ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ภาพรวม เศรษฐกิจไทยปี 56

สรุปสภาวะเศรษฐกิจไทย ภาพรวมปี 2556


                เริ่มตั้งแต่ต้นปี หากยังจำกันได้ค่าเงินบาทอยู่ในช่วง 30 - 30.5 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ และจากนโยบาย Quantitative Easing หรือ QE จากประเทศสหรัฐอเมริกาที่ออกมาเพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในปี 2555 และด้วยความแตกต่างของอัตราดอกเบี้ยนโยบายระหว่างสหรัฐอเมริกากับภูมิภาคอื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทำให้นักลงทุนหันมาสนใจนำเงินมาลงทุนในตลาดหุ้นไทยอย่างต่อเนื่อง ตลาดหุ้นคึกคัก เริ่มต้นไตรมาสถัดไป ตลาดหุ้นพุ่งทะยานไปแตะ 1,630 สูงสุดเป็นประวัติการณ์ในรอบหลายปี อย่างไรก็ตาม จากการที่เงินดอลลาร์มีปริมาณมากขึ้น ทำให้เกิดผลกระทบต่ออัตราแลกเปลี่ยน ทำให้ยิ่งแข็งค่าเข้าไปใหญ่หลุด 28 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งปัญหาบาทแข็งนี้เองได้สร้างความตึงเครียดให้กับภาครัฐบาลผ่านรมว.คลัง มีความพยายามที่จะให้ กนง. ลดอัตราดอกเบี้ยลงเพื่อลดผลตอบแทนในตลาดทุนของประเทศไทย แต่ดูเหมือนว่าความพยายามไม่เป็นผล กนง.ไม่ลดอัตราดอกเบี้ย ทั้งนี้ผลกระทบของอัตราแลกเปลี่ยนไม่ได้เกิดขึ้น ณ วันที่ค่าเงินอ่อนลง ต้องทำความเข้าใจว่าเมื่อค่าเงินบาทแข็งจะทำให้สินค้าและบริการของประเทศเราที่ส่งออกไปมีราคาแพงขึ้นในมุมมองของชาวต่างชาติ หรือผู้ซื้อต่างชาติจะต้องใช้จำนวนดอลลาร์ที่มากขึ้นเพื่อซื้อสินค้าที่มีป้ายราคาเท่าเดิม ในทางกลับกัน เงินบาทที่แข็งค่าจะทำให้สินค้านำเข้ามีราคาถูก ติดฉลากมาราคาเป็นดอลลาร์แต่เราใช้เงินน้อยลงในการซื้อ ทั้งนี้ สำหรับภาคธุรกิจขนาดกลางขึ้นไป คำสั่งซื้อจำเป็นต้องเกิดขึ้นล่วงหน้า เพราะฉะนั้นหากเราดูยอดส่งออก ณ เดือนที่อัตราแลกเปลี่ยนแข็งค่า จะไม่พบผลกระทบใดใดเนื่องจากคำสั่งซื้อ ณ ปัจจุบันได้ถูกสั่งไว้เมื่อหลายเดือนหรือสัปดาห์ก่อนหน้านี้ ด้วยเหตุนี้เองจึงทำให้คาดการณ์ได้ว่าในอีก 2- 3 เดือนข้างหน้า หรือช่วงไตรมาสที่สาม ประเทศไทยน่าจะมีปัญหาการส่งออก ซึ่งในท้ายไตรมาส กนง. มีมติลดอัตราดอกเบี้ยลงจาก 2.75% มาอยู่ที่ 2.5 % ซึ่งสร้างความประหลาดใจให้กับนักวิชาการเนื่องมาจาก กนง. คงอัตราดอกเบี้ยมานานซึ่งนับว่าเป็นนโยบายการเงินครั้งแรกในรอบปี
                ในไตรมาสที่สาม ดูเหมือนว่าผลของการลดอัตราดอกเบี้ยค่อนข้างใช้ได้ผล มีการดึงเงินกลับบ้างบางส่วน ค่าเงินบาทเริ่มอ่อนลงไปแตะระดับ 30 อีกครั้ง ตลาดหุ้นเริ่มลดลงมาอยู่ช่วง 1500 อีกครั้ง อย่างไรก็ตาม ผลของอัตราแลกเปลี่ยนที่แข็งค่าเริ่มส่อเค้า ยอดส่งออกติดลบในเดือนสิงหาคม กันยายน และตุลาคม และมาถึงช่วงเดือนพฤศจิกายน ค่าเงินบาทยังคงทรงตัวในช่วง 30 - 31 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่เดือนพฤศจิกายน ยอดส่งออกลดลง 4% ส่งผลให้ทั้งปีติดลบ 0.49% และส่งออกข้าวติดลบ 5.4% โดยกนง. ได้ใช้มาตรการทางการเงินอีกครั้ง ผ่านการลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายมาอยู่ที่ 2.25% หวังขยายสินเชื่อครัวเรือนและการลงทุน แต่อย่าลืมว่านั่นหมายถึงการลดผลตอบแทนของการมาลงทุนด้วย และมาถึงเดือนสุดท้ายของปี วันที่ 20 ธันวาคม ประธานเฟดแห่งสหรัฐอเมริกา ได้ประกาศชะลอ QE จากตัวเลขดัชนีชี้วัดหลักทางเศรษฐกิจของสหรัฐที่ค่อยๆดีขึ้น ทั้งสภาวะการว่างงาน รวมถึงการผลิต และเมื่อมีการชะลอ QE ตลาดทุนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะได้รับผลกระทบอย่างมากจากการดึงเงินดอลลาร์กลับประเทศ ทำให้ค่าเงินบาทอ่อนมาอยู่ที่ 32.8 เกือบแตะ 33 ปิดท้ายปี นอกจากนั้นนักลงทุนยังคงเทขายหุ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ปิดท้ายปีหลุด 1,300 เป็นที่เรียบร้อย เรียกได้ว่าแดงกันยกแผง
