ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

Commodity Transformation การเปลี่ยนแปลงชนิดของสินค้า



Commodity Transformation
photo source:www.abc.net.au

                Commodity Transformation อธิบายการเปลี่ยนแปลงชนิดสินค้าในระยะเวลาชั่วคราวจากสินค้าทั่วไป (Normal Goods) ไปยังสินค้าเสมือนจำเป็น (Necessary - liked Goods) ซึ่งโดยปกติแล้วสินค้าดังกล่าวจะเป็นสินค้าทั่วไป กล่าวคือปริมาณความต้องการซื้อและขายเคลื่อนไหวตามปัจจัยด้านราคาและอื่นๆตามกฎอุปสงค์และกฎอุปทาน (Law of demand and supply) รายได้มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับปริมาณความต้องการ ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคาอยู่ระดับปานกลางถึงสูงอันเนื่องมาจากสภาวะการแข่งขันที่สมบูรณ์ ( Perfect Competition) หากผู้ขายขึ้นราคา ผู้บริโภคสามารถเปลี่ยนชนิดของสินค้าหรือหันไปซื้อจากผู้ขายรายได้ ผู้ซื้อเองสามารถเลือกซื้อจากผู้ขายรายอื่นได้ ดังนั้นผู้ขายจึงไม่กล้าขึ้นราคาและยอมให้ลดได้(การต่อรองราคา)เพื่อดึงดูดลูกค้า แต่เมื่อเกิดสภาวะบางอย่างขึ้น จะทำให้สินค้าชนิดดังกล่าวกลายเป็นสินค้าเสมือนจำเป็น กล่าวคือ ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ที่มีต่อราคามีต่ำลง การขึ้นราคาไม่อาจทำให้ผู้บริโภคหันเหไปซื้อจากผู้ค้ารายอื่นได้มากนักเนื่องจากราคาที่ใกล้เคียงกันถึงแม้จะมีผู้ขายหลายรายก็ตาม ผู้ขายรู้ถึงสภาวการณ์ดังกล่าวจึงสามารถขึ้นราคาได้เต็มที่เพราะรู้ดีว่าผู้ซื้อจำเป็นที่จะต้องซื้อสินค้าดังกล่าวแม้ว่าจะมีราคาแพงกว่าในช่วงสถานการณ์ปกติก็ตาม นอกจากนั้นการต่อรองราคาจะทำได้ยากหรือเป็นไปไม่ได้ และเมื่อพ้นจากสภาวการณ์ดังกล่าว สินค้าจะกลับไปเป็นสินค้าทั่วไปดังเดิม ตัวอย่างของสภาวการณ์ กรณี ราคาของลูกโป่งอัดแก๊สและตุ๊กตาในช่วงรับปริญญา ในช่วงเวลาปกติ ราคาของลูกโป่งจะอยู่ประมาณลูกละ 13 บาท ผู้ขายรับมาขายในช่วงวันก่อนรับปริญญา ขายอยู่ที่ 20 บาท เมื่อถึงวันซ้อมใหญ่และวันรับจริง ราคาลูกโป่งพุ่งขึ้นไปลูกละ 25 บาท การต่อรองทำไม่ได้เนื่องจากผู้ขายรายอื่นขึ้นราคาเช่นกัน การขึ้นราคาเสมือนว่ามีเหตุมีผลเนื่องจากเกิดขึ้นพร้อมกัน และเมื่อหมดเทศกาลรับปริญญา สินค้าดังกล่าวจะกลับไปเป็นสินค้าทั่วไปดังเดิม การขึ้นราคาของลูกโป่งไม่ได้เป็นเพียงปัจจัยหนึ่งตามกฎอุปทานหรืออุปสงค์ทั่วไป เนื่องจาก Commodity Transformation มีการคำนึงถึงการคาดหวัง (Expectation) จากผู้ขายและผู้ซื้อ การต่อรองราคา ราคาคู่แข่ง และระยะเวลา เข้ามาพิจารณาด้วย 

โดย วรรณพงษ์  ดุรงคเวโรจน์ 
Copyrights in using the contents 

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

รีวิวรถไฟความเร็วสูงปักกิ่ง-เซี้ยงไฮ้ ชั้น First Class: บทเรียนจากจีนสู่ไทย

วรรณพงษ์ ดุรงคเวโรจน์ อาจารย์ประจำภาควิชาเศรษฐศาสตร์การพัฒนา คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ผมมีโอกาสได้ไปทำวิจัยเรื่องศักยภาพสินค้าไก่ระหว่างไทย-จีน ณ ประเทศจีน ระหว่างวันที่ 9 - 14 พฤษภาคม 2560 และได้มีโอกาสนั่งรถไฟความเร็วสูง (High-speed Train/Bullet Train) เส้นทางปักกิ่ง (Beijing) ไปเซี้ยงไฮ้ (Shanghai) จึงมารีวิวและเขียนข้อเสนอแนะเพิ่มเติมครับ รถไฟความเร็วสูงของจีน (High-speed rail; HSR) บริหารโดยรัฐวิสาหกิจที่มีชื่อว่า China Railway Corporation (คงคล้ายๆ กับรฟท.ของไทย) ได้ชื่อว่ามีโครงข่ายที่ยาวที่สุดในโลก (เพราะอาณาเขตพื้นที่ของจีนนั้นยิ่งใหญ่มหาศาลเหลือเกิน) มีเส้นทางรวมกันกว่า 22,000 กิโลเมตร และมีโครงการที่ขยายเส้นทางให้ครอบคลุมถึง 38,000 กิโลเมตรในอนาคต รถไฟความเร็วสูงของจีนเริ่มต้นให้บริการในปี พ.ศ. 2550 โดยมียอดการใช้บริการมากกว่า 1 พันล้านคนต่อปี เส้นทางของรถไฟความเร็วสูงปักกิ่ง-เซี้ยงไฮ้อยู่ที่ 1,318 กิโลเมตร เทียบได้กับเชียงใหม่-สุราษฏร์ธานี โดยให้บริการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554 (เริ่มสร้างในปี พ.ศ. 2551) โดยเส้นทางดังกล่าวถือเป็นเส้นทางที่สร้างกำไรให้กั

กนง. ลดอัตราดอกเบี้ย ดีหรือไม่?

Photo Source: http://www.dailynews.co.th สรุปสั้นๆ>> "กนง.ลดดอกเบี้ยนโยบายหวังกระตุ้นเศรษฐกิจ เหลือ 2.25 ธนาคารพาณิชย์ตอบรับด้วยการลดดอกเบี้ยทั้งฝากและกู้"  วิเคราะห์ >>  1. ดอกเบี้ย สามารถพิจารณาได้เป็น 2 อย่าง คือเป็นทั้งผลตอบแทน (Rewards) ของการฝากเงิน และเป็นต้นทุน (Cost) หรื อราคาของการกู้ ดังนัน หากลดอัตราดอกเบี้ยลง ย่อมจูงใจให้ภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจเข้ามา "กู้เงิน" มากยิ่งขึ้น 2. สำหรับภาคธุรกิจ กู้เพื่อนำไปลงทุนหรือขยายกิจการ ซื้อเทคโนโลยี การตลาด ต่างๆ นานา การลงทุนของเอกชนนี้ หากเป็นการขยายร้านหรือลงทุนทางกายภาพ จะ"ส่งผลต่อเนื่อง"ไปยังตลาดสินค้าและบริการรวมถึงตลาดแรงงาน นับเป็นผลทางบวก 3. สำหรับภาคครัวเรือน การลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จะเปิดโอกาสให้กู้เพื่อซื้ออสังหาริมทรัพย์ได้มากขึ้น อย่างที่กล่าวว่าดอกเบี้ยคือราคาของการกู้ เมื่อราคาถูกลง ตามหลักอุปสงค์อุปทานพื้นฐาน ปริมาณเสนอซื้อหรือความต้องการซื้อหรือในที่นี่คือความต้องกู้ย่อมมากขึ้นเป็นธรรมดา อย่างไรก็ตามต้องมีการระวังในเรื่องของฟองสบู่ในตลาดอสังหาริมทรัพย์ เพราะวิกฤติฟองสบ

พม่า..ผืนแผ่นดินทอง

ข้อมูลพื้นฐานประเทศพม่า ประเทศพม่า (Burma  หรือ  Myanmar)  มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า "สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า" ( Republic of the Union of Myanmar ) เป็นประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และคาบสมุทรอินโดจีน มีพรมแดนทางแผ่นดินติดต่อกับ 5 ประเทศ ได้แก่ อินเดีย จีน บังคลาเทศ ลาว และไทย ทั้งนี้ พม่าเคยอยู่ภายใต้อาณานิยมของอังกฤษในช่วง พ.ศ. 2367-2485 และ 2488-2491 ด้วยพื้นที่ 261 , 789 ตารางไมล์ ( 678 , 034 ตารางกิโลเมตร ) แบ่งเป็นพื้นที่ทางบก 657,740 ตารางกิโลเมตร และพื้นที่ทางน้ำ 20,760 ตารางกิโลเมตร   อาณาเขต                  ทางฝั่งตะวันตกอยู่ติดกับบังกลาเทศ ทางเหนือติดกับอินเดียและจีน   ทางตะวันออกติดกับลาวและไทย ทางตอนใต้ของประเทศจะอยู่ติดกับอ่าวเบงกอลและทะเล  อันดามัน จังหวัดที่มีอาณาเขตติดต่อกับพม่า มี 10 จังหวัด คือ เชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ตาก กาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพรและระนอง   การปกครอง แบ่งเป็น 7 ภาคได้แก่ เขตอิระวดี เขตมาแกว เขตมัณฑะเลย์ เขตพะโค ( หงสาวดี) เขตสะกาย เขตตะนาวศรี และเขตย่างกุ้ง และ 7 รัฐ ได้แก่ รัฐยะไข่ รั