ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก ตุลาคม, 2012

หลักเศรษฐศาสตร์กับโครงการรับจำนำข้าว : อีกหนึ่งเสียงที่รัฐควรฟัง

 ภาพ : www.bansuanporpeang.com                                                                                                      บทความโดย วรรณพงษ์ ดุรงคเวโรจน์ เชื่ อแน่ว่าหนึ่งในหัวข้อร้อนในช่วงนี้คงหนีไม่พ้นโครงการรับจำนำข้าวที่มีทั้งผู้เห็นด้วยและผู้ไม่เห็นด้วย ในฝั่งของผู้ไม่เห็นด้วยก็มีนักวิชาทางนิด้าและทีดีอาร์ไอเข้ามาเป็นแกนหลัก และในส่วนของผู้เห็นด้วย แน่นอนว่าย่อมเป็นรัฐบาลผู้ออกนโยบายเองอีกทั้งเกษตรกรที่ได้รับผลประโยชน์ (beneficiary) จากการอุดหนุนตลาดนี้                 โครงการรับจำนำข้าวในทัศคติของตัวกระผมนั้น มีอยู่ 2 ด้านคือ ทั้งเห็นด้วย และ ไม่เห็นด้วย แต่จะเอนไปฝั่งไม่เห็นด้วยเสียไปเป็นส่วนใหญ่ ทั้งนี้เพราะการรับจำนำข้าวถือเป็นการแทรกแซงตลาดที่ทำโดยรัฐ โดยมีวัตถุประสงค์มุ่งหวังเพื่อให้ผู้รับมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น จากราคาพืชผลทางการเกษตรที่สูงขึ้นอันนำมาซึ่งรายได้ที่สามารถนำมาจุนเจือ ครอบครัวได้มากขึ้นนั่นเอง แต่ก็มีข้อเสียบางอย่างที่น่าสนใจ โดยกระผมขอแยกเป็นประเด็นต่างๆ ดังนี้ 1. ในทางทฤษฏีเศรษฐศาสตร์ โครงการรับจำนำข้าวเป็นการแทรกแซงตลาด

วิเคราะห์ทัศนคติของปลัดพาณิชย์คนใหม่ที่มีต่อภาคเศรษฐกิจของไทย

 Elihu Vedder (1836–1923) จากข้อมูลในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ฉบับวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2555 หัวข้อคอลัมภ์ "ปลัดพาณิชย์คนใหม่เดินหน้าจำนำข้าว ไม่หวั่นนักวิชาจอมค้าน" มีข้อสังเกตหลายประการเกี่ยวกับทัศนคติ และ แนวคิดของปลัดกระทรวงพาณิชย์คนใหม่ ที่เรียกได้ว่า "ผิดแปลก" ไปจาก "หลักวิชาเศรษฐศาสตร์" ดังต่อไปนี้ (คำพูดในเครื่องหมายคำพูด คัดลอกมาจากหนังสือพิมพ์ดังกล่าว) 1. "ต้องการยกระดับราคาสินค้าเกษตรไม่ให้ตกต่ำ และทำให้เกษตรกรมีรายได้ที่ดีขึ้น มีเงินเหลือมาจับจ่ายใช้สอย ซึ่งจะส่งผลต่อเนื่องให้เศรษฐกิจในประเทศขยายตัวได้"            ปฏิเสธไม่ได้ว่าเกษตรกรมีความสำคัญต่อเศรษฐไทยมาอย่างยาวนาน อีกทั้งยังเป็นส่วนสำคัญใน GDP ของประเทศไทย อย่างไรก็ตาม การที่รัฐแทรกแซง (intervene) ราคาของสินค้า จะส่งผลให้สิ่งที่เรียกว่า Deadweight Loss เกิดขึ้น เพราะการแทรกแซงราคาเป็นการบิดเบือนราคาที่แท้จริงภายใต้มือที่มองไม่เห็นด้วยหลัก Price Mechanism (Smith,1776) ส่งผลให้มีการผลิตสินค้าและบริการที่เลยจุดที่มีประสิทธิภาพ (Inefficient Production) ก่อให้เกิด "ของเ