ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

เงื่อนไข IMF ปี 2540

                      บทความโดยวรรณพงษ์ ดุรงคเวโรจน์
             จากวิกฤติทางด้านเศรษฐกิจในประเทศไทยโดยเริ่มส่อแววตั้งแต่ปลายปี พ.ศ. 2539 ซึ่งรู้จักกันในชื่อ วิกฤติเศรษฐกิจต้มยำกุ้ง”  ส่วนหนึ่งของปัญหาเกิดมาจากหลายส่วนทั้งในตลาดเงินทุน ตลาดหุ้น และตลาดสินค้าและบริการ ปัญหาการเข้าสู่แนวคิด Globalization ที่รวดเร็วและขาดพื้นฐานที่ดี การพยายามเปลี่ยนรากฐานของประเทศจากเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมโดยขาดการวางแผนและการเตรียมความพร้อมที่ดีนำไปสู่กับดักของทุนนิยมในที่สุด ทั้งนี้เรื่องใช้เงินเพื่อพยุงค่าเงินบาทไม่ให้แข็งเกินไปเป็นนโยบายตามทฤษฏีเศรษฐศาสตร์มหภาคซึ่งสามารถรักษาระดับของค่าเงินไว้ได้แต่เนื่องจากปัญหาต้มยำกุ้งในครั้งนั้นมีปัจจัยอื่นมากมายทำให้ทิศทางการแก้ไขไม่เป็นไปตามที่กราฟและทฤษฏีว่าไว้จนทำให้เกิดเป็นปัญหาการดำเนินนโยบายที่ผิดพลาดของรัฐบาลรวมถึงธนาคารแห่งประเทศไทย  ทั้งนี้วิกฤติการณ์ต้มยำกุ้งครั้งนี้อาจเรียกได้ว่าเป็นฟองสบู่ของระบบเศรษฐกิจ ฟองสบู่หมายถึงการที่สินค้าและบริการรวมถึงราคาของหุ้นได้พุ่งขึ้นสูงอย่างต่อเนื่องซึ่งเกิดมาจากปัญหาด้านอุปสงค์และอุปทานในตลาดสินค้าและตลาดหุ้น(นักลงทุนที่ปั่นราคา)พร้อมกันช่วยกันผลักดันให้ระดับราคาของสินค้าทั้งระบบสูงขึ้น ฟองสบู่นี้ได้กลายเป็นอุปสงค์เทียมและสุดท้ายฟองสบู่ก็ได้แตกในปี พ.ศ. 2540 เงินทุนของนักลงทุนจากต่างประเทศทยอยนำเงินออกนอกประเทศ (นำโดยจอส โซรอส ซึ่งผู้เขียนไม่โทษว่าเป็นความผิดของเขาเพราะหากเราเป็นนักลงทุน เมื่อลงทุนอะไรซักอย่างแล้วเห็นทีท่าไม่ดี การถอนเงินทุนออกย่อมเป็นเรื่องธรรมดา) เมื่อมีการนำเงินออกนอกประเทศอย่างมากผลักดันให้ค่าเงินบาทอ่อนตัวอย่างมาก เราพยายามรักษาระดับโดยใช้เงินเข้าอุดเพื่อพยุงไว้แต่สุดท้ายก็ไม่สามารถต้านทานกฎของอุปสงค์และอุปทานของเงินทุนได้ ท้ายที่สุดแล้วทำให้ประเทศไทยต้องทำการกู้เงินจาก IMF เป็นครั้งที่ 5 หลังจากกู้มาแล้วในปี พ.ศ. 2521, 2524, 2525, และ 2528 โดยในครั้งนี้ได้กู้จำนวน 5.1 แสนล้านบาท โดยแลกกับเงื่อนไขมากมายที่รัฐบาล ธนาคารกลาง ภาคเอกชนต้องยอมทำตาม อย่างไรก็ตามแม้เงินที่กู้มานี้ ส่วนใหญ่จะหมดไปกับการเติมเงินทุนสำรองที่เสียไปจากการพยุงค่าเงินบาท ไม่ได้ใช้เพื่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจซักเท่าไหร่ ทั้งนี้ในส่วนของเงื่อนไข ผู้เขียนได้รวบรวมมาดังนี้
1. แยกบริษัทเงินทุนที่ดีออกจากบริษัทเงินทุนที่มีปัญหาออกจากกัน ทำให้มีการปิดสถาบันการเงินที่อ่อนแอลงซึ่ง 56 แห่ง อย่างไรก็ตามเมื่อมีข่าวลืมว่าแบงค์จะล้ม คนเริ่มไม่เชื่อถือในความมั่นคงของสถาบันการอีกต่อไป ทำให้คนทยอยถอนเงินอย่างต่อเนื่อง จึงมีการประกาศรับประกันเงินฝากเกิดขึ้น แต่เมื่อรัฐบาลสั่งปิดสถาบันการเงิน กองทุนฟื้นฟูจึงไปหาเงินที่จะจ่ายให้กับผู้ฝากเงินกับสถาบันที่ถูกปิดซึ่งสร้างหนี้ให้กับกองทุนฟื้นฟูมาจนกระทั่งปัจจุบัน 
2. เปิดเสรีการค้า