                สำหรับสภาวะเศรษฐกิจในวงการอื่น ประกอบด้วย ราคาอสังหาริมทรัพย์ที่ถีบตัวขึ้นอย่างมากในปี 2556 โดยเฉพาะยิ่งตามหัวเมืองต่างๆ เช่น จังหวัดเชียงใหม่ เป็นต้น นอกจากนั้นจากสภาวะสินเชื่อที่เพิ่มมากขึ้น ก่อให้เกิดความกังวลในเรื่องของฟองสบู่ในตลาดอสังหาริมทรัพย์ที่ในปีหน้าจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องจับตามอง นอกจากนั้นมนุษย์เงินเดือนยังคงได้เฮจากการที่สรรพากรประกาศปรับอัตราภาษีใหม่จากเดิม 5 ขั้นเป็น 6 ขั้น ทำให้ประชาชนบางกลุ่มเสียภาษีในอัตราที่ลดลง อย่างไรก็ตามได้มีแนวคิดที่จะทบทวนภาษีสำหรับโรงพยาบาล และเก็บภาษีกวดวิชา รวมไปถึงภาษีมูลค่าเพิ่ม สำหรับภาคส่งออกยังคงมีข่าวดีอยู่บ้างจากการที่ทางญี่ปุ่นได้ประกาศยกเลิกการแบนไก่จากประเทศไทยมีผลในปีหน้าซึ่งจะทำให้ธุรกิจฟาร์มสัตว์ปีกกลับมาคึกคักอีกครั้ง และแน่นอนว่าธุรกิจอาหารสัตว์จะได้รับผลกระทบเชิงบวกด้วย และสิ่งที่สำคัญที่สุดคงหนีไม่พ้นโครงการรับจำนำข้าวที่เสียงสะท้อนจากนักวิชาการหลายสำนักออกมาเป็นทิศทางเดียวกันคือไม่เห็นด้วยและอยากให้รัฐบาลยกเลิกมากที่สุด จะด้วยเหตุผลด้านการขาดทุนหรือการไร้ประสิทธิภาพของตัวนโยบายเองทำให้ IMF ถึงกับโรงมาเตือนเกี่ยวกับนโยบายดังกล่าว ซึ่งรัฐจำเป็นที่จะต้องให้ความสำคัญและหันมาทบทวนโครงการนี้อีกครั้ง
                กล่าวโดยสรุป สภาวะเศรษฐกิจในประเทศไทยในปี 2556 นั้นเรียกได้ว่าลุ่มๆดอนๆ อาจเรียกว่าเป็น Mild Recession หรือถดถอยแบบไม่รุนแรงก็เป็นได้ ต้องขออธิบายว่าการส่งออกนับเป็นหัวใจหลักของเศรษฐกิจประเทศไทยนั่นย่อมหมายถึงรายได้และสวัสดิการของประชาชนด้วย ความกินดีอยู่ดีจะลดน้อยลงอย่างไม่ต้องสงสัยจากการที่การส่งออกติดลบ การผลิตเพื่อส่งออกจะมีสายใย (Linkages) ที่เชื่อมไปยังภาคส่วนอื่นๆ ยกตัวอย่างเช่น หากการส่งออกข้าวลดลง ชาวนาปลูกข้าวกันน้อยลง ความต้องการใช้ปุ๋ยน้อย แรงงานอาจถูกเลิกจ้าง ก่อให้เกิดปัญหามากมายตามมา เป็นต้น ทั้งนี้ดูเหมือนว่าผลของนโยบายค่าจ้างขั้นต่ำ 300 จะยังปรากฏปัญหาอยู่ คือผู้ประกอบการต้องแบกรับต้นทุนที่สูงขึ้น บางธุรกิจใหญ่ๆถึงกับต้องย้ายโรงงานไปยังประเทศเพื่อนบ้านที่กฎหมายค่าแรงต่ำกว่า หรือหากเป็นสินค้าประเภทที่มีความยืดหยุ่นต่ำ การขึ้นราคาสินค้าและสภาวะเงินเฟ้อเป็นสิ่งที่หนีไม่พ้น และสำหรับปีหน้าฟ้าใหม่นั้น สิ่งสำคัญคือสถานการณ์การเมืองจะต้องเรียบร้อยมากกว่านี้เพื่อเรียกความเชื่อมั่นนักลงทุนกลับมา การบริโภคภายในประเทศจะต้องกลายเป็นเสาหลักของประเทศแทนที่การส่งออกและการใช้จ่ายรัฐบาล นอกจากนั้น ผู้ผลิตเองจะต้องมีการพัฒนาสินค้าของตัวเองให้ดียิ่งขึ้นเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ปราศจากของเสียหรือข้อผิดพลาดโดยเฉพาะอย่างยิ่งสินค้าเกษตรซึ่งอาจทำให้ประเทศคู่ค้าแบนสินค้าได้ซึ่งจะส่งผลกระทบทางลบเหมือนกรณีไก่สดกับประเทศญี่ปุ่นได้ นอจกากนั้นการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยส่งเสริมภาค Agro - Industry นับว่าเป็นอีกทางเลือกหนึ่งซึ่งจะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของประชากรได้ เนื่องจากหากเป็นประเทศเกษตรกรรมเพียงอย่างเดียวอาจจะต้องเสี่ยงจากราคาสินค้าทางการเกษตรที่ไม่แน่ไม่นอน การแปรรูปสามารถช่วยเพิ่มราคาผ่านมูลค่าเพิ่มได้ หากทำได้ เชื่อว่าปีหน้าเศรษฐกิจไทยก็ยังจะพอมีหวังอยู่บ้าง
               
