดี อย่างไรก็ตาม ดอกเบี้ยดังกล่าวที่จะลดคือดอกเบี้ยนโยบาย ดังนั้นเมื่อลดอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อดอกเบี้ยอื่นๆภายในประเทศ มีผลทำให้กระทบต่อประชาชนในประเทศไทย ยกตัวอย่างเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงในอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก ดอกเบี้ยเงินกู้ เป็นต้น คำถามคือมีวิธีการอื่นอีกไหมในการจัดการอัตราดอกเบี้ย สำหรับประสบการณ์เรื่องการจัดการอัตราแลกเปลี่ยนกับประเทศอื่น มีดังนั้น ประเทศสิงคโปร์ใช้วิธีที่เรียกว่า Capital Control ผ่านการเก็บภาษีจำนวน 10% ต่อการซื้อ Property Paper โดยนักลงทุนต่างชาติ ประเทศบราซิลเก็บภาษีในการซื้อขายในตราสารของนักลงทุนต่างชาติ ซาอุดิ อาระเบีย ใช้วิธีเก็บภาษีใน Remittance สวิซเซอร์แลนด์ใช้วิธีแทรกแซงค่าเงินโดยตรง คำถามคือว่าแล้ว Capital Controls นั้นมีประสิทธิภาพจึงหรือไม่ จากงานวิจัยของ IMF และ World Bank พบว่า Capital Controls เป็นการแก้ไขเพียงระยะสั้นเท่านั้น ดังนั้นจึงไม่ใช่วิธีแก้ไขปัญหาที่แท้จริงของค่าเงินที่แข็งค่าขึ้น ทั้งนี้นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบล ศาสตราจารย์ Gary Becker และศาสตราจารย์ John Huizinga กล่าวว่า นโยบายทางการเงินและนโยบายทางการคลังคือการแก้ไขปัญหาที่แท้จริง นโยบายทางการเงิน เช่น การพิมพ์พันธบัตรรัฐบาลหรือ QE ในการทำให้ค่าเงินอ่อนลง เงินเฟ้อจะสูงขึ้นจากปริมาณเงินในระบบและทำให้ผลกระทบจากค่าเงินแข็งค่าลดลง นโยบายทางการคลังผ่านการลงทุนระยะยาวของรัฐบาล เช่น ระบบโครงสร้างพื้นฐาน เป็นต้น ซึ่งตัวอย่างสำหรับสองวิธีการนี้คือการแก้ไขปัญหาในประเทศชิลี ในปี 2543 นอกจากนั้นจากการแนะนำของคุณธีระชัย ภูวนาทนรานุบาล อดีตรมว.คลัง กล่าวว่าการกำหนดปริมาณเงินทุนไหลเข้าสามารถแก้ไขปัญหาค่าเงินบาทได้เช่นกัน ทั้งนี้ ผู้เขียนมองว่า ถึงแม้ว่า Capital Controls จะเป็นมาตรการระยะสั้นสำหรับการแก้ไขค่าเงินแข็งค่า แต่มีประสิทธิภาพมากกว่าและผลกระทบใน-ภาพกว้างน้อยกว่าวิธีการลดอัตราดอกเบี้ย อย่างไรก็ตาม วิธีการแก้ไขระยะสั้นควรทำพร้อมกับการแก้ไขระยะยาว โดยส่วนตัวเชื่อว่าธนาคารแห่งประเทศไทยมีการเฝ้าระวังและมีเครื่องมือทางการเงินที่เหมาะสมในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวมากเพียงพอที่จะจัดการปัญหา และสาเหตที่ยังไม่มีการจัดการใดๆ ก็น่าจะเนื่องมาจากการการพยายามหลีกเลี่ยงการแทรกแซงตลาดเงินตราต่างประเทศซึ่งนำไปสู่ปัญหา Market Failure ได้ เมื่อ Laissez – Faire หรือ Free Market Mechanism ของอดัม สมิทธิ์ ยังคงถูกเชื่อถือทั้งในตลาดสินค้าและบริการ ตลาดทุน ตลาดเงิน  การไม่ตื่นตระหนกมากจนเกินไปและการเฝ้าระวังนับเป็นทางออกที่ดีที่สุดสำหรับปัญหาค่าเงินแข็งค่าในปัจจุบัน