3. แก้กฎหมายให้ต่างชาติเพิ่มสัดส่วนถือหุ้นได้และราคาหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ถูกลดลงมาครึ่งหนึ่งทำให้ต่างชาติเข้าครอบครองกิจการภายในประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งในธุรกิจการเงิน ธุรกิจคมนาคม และธุรกิจอสังหาริมทรัพย์
 4. ปัญหาความโปร่งใสในสถาบันการเงินทำให้ธนาคารแห่งประเทศไทยขาดมาตรฐานความเป็นสากล ตลาดการเงินไทยขาดความเชื่อถือ ดังนั้นบริษัทในประเทศที่ต้องการเงินทุนจากนอกประเทศต้องเปิดเผยข้อมูลเพื่อเพิ่มความโปร่งใสในทุกธุรกรรม
 5.นโยบายการเงินเข้มงวด มีการขึ้นดอกเบี้ยเพื่อไม่ให้ค่าเงินบาทลดลงไปมากกว่าเดิมและป้องกันไม่ให้เกิดการแข่งขันกันลดค่าเงินเพื่อแย่งชิงการส่งออก  
6. นโยบายการคลังเข้มงวด ใช้นโยบายเกินดุล (บางแหล่งให้ข้อมูลว่าใช้นโยบายสมดุลซึ่งก่อให้เกิดปัญหาว่า ตามทฤษฏีแล้วเมื่อยามเศรษฐกิจชะลอตัวหรือถดถอย ควรใช้นโยบายขาดดุลเพื่อส่งเสริมให้ระบบเศรษฐกิจถูกกระตุ้นและฟื้นฟูได้เร็ว) มีการขึ้นภาษีไม่ว่าจะเป็นภาษีสรรพษามิตน้ำมัน ภาษีไวน์ ภาษีเบียร์ ภาษีบุหรี่นำเข้า ภาษีน้ำหอม ภาษีป้ายรถยนต์ ภาษีผ้าขนสัตว์  และมีการให้กรมที่ดินเก็บภาษีธุรกิจเฉพาะการขายอสังหาริมทรัพย์แทนกรมสรรพากร 
7. ตั้งสถาบันการเงินใหม่ๆเพื่อสร้างความเชื่อมั่นและความมั่นคงของสถาบันทางการเงินเอกชน เช่น สถาบันประกันเงินฝาก สถาบันการเงินกันเงินสำรองและเพิ่มทุน เป็นต้น 
8. การแปรรูปจากองค์กรรัฐวิสาหกิจเป็นองค์กรเอกชน (Privatization) อย่างไรก็ตาม หากแปรรูปรัฐวิสาหกิจให้เป็นองค์กรเอกชนแล้ว ต่างชาติสามารถเข้ามาดำเนินกิจการได้ซึ่งในเรื่องการแปรรูปนี้เป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายพระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ (ข้อ10) ซึ่งเป็นที่มาของคำว่า “กฎหมายขายชาติ” 
9. ใช้นโยบายอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัว (Float Exchange Rate) 
10. ออกกฎหมายฟื้นฟูเศรษฐกิจ 11 ฉบับในสมัยนายกชวน หลีกภัย เพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจได้แก่  
1. พระราชบัญญัติเช่าอสังหาริมทรัพย์การพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรม พ.ศ. 2542
2. พระราชบัญญัติอาคารชุด (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2543
3. พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2542
4. พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ. 2542
5. พระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2542
6. พระราชบัญญัติการประกอบกิจการธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542
7. พระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2542
8. พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2542
9. พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 18) พ.ศ. 2542
10. พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 19) พ.ศ. 2542
11. พระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2542