แหล่งที่มาของข่าว





ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

รีวิวรถไฟความเร็วสูงปักกิ่ง-เซี้ยงไฮ้ ชั้น First Class: บทเรียนจากจีนสู่ไทย

วรรณพงษ์ ดุรงคเวโรจน์ อาจารย์ประจำภาควิชาเศรษฐศาสตร์การพัฒนา คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ผมมีโอกาสได้ไปทำวิจัยเรื่องศักยภาพสินค้าไก่ระหว่างไทย-จีน ณ ประเทศจีน ระหว่างวันที่ 9 - 14 พฤษภาคม 2560 และได้มีโอกาสนั่งรถไฟความเร็วสูง (High-speed Train/Bullet Train) เส้นทางปักกิ่ง (Beijing) ไปเซี้ยงไฮ้ (Shanghai) จึงมารีวิวและเขียนข้อเสนอแนะเพิ่มเติมครับ รถไฟความเร็วสูงของจีน (High-speed rail; HSR) บริหารโดยรัฐวิสาหกิจที่มีชื่อว่า China Railway Corporation (คงคล้ายๆ กับรฟท.ของไทย) ได้ชื่อว่ามีโครงข่ายที่ยาวที่สุดในโลก (เพราะอาณาเขตพื้นที่ของจีนนั้นยิ่งใหญ่มหาศาลเหลือเกิน) มีเส้นทางรวมกันกว่า 22,000 กิโลเมตร และมีโครงการที่ขยายเส้นทางให้ครอบคลุมถึง 38,000 กิโลเมตรในอนาคต รถไฟความเร็วสูงของจีนเริ่มต้นให้บริการในปี พ.ศ. 2550 โดยมียอดการใช้บริการมากกว่า 1 พันล้านคนต่อปี เส้นทางของรถไฟความเร็วสูงปักกิ่ง-เซี้ยงไฮ้อยู่ที่ 1,318 กิโลเมตร เทียบได้กับเชียงใหม่-สุราษฏร์ธานี โดยให้บริการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554 (เริ่มสร้างในปี พ.ศ. 2551) โดยเส้นทางดังกล่าวถือเป็นเส้นทางที่สร้างกำไรให้กั

กนง. ลดอัตราดอกเบี้ย ดีหรือไม่?

Photo Source: http://www.dailynews.co.th สรุปสั้นๆ>> "กนง.ลดดอกเบี้ยนโยบายหวังกระตุ้นเศรษฐกิจ เหลือ 2.25 ธนาคารพาณิชย์ตอบรับด้วยการลดดอกเบี้ยทั้งฝากและกู้"  วิเคราะห์ >>  1. ดอกเบี้ย สามารถพิจารณาได้เป็น 2 อย่าง คือเป็นทั้งผลตอบแทน (Rewards) ของการฝากเงิน และเป็นต้นทุน (Cost) หรื อราคาของการกู้ ดังนัน หากลดอัตราดอกเบี้ยลง ย่อมจูงใจให้ภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจเข้ามา "กู้เงิน" มากยิ่งขึ้น 2. สำหรับภาคธุรกิจ กู้เพื่อนำไปลงทุนหรือขยายกิจการ ซื้อเทคโนโลยี การตลาด ต่างๆ นานา การลงทุนของเอกชนนี้ หากเป็นการขยายร้านหรือลงทุนทางกายภาพ จะ"ส่งผลต่อเนื่อง"ไปยังตลาดสินค้าและบริการรวมถึงตลาดแรงงาน นับเป็นผลทางบวก 3. สำหรับภาคครัวเรือน การลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จะเปิดโอกาสให้กู้เพื่อซื้ออสังหาริมทรัพย์ได้มากขึ้น อย่างที่กล่าวว่าดอกเบี้ยคือราคาของการกู้ เมื่อราคาถูกลง ตามหลักอุปสงค์อุปทานพื้นฐาน ปริมาณเสนอซื้อหรือความต้องการซื้อหรือในที่นี่คือความต้องกู้ย่อมมากขึ้นเป็นธรรมดา อย่างไรก็ตามต้องมีการระวังในเรื่องของฟองสบู่ในตลาดอสังหาริมทรัพย์ เพราะวิกฤติฟองสบ

พม่า..ผืนแผ่นดินทอง

ข้อมูลพื้นฐานประเทศพม่า ประเทศพม่า (Burma  หรือ  Myanmar)  มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า "สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า" ( Republic of the Union of Myanmar ) เป็นประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และคาบสมุทรอินโดจีน มีพรมแดนทางแผ่นดินติดต่อกับ 5 ประเทศ ได้แก่ อินเดีย จีน บังคลาเทศ ลาว และไทย ทั้งนี้ พม่าเคยอยู่ภายใต้อาณานิยมของอังกฤษในช่วง พ.ศ. 2367-2485 และ 2488-2491 ด้วยพื้นที่ 261 , 789 ตารางไมล์ ( 678 , 034 ตารางกิโลเมตร ) แบ่งเป็นพื้นที่ทางบก 657,740 ตารางกิโลเมตร และพื้นที่ทางน้ำ 20,760 ตารางกิโลเมตร   อาณาเขต                  ทางฝั่งตะวันตกอยู่ติดกับบังกลาเทศ ทางเหนือติดกับอินเดียและจีน   ทางตะวันออกติดกับลาวและไทย ทางตอนใต้ของประเทศจะอยู่ติดกับอ่าวเบงกอลและทะเล  อันดามัน จังหวัดที่มีอาณาเขตติดต่อกับพม่า มี 10 จังหวัด คือ เชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ตาก กาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพรและระนอง   การปกครอง แบ่งเป็น 7 ภาคได้แก่ เขตอิระวดี เขตมาแกว เขตมัณฑะเลย์ เขตพะโค ( หงสาวดี) เขตสะกาย เขตตะนาวศรี และเขตย่างกุ้ง และ 7 รัฐ ได้แก่ รัฐยะไข่ รั