ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

พม่า..ผืนแผ่นดินทอง


ประเทศพม่า (Burma หรือ Myanmar) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า "สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า" (Republic of the Union of Myanmar) เป็นประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และคาบสมุทรอินโดจีน มีพรมแดนทางแผ่นดินติดต่อกับ 5 ประเทศ ได้แก่ อินเดีย จีน บังคลาเทศ ลาว และไทย ทั้งนี้ พม่าเคยอยู่ภายใต้อาณานิยมของอังกฤษในช่วง พ.ศ. 2367-2485 และ 2488-2491
ด้วยพื้นที่ 261,789 ตารางไมล์ ( 678,034 ตารางกิโลเมตร ) แบ่งเป็นพื้นที่ทางบก 657,740 ตารางกิโลเมตร และพื้นที่ทางน้ำ 20,760 ตารางกิโลเมตร
 อาณาเขต                 ทางฝั่งตะวันตกอยู่ติดกับบังกลาเทศ
ทางเหนือติดกับอินเดียและจีน 
ทางตะวันออกติดกับลาวและไทย
ทางตอนใต้ของประเทศจะอยู่ติดกับอ่าวเบงกอลและทะเล  อันดามัน
จังหวัดที่มีอาณาเขตติดต่อกับพม่า มี 10 จังหวัด คือ เชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ตาก กาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพรและระนอง
 การปกครอง แบ่งเป็น 7ภาคได้แก่ เขตอิระวดี เขตมาแกว เขตมัณฑะเลย์ เขตพะโค (หงสาวดี) เขตสะกาย เขตตะนาวศรี และเขตย่างกุ้ง และ 7 รัฐ ได้แก่ รัฐยะไข่ รัฐชิน รัฐคะฉิ่น รัฐกะเหรี่ยง รัฐคะยา รัฐมอญ และรัฐฉาน

           ประชากร ประมาณ 54 ล้านคน ซึ่งมีจำนวนมากเป็นลำดับที่สามในแถบอินโดจีนรองจากเวียดนามและไทย พม่านั้นประกอบด้วยชนเผ่ากว่า 110 กลุ่ม ซึ่งมาจากกว่า 135 เผ่าพันธุ์ ประชากรที่เป็นคนพม่ามีอยู่ประมาณ 68% ของประชากรทั้งหมด ชนเผ่าอื่นหลักๆ ประกอบด้วย ฉาน ประมาณ 4 ล้านคน กระเหรี่ยง ประมาณ 3 ล้านคน อาระกัน หรือ ยะไข่ประมาณ 2 ล้านคน และ จีน ชิน ว้า มอญ อินเดีย เบงกอล จิงผ่อ และ ปะหล่อง อย่างละประมาณ 1 ล้านคน
            ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ ได้แก่ น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ ไม้สัก ไม้ซุง หินปูน รวมทั้งมีแหล่งพลังงานเชื้อเพลิง และแหล่งพลังงานไฟฟ้าพลังน้ำ เช่น แม่น้ำสาละวิน และแร่ต่าง ๆ ผลผลิตการเกษตรหลัก ได้แก่ ข้าว  เมล็ดพืช ถั่ว งา อ้อย ไม้เนื้อแข็ง ปลา และผลิตภัณฑ์จากปลา ผลผลิตทางอุตสาหกรรมได้แก่ ผลิตภัณฑ์จากไม้ แร่ต่าง ๆ เช่น ดีบุก ทองแดง เหล็ก ทังสเตน ซีเมนต์ อุปกรณ์ก่อสร้าง ปุ๋ย น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ เสื้อผ้า อัญมณี และหยก
 
            ระบบการปกครองภายใต้สนธิสัญญาฉบับใหม่ ประธานาธิบดี และ รองประธานาธิบดี สองคนจะถูกเลือกโดยสภา โดย จะต้องมีสองสภา โดยสภาล่างจะต้องมีสมาชิกไม่เกิน 40 ท่าน และสภาบนไม่เกิน 224 ท่าน ทางกองทัพปกป้องประเทศจะมีสิทธิคัดเลือกสมาชิกเป็นจำนวน 25%ของสภา การปกครองประเทศจะถูกปกครองโดยทหารโดยส่วนใหญ่
นายกรัฐมนตรี                      พลโท เต็ง เซ่ง (Lt.Gen. Tin Naing Thein)