            อย่างไรก็ตามจากนโยบายเงินและคลังที่เข้มงวดก่อให้เกิดปัญหากับประชาชนที่ต้องแบกรับค่าครองชีพที่สูงขึ้นจากราคาสินค้าและบริการที่แพงขึ้น ดอกเบี้ยที่สูงขึ้นทำให้ต้นทุนการเงินสูงขึ้น อย่างไรก็ตามนอกจากการกู้เงินจาก IMF แล้วรัฐบาลยังได้กู้เงินจากประเทศญี่ปุ่นในชื่อที่ว่า มิยาซาวา แพลนในปี 2541 เพื่อสร้างเสถียรภาพในภาครัฐและเสริมสภาพคล่องให้กับระบบเศรษฐกิจรวมถึงภาคการผลิต สนับสนุนผู้ประกอบการเล็กรวมถึงการพัฒนาเทคโนโลยี ในวันนี้ประเทศชาติได้ผ่านวิกฤติต้มยำกุ้ง พ.ศ. 2540 มาแล้วถึง 14 ปี ความน่าเชื่อถือและความมั่นคงของสถาบันการเงินในประเทศมีมากอย่างต่อเนื่อง นักลงทุนมีความเชื่อมั่นในระบบเศรฐกิจของประเทศไทยยิ่งขึ้น เศรษฐกิจขยายตัวในทิศทางที่ดี อย่างไรก็ตาม คำถามที่จะฝากทิ้งท้ายคือ เราจะเรียนรู้บทเรียนนี้ได้อีกนานแค่ไหน? ทุกครั้งที่มีการวางแผนนโยบาย เรามีการคำนึงถึงผลพวงของนโยบายในทุกภาคส่วนหรือไม่? และคนไทย..รู้จักวิกฤติการณ์ต้มยำกุ้งในฐานะบทเรียนอันมีค่านี้ดีพอหรือยัง? ทุกคนคือต้นเหตุของปัญหา เราต้องรับผิดชอบร่วมกัน ไม่ใช่เป็นเพียงบุคคลที่ใช้ชีวิตไปวันๆโดยปล่อยให้ทุกอย่างเป็นหน้าที่ของนักการเมือง เราเลยจุดที่จะว่าใครคือต้นเหตุมานาน 14 ปีแล้ว ตอนนี้สิ่งที่สำคัญคือการร่วมมือกันเพื่อพยุงเศรษฐกิจของประเทศท่ามกลางความผันผวนของเศรษฐกิจของโลกนี้ต่อไป

แหล่งอ้างอิง
http://maha-arai.blogspot.com/2011/05/blog-post_302.html
http://www.stou.ac.th/stouonline/lom/data/sec/Lom6/03-03.html
http://www.pub-law.net/publaw/view.aspx?ID=533

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

รีวิวรถไฟความเร็วสูงปักกิ่ง-เซี้ยงไฮ้ ชั้น First Class: บทเรียนจากจีนสู่ไทย

วรรณพงษ์ ดุรงคเวโรจน์ อาจารย์ประจำภาควิชาเศรษฐศาสตร์การพัฒนา คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ผมมีโอกาสได้ไปทำวิจัยเรื่องศักยภาพสินค้าไก่ระหว่างไทย-จีน ณ ประเทศจีน ระหว่างวันที่ 9 - 14 พฤษภาคม 2560 และได้มีโอกาสนั่งรถไฟความเร็วสูง (High-speed Train/Bullet Train) เส้นทางปักกิ่ง (Beijing) ไปเซี้ยงไฮ้ (Shanghai) จึงมารีวิวและเขียนข้อเสนอแนะเพิ่มเติมครับ รถไฟความเร็วสูงของจีน (High-speed rail; HSR) บริหารโดยรัฐวิสาหกิจที่มีชื่อว่า China Railway Corporation (คงคล้ายๆ กับรฟท.ของไทย) ได้ชื่อว่ามีโครงข่ายที่ยาวที่สุดในโลก (เพราะอาณาเขตพื้นที่ของจีนนั้นยิ่งใหญ่มหาศาลเหลือเกิน) มีเส้นทางรวมกันกว่า 22,000 กิโลเมตร และมีโครงการที่ขยายเส้นทางให้ครอบคลุมถึง 38,000 กิโลเมตรในอนาคต รถไฟความเร็วสูงของจีนเริ่มต้นให้บริการในปี พ.ศ. 2550 โดยมียอดการใช้บริการมากกว่า 1 พันล้านคนต่อปี เส้นทางของรถไฟความเร็วสูงปักกิ่ง-เซี้ยงไฮ้อยู่ที่ 1,318 กิโลเมตร เทียบได้กับเชียงใหม่-สุราษฏร์ธานี โดยให้บริการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554 (เริ่มสร้างในปี พ.ศ. 2551) โดยเส้นทางดังกล่าวถือเป็นเส้นทางที่สร้างกำไรให้กั