Reference:Yarbrough, Global Economy and Shann Saeed, Capital Controls

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

รีวิวรถไฟความเร็วสูงปักกิ่ง-เซี้ยงไฮ้ ชั้น First Class: บทเรียนจากจีนสู่ไทย

วรรณพงษ์ ดุรงคเวโรจน์ อาจารย์ประจำภาควิชาเศรษฐศาสตร์การพัฒนา คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ผมมีโอกาสได้ไปทำวิจัยเรื่องศักยภาพสินค้าไก่ระหว่างไทย-จีน ณ ประเทศจีน ระหว่างวันที่ 9 - 14 พฤษภาคม 2560 และได้มีโอกาสนั่งรถไฟความเร็วสูง (High-speed Train/Bullet Train) เส้นทางปักกิ่ง (Beijing) ไปเซี้ยงไฮ้ (Shanghai) จึงมารีวิวและเขียนข้อเสนอแนะเพิ่มเติมครับ รถไฟความเร็วสูงของจีน (High-speed rail; HSR) บริหารโดยรัฐวิสาหกิจที่มีชื่อว่า China Railway Corporation (คงคล้ายๆ กับรฟท.ของไทย) ได้ชื่อว่ามีโครงข่ายที่ยาวที่สุดในโลก (เพราะอาณาเขตพื้นที่ของจีนนั้นยิ่งใหญ่มหาศาลเหลือเกิน) มีเส้นทางรวมกันกว่า 22,000 กิโลเมตร และมีโครงการที่ขยายเส้นทางให้ครอบคลุมถึง 38,000 กิโลเมตรในอนาคต รถไฟความเร็วสูงของจีนเริ่มต้นให้บริการในปี พ.ศ. 2550 โดยมียอดการใช้บริการมากกว่า 1 พันล้านคนต่อปี เส้นทางของรถไฟความเร็วสูงปักกิ่ง-เซี้ยงไฮ้อยู่ที่ 1,318 กิโลเมตร เทียบได้กับเชียงใหม่-สุราษฏร์ธานี โดยให้บริการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554 (เริ่มสร้างในปี พ.ศ. 2551) โดยเส้นทางดังกล่าวถือเป็นเส้นทางที่สร้างกำไรให้กั

กนง. ลดอัตราดอกเบี้ย ดีหรือไม่?

Photo Source: http://www.dailynews.co.th สรุปสั้นๆ>> "กนง.ลดดอกเบี้ยนโยบายหวังกระตุ้นเศรษฐกิจ เหลือ 2.25 ธนาคารพาณิชย์ตอบรับด้วยการลดดอกเบี้ยทั้งฝากและกู้"  วิเคราะห์ >>  1. ดอกเบี้ย สามารถพิจารณาได้เป็น 2 อย่าง คือเป็นทั้งผลตอบแทน (Rewards) ของการฝากเงิน และเป็นต้นทุน (Cost) หรื อราคาของการกู้ ดังนัน หากลดอัตราดอกเบี้ยลง ย่อมจูงใจให้ภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจเข้ามา "กู้เงิน" มากยิ่งขึ้น 2. สำหรับภาคธุรกิจ กู้เพื่อนำไปลงทุนหรือขยายกิจการ ซื้อเทคโนโลยี การตลาด ต่างๆ นานา การลงทุนของเอกชนนี้ หากเป็นการขยายร้านหรือลงทุนทางกายภาพ จะ"ส่งผลต่อเนื่อง"ไปยังตลาดสินค้าและบริการรวมถึงตลาดแรงงาน นับเป็นผลทางบวก 3. สำหรับภาคครัวเรือน การลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จะเปิดโอกาสให้กู้เพื่อซื้ออสังหาริมทรัพย์ได้มากขึ้น อย่างที่กล่าวว่าดอกเบี้ยคือราคาของการกู้ เมื่อราคาถูกลง ตามหลักอุปสงค์อุปทานพื้นฐาน ปริมาณเสนอซื้อหรือความต้องการซื้อหรือในที่นี่คือความต้องกู้ย่อมมากขึ้นเป็นธรรมดา อย่างไรก็ตามต้องมีการระวังในเรื่องของฟองสบู่ในตลาดอสังหาริมทรัพย์ เพราะวิกฤติฟองสบ

พม่า..ผืนแผ่นดินทอง

ข้อมูลพื้นฐานประเทศพม่า ประเทศพม่า (Burma  หรือ  Myanmar)  มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า "สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า" ( Republic of the Union of Myanmar ) เป็นประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และคาบสมุทรอินโดจีน มีพรมแดนทางแผ่นดินติดต่อกับ 5 ประเทศ ได้แก่ อินเดีย จีน บังคลาเทศ ลาว และไทย ทั้งนี้ พม่าเคยอยู่ภายใต้อาณานิยมของอังกฤษในช่วง พ.ศ. 2367-2485 และ 2488-2491 ด้วยพื้นที่ 261 , 789 ตารางไมล์ ( 678 , 034 ตารางกิโลเมตร ) แบ่งเป็นพื้นที่ทางบก 657,740 ตารางกิโลเมตร และพื้นที่ทางน้ำ 20,760 ตารางกิโลเมตร   อาณาเขต                  ทางฝั่งตะวันตกอยู่ติดกับบังกลาเทศ ทางเหนือติดกับอินเดียและจีน   ทางตะวันออกติดกับลาวและไทย ทางตอนใต้ของประเทศจะอยู่ติดกับอ่าวเบงกอลและทะเล  อันดามัน จังหวัดที่มีอาณาเขตติดต่อกับพม่า มี 10 จังหวัด คือ เชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ตาก กาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพรและระนอง   การปกครอง แบ่งเป็น 7 ภาคได้แก่ เขตอิระวดี เขตมาแกว เขตมัณฑะเลย์ เขตพะโค ( หงสาวดี) เขตสะกาย เขตตะนาวศรี และเขตย่างกุ้ง และ 7 รัฐ ได้แก่ รัฐยะไข่ รั