เมืองหลวง                            เมืองเนปิดอ (Nay Pyi Taw) ซึ่งแปลว่าราชธานี เป็นเมืองหลวงใหม่ตั้งอยู่ตอนกลางของประเทศ ใกล้กับเมืองปินมะนา (Pyinmana) อยู่ห่างจากกรุงย่างกุ้งไปทางตอนเหนือราว 320 กิโลเมตร
เมืองสำคัญ                           เมืองย่างกุ้ง ซึ่งเป็นเมืองหลวงเก่า เป็นเมืองศูนย์กลางการคมนาคมและศูนย์กลางการค้าที่จะกระจายสินค้าไปสู่ภาคต่างๆของประเทศ โดยมีแม่น้ำย่างกุ้งเป็นแม่น้ำสัญในการขนถ่ายสินค้า
                                                เมืองมัณฑะเลย์ เป็นเมืองหลวงเก่า มีวัตถุโบราณซึ่งเป็นศิลปะอันงดงาม เป็นศูนย์กลางธุรกิจการค้าตอนบน
                                                เมืองเมียวดี เป็นเมืองค้าขายสินค้าชายแดนกับไทย ตรงข้าม อ. แม่สอด จ. ตาก
                                                เมืองท่าขี้เหล็ก เป็นเมืองค้าขายสินค้าชายแดนกับไทยตรงข้าม อ.แม่สาย จ. เชียงราย
                                                เมืองเกาะสอง เป็นเมืองค้าขายสินค้าชายแดนกับไทย ตรงข้าม จ. ระนอง
                                                เมืองมูเซ เป็นเมืองค้าขายสินค้าชายแดนกับจีน ตรงข้ามเมืองลุยลี่
                                                เมืองเมาะลำไย อยู่ในรัฐมอญ อยู่ห่างจากอ.แม่สอด จ.ตาก ราว 170 กม.
                                                เมืองสิเรียม เป็นเมืองที่มีโรงกลั่นน้ำมันมาก
                                                เมืองพุกาม เป็นศูนย์กลางที่มีชื่อเสียงทางศิลปกรรม มีเจดีย์เก่าแก่จำนวนมาก
                                                เมืองอมรปุระ เป็นศูนย์กลางการทอผ้าไหม

ท่าเรือ                                     ย่างกุ้ง เป็นเมืองท่าที่ใหญ่ที่สุด ในการขนส่งทางเรือราว 90% ของทั้งประเทศ ใช้บริการผ่านท่าเรือย่างกุ้ง ซึ่งสามารถให้บริการแก่เรือที่มีระวางไม่เกิน 10,000 ตัน
                                                เมาะละแหม่ง หรือเมาะลำไย (Mawlamyine) เป็นเมืองท่าส่งข้าวและไม้สัก
                                                อัคยับ เป็นเมืองค่าสำคัญส่งข้าว
                                                พะสิม เป็นเมืองท่า
                                                ทิละวา อยู่ห่างจากกรุงย่างกุ้งราว 13 กม.
                                                ซิตเวย์ (Zittwe) เป็นท่าเรือที่ใช้ทำการค้าระหว่างพม่ากับจีน มหาสมุทรอินเดียและประเทศในทวีปยุโรป
                                                ทวาย อยู่ในขั้นตอนการก่อสร้าง ใช้เดินทางและขนส่งสินค้าผ่านมหาสมุทรอินเดีย จีน ประเทศต่างๆในคาบสมุทรอินโดจีน รวมทั้งมีแผนจะก่อสร้างท่าเรือแห่งใหม่ในรัญยะไข่เพื่อขนส่งสินค้าจากชายฝั่งอ่าว
เบงกอลไปยัง อ. ท่าขี้เหล็กของพม่า และเข้าสู่ภาคเหนือของไทย และไปยังมณฑลยูนนาน
ข้อมูลด้านเศรษฐกิจ 
ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ                   60 พันล้านเหรียญสหรัฐ  (2012, UN)

ผลิตภัณฑ์มวลรวมต่อหัว                                  1,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อปี
อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ                5.5%
จำนวนคนจนภายใต้เส้นความยากจน             32.5 %
สัดส่วนการถือครองรายได้                              กลุ่มคนที่ยากจนที่สุด 10% ถือครอง 2.4% ของราย
                                                                             ได้ทั้งหมด
                                                                              กลุ่มคนที่รวยที่สุด 10% ถือครอง 32.4% ของราย 
                                                                              ได้ทั้งหมด
อัตราเงินเฟ้อ                                                       8.9%