กนง. ลดอัตราดอกเบี้ย ดีหรือไม่?

Photo Source: http://www.dailynews.co.th สรุปสั้นๆ>> "กนง.ลดดอกเบี้ยนโยบายหวังกระตุ้นเศรษฐกิจ เหลือ 2.25 ธนาคารพาณิชย์ตอบรับด้วยการลดดอกเบี้ยทั้งฝากและกู้"  วิเคราะห์ >>  1. ดอกเบี้ย สามารถพิจารณาได้เป็น 2 อย่าง คือเป็นทั้งผลตอบแทน (Rewards) ของการฝากเงิน และเป็นต้นทุน (Cost) หรื อราคาของการกู้ ดังนัน หากลดอัตราดอกเบี้ยลง ย่อมจูงใจให้ภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจเข้ามา "กู้เงิน" มากยิ่งขึ้น 2. สำหรับภาคธุรกิจ กู้เพื่อนำไปลงทุนหรือขยายกิจการ ซื้อเทคโนโลยี การตลาด ต่างๆ นานา การลงทุนของเอกชนนี้ หากเป็นการขยายร้านหรือลงทุนทางกายภาพ จะ"ส่งผลต่อเนื่อง"ไปยังตลาดสินค้าและบริการรวมถึงตลาดแรงงาน นับเป็นผลทางบวก 3. สำหรับภาคครัวเรือน การลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จะเปิดโอกาสให้กู้เพื่อซื้ออสังหาริมทรัพย์ได้มากขึ้น อย่างที่กล่าวว่าดอกเบี้ยคือราคาของการกู้ เมื่อราคาถูกลง ตามหลักอุปสงค์อุปทานพื้นฐาน ปริมาณเสนอซื้อหรือความต้องการซื้อหรือในที่นี่คือความต้องกู้ย่อมมากขึ้นเป็นธรรมดา อย่างไรก็ตามต้องมีการระวังในเรื่องของฟองสบู่ในตลาดอสังหาริมทรัพย์ เพราะวิกฤติฟองสบ

พม่า..ผืนแผ่นดินทอง

ข้อมูลพื้นฐานประเทศพม่า ประเทศพม่า (Burma  หรือ  Myanmar)  มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า "สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า" ( Republic of the Union of Myanmar ) เป็นประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และคาบสมุทรอินโดจีน มีพรมแดนทางแผ่นดินติดต่อกับ 5 ประเทศ ได้แก่ อินเดีย จีน บังคลาเทศ ลาว และไทย ทั้งนี้ พม่าเคยอยู่ภายใต้อาณานิยมของอังกฤษในช่วง พ.ศ. 2367-2485 และ 2488-2491 ด้วยพื้นที่ 261 , 789 ตารางไมล์ ( 678 , 034 ตารางกิโลเมตร ) แบ่งเป็นพื้นที่ทางบก 657,740 ตารางกิโลเมตร และพื้นที่ทางน้ำ 20,760 ตารางกิโลเมตร   อาณาเขต                  ทางฝั่งตะวันตกอยู่ติดกับบังกลาเทศ ทางเหนือติดกับอินเดียและจีน   ทางตะวันออกติดกับลาวและไทย ทางตอนใต้ของประเทศจะอยู่ติดกับอ่าวเบงกอลและทะเล  อันดามัน จังหวัดที่มีอาณาเขตติดต่อกับพม่า มี 10 จังหวัด คือ เชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ตาก กาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพรและระนอง   การปกครอง แบ่งเป็น 7 ภาคได้แก่ เขตอิระวดี เขตมาแกว เขตมัณฑะเลย์ เขตพะโค ( หงสาวดี) เขตสะกาย เขตตะนาวศรี และเขตย่างกุ้ง และ 7 รัฐ ได้แก่ รัฐยะไข่ รั