มูลค่าการนำเข้า                                                 18.36 พันล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ (2013)
ประเทศคู่ค้าด้านการนำเข้า                              จีน ไทย สิงคโปร์ ญี่ปุ่น อินเดีย
สินค้าหลักด้านการนำเข้า                                 เครื่องจักรกลและอิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์
                                                                             ก๊าซธรรมชาติ เหล็ก
มูลค่าการส่งออก                                               10.52 พันล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ (2013)
ประเทศคู่ค้าด้านการส่งออก                             ไทย จีน อินเดีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้
สินค้าหลักด้านการส่งออก                               ก๊าซธรรมชาติ ไม้และผลิตภัณฑ์จากไม้ อัญมณี 
                                                                             เสื้อผ้าที่ไม่ได้ถักแบบนิต และผักผลไม้
ทุนสำรองต่างประเทศ                                      3.939 พันล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ
หนี้ต่างประเทศ                                                  8.145 พันล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ
ดัชนีพัฒนามนุษย์ (H.D.I.)                               0.524 อันดับที่ 150 (2013)

นโยบายด้านเศรษฐกิจ
   แม้จะมีนโยบายที่จะเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจพม่าจากระบบวางแผนส่วนกลางเป็นระบบตลาดเปิดประเทศเพื่อรองรับและส่งเสริมการลงทุนจากภายนอก ส่งเสริมการส่งออก การท่องเที่ยว และขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับภูมิภาค แต่ในทางปฏิบัติไม่ได้เป็นเช่นนั้น แนวคิดยังคงไม่ได้รับการปฏิบัติอย่างจริงจัง ไม่มีการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจมากเท่าที่ควร นอกจากนั้นยังมีการควบคุมและแทรกแซงภาคการผลิต มีการเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบด้านการค้าการลงทุนบ่อยครั้ง เช่น นโยบายเรื่องข้าว เป็นต้น

ระบบการเงินการธนาคาร
            ในปัจจุบันระบบการธนาคารของพม่า ประกอบด้วย  ธนาคารกลาง ธนาคารเฉพาะด้านของรัฐ จำนวน 4 แห่ง  ธนาคารพาณิชย์เอกชนของพม่าประมาณ 8 แห่ง  และสำนักงานตัวแทนของธนาคารพาณิชย์ต่างชาติประมาณ 11 แห่ง  ซึ่งมีลักษณะการดำเนินงาน  ดังนี้
2.3.1  ธนาคารกลาง  (The Central Bank of Myanmar) 
            2.3.2  ธนาคารเฉพาะด้านของรัฐ  ได้แก่
                        - The Myanmar Economic Bank 
                        - The Myanmar Foreign Trade Bank ทำหน้าที่ให้บริการด้านการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศและธุรกิจการธนาคารระหว่างประเทศ เกี่ยวกับการนำเข้า-ส่งออกของพม่า ธนาคารนี้ไม่รับฝากสะสมทรัพย์     มีแต่บัญชีเดินสะพัด  และให้กู้
                        -The Myanmar Agriculture and Rural Development Bank 
                        - The Myanmar Investment and Commercial Bank  
            2.3.3  ธนาคารพาณิชย์เอกชน
                        ธนาคารพาณิชย์เอกชนของพม่าได้รับอนุญาตให้ทำธุรกิจเฉพาะภายในประเทศ  (Domestic Business)  เท่านั้น ไม่สามารถทำธุรกิจด้านต่างประเทศได้ (Foreign Transaction)  ปัจจุบันธนาคารพาณิชย์เอกชนของพม่ามี 8 แห่ง  ได้แก่
The Myanmar Citizen Bank  เป็นธนาคารเอชนรายแรก  เป็นการร่วมลงทุนระหว่างบริษัท Joint Venture Corporation Limited และรัฐบาลพม่า , The Yangon City Bank, The First Private Bank, The Myawaddy Bank, The Co-operative Bank, The Yoma Bank , The Yadanarbon Bank, The East Oriented Bank
            2.3.4  ธนาคารต่างประเทศ  (สำนักงานตัวแทน)
                        ในปัจจุบันสำนักงานผู้แทนของธนาคารต่างชาติที่ได้รับอนุญาตให้เปิดสำนักงานและดำเนินการแล้ว  มีธนาคารพาณิชย์ของไทย 6 ธนาคาร และอีก 5 แห่งเป็นธนาคารของประเทศสิงคโปร์ และประเทศอื่น ๆ ดังนี้ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) , ธนาคารนครหลวงไทย จำกัด (มหาชน), ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) , ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) , ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน), ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) , The Banquet Indosuez, The, Development Bank of Singapore, The United Overseas Bank Singapore, The Overseas Chinese Bank Corporation, The Keppel Bank of Singapore

Myanmar Timeline
 
ในสมัย พ.ศ. 2484 : 30 สหาย หรือตรีทศมิตร (30 Comrades) ภายใต้การนำของอองซานร่วมกับกองทัพญี่ปุ่น ปลดปล่อยพม่าจากอังกฤษ
พ.ศ. 2485 : ญี่ปุ่นปกครองพม่าและรัฐฉาน อองซานได้เป็นนายพล ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีกลาโหม อายุเพียง28ปีเท่านั้น
พ.ศ. 2486 : ญี่ปุ่นให้เอกราชแก่พม่า
พ.ศ. 2488 : สหรัฐอเมริกาทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ญี่ปุ่นที่ฮิโรชิมา และนางาซากิยุติสงครามโลกครั้งที่2อังกฤษกลับมายึดครองพม่าอีกครั้ง อองซานตั้งสันนิบาตเสรีชนต่อต้านฟาสซิสต์ ตัดความสัมพันธ์กับญี่ปุ่น
พ.ศ. 2490 : อังกฤษลงนามคืนเอกราชให้พม่าในสนธิสัญญา แอตลี่อองซานโดยมีอองซานเป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกของ สหภาพพม่าในเดือนมกราคม ต่อมาเดือนกุมภาพันธ์อองซานลงนามข้อตกลงที่เวียงปินหล่ง ยอมให้ชนชาติส่วนน้อยกลุ่มต่างๆ ในพม่า แยกตัวเป็นอิศระได้ภายหลังรวมกับพม่าครบ 10 ปี
กรกฎาคม 2490 : อองซานถูกบุกยิงที่อาคารรัฐสภา เสียชีวิตพร้อมกับรัฐมนตรีและทหารรักษาการณ์รวม8คน จากฝีมือของอูซอ (อดีต30สหาย) และพรรคพวกที่ไม่พอใจที่อองซานขึ้นตำแหน่งสูงสุดอย่างรวดเร็ว ต่อมาอองซานได้รับการยกย่องเป็น บิดาแห่งเอกราชของพม่า
• 4 มกราคม 2491 : พม่าได้รับเอกราชจากอังกฤษอย่างเป็นทางการ หลังถูกปกครองอยู่ถึง63ปี โดยมีอูนุ ( อดีต30สหาย )เป็นนายกรัฐมนตรี
พ.ศ. 2500 : อูนุประกาศปฏิเสธที่จะใช้ชนกลุ่มน้อยแยกตัวเป็นอิสระตามข้อตกลงที่เวียงปินหล่ง เกิดกบฏชนกลุ่มน้อยเผ่าพ.ศ. 2505 : นายพลเนวินก่อรัฐประหาร ประกาศปกครองพม่าแบบเผด็จการสังคมนิยม ปิดประเทศเป็น ฤาษีแห่งเอเชียไม่ติดต่อกับโลก
พ.ศ. 2531 : นางอองซานซูจี บุตรสาวนายพลอองซาน ทำงานในองค์การสหประชาชาติที่นิวยอร์คและภูฏานเดินทางกลับพม่าเพื่อรักษาแม่ ที่กำลังป่วยหนัก
• 8 สิงหาคม 2531 : เกิดกรณี “8.8.88” (วันที่ 8 เดือน8 ค.ศ.1988) เมื่อทหารพม่าปราบปรามฆ่าประชาชนที่เรียกร้องประชาธิปไตยจนเกิดกลียุค มีผู้บาดเจ็บ ตาย และถูกจับกุมเป็นจำนวนมาก
กันยายน 2531 : ทหารพม่าของนายพลเนวินประกาศจัดตั้ง สภาฟื้นฟูกฎระเบียบของชาติหรือสลอร์ค” (State Law and Order Restoration Council-SLORC) โดยสัญญาว่าจะจัดให้มีการเลือกตั้งตามระบบประชาธิปไตย ขณะที่นางอองซานซูจีจัดตั้งพรรคสันนิบาตประชาธิปไตย
พ.ศ. 2533 : มีการเลือกตั้งเป็นครั้งแรกในรอบ 30ปี พรรคของนางอองซานซูจีได้รับชัยชนะท่วมท้น แต่สภาสลอร์คไม่ยอมรับและไม่ยอมคืนอำนาจให้ประชาชน ซ้ำยังสั่งกักบริเวณนางอองซานซูจีในบ้านของนางเอง
กันยายน 2534 : นางอองซานซูจีได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ แต่ไม่ได้รับอนุญาตให้เดินทางไปรับรางวัล
พ.ศ. 2535 : สลอร์คประกาศเปลี่ยนนโยบายเศรษฐกิจจากพุทธสังคมนิยมมาเป็นกึ่งเสรีตามแนวทุนนิยม เปิดประเทศต้อนรับนักลงทุน นักท่องเที่ยว และเปลี่ยนชื่อประเทศจากพม่า” (Burma) เป็น เมียนมาร์” (Myanmar)
พ.ศ. 2538 : สลอร์คให้อิสรภาพแก่นางอองซานซูจี หลังจากกักบริเวณมาเป็นเวลาถึง 6 ปี
พ.ศ. 2539 : สลอร์คประกาศให้เป็นปีท่องเที่ยวพม่าถึงปี 2540 และเข้าเป็นสมาชิกสมาคมอาเซียนพร้อมประเทศลาว
พ.ศ. 2540 : สลอร์คเปลี่ยนชื่อเป็น สภาแห่งสันติภาพและการพัฒนาประเทศ” (State of Peace And Development Council = SPDC) มีพลเอกตานฉ่วยเป็นประธานสภาฯ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด และนายกรัฐมนตรีพลโทขิ่น ยุ้นต์ เป็นเลขาธิการสภาฯพลโทหม่อง เอย์ คุมกำลังทหารในส่วนภูมิภาคทั้งหมด


เหตุการณ์สำคัญ ในประเทศพม่าช่วง 3 ปีที่ผ่านมา
ปฏิเสธไม่ได้ว่าในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา ความสนใจของสื่อต่างประเทศรวมทั้งของไทยเองมุ่งไปยังประเทศพม่า เสรีภาพทางการเมืองที่ดูเหมือนว่าจะค่อยๆดีขึ้นซึ่งได้เพิ่มโอกาสของประเทศพม่าในการเจริญเติบโตและพัฒนาทางด้านต่างๆให้ทัดเทียมนานาประทศในภูมิภาค ไม่เพียงเฉพาะด้านการเมืองแต่รวมถึงสังคม เศรษฐกิจ และคุณภาพชีวิตของประชาชนชาวพม่าที่จะดีขึ้น นางออง ซาน ซูจี ผู้ซึ่งเปรียบเสมือนแสงเทียนท่ามกลางความมืดบอดของประเทศมีอิทธิพลอย่างมากต่อชาวพม่าทั่วโลกโดยเฉพาะอย่างยิ่งแรงงานพม่าประเทศไทย ความหวังที่จะได้กลับภูมิลำเนามีมากขึ้นจากสัญลักษณ์ในเชิงบวกต่างๆที่ปรากฏขึ้นอย่างต่อเนื่อง
พ.ศ. 2553      นางออง ซาน ซูจีได้รับอิสรภาพในเดือนพฤศจิกายน หลังจากถูกกุมขังในบ้านนาน 20 ปี โดยมีการกล่าวว่าการคืนเสรีภาพให้นางซูจีในครั้งนี้ถือเป็นการสัญลักษณ์ของการส่งผ่านจากเผด็จการทหารสู่ยุคประชาธิปไตย
            พ.ศ. 2554      เดือนมกราคม รัฐบาลทหารได้อนุญาตให้นางออง ซาน ซูจี เข้าถึงการ ใช้บริการอินเทอร์เน็ต
                                    เดือนมีนาคม พลโทเต็ง เซ่ง ได้สาบานเข้าสู่การเป็นนายกรัฐมนตรีของประชาชนและส่งผ่านอำนาจสู่รัฐบาลใหม่
                                    เดือนพฤษภาคม รัฐบาลใหม่ได้ปล่อยนักโทษนับพันคน แต่นักโทษทางการเมืองบางส่วนยังคงอยู่กุมขังต่อไป
                                    เดือนสิงหาคม นางออง ซาน ซูจี ได้รับอนุญาตได้เดินทางรอบประเทศได้ หลังจากการเข้าพลโท เต็ง เซ่ง
เดือนกันยายน รัฐบาลพม่าระงับการสร้างเขื่อนพลังน้ำมิตโสน (Myitsone) ที่จะลงทุนร่วมกับจีน ซึ่งถือเป็นครั้งแรกที่มีการฟังความคิดเห็นประชาชนที่ออกมาต่อต้านโดยเฉพาะในรัฐคะฉิ่น
เดือนตุลาคม มีการปล่อยตัวนักโทษการเมืองมากกว่า 200 คน และกฎหมายแรงงานพม่าใหม่ได้ผ่านความเห็นชอบ
เดือนพฤศจิกายน อาเซียนได้ลงนามเห็นชอบให้ประเทศพม่าเป็นผู้นำอาเซียนในปี พ.ศ. 2557 และนางซูจี ประกาศลงสมัครเลือกตั้งในปี 2555 นอกจากนี้นักโทษทางการเมืองร่วมร้อยคนถูกปล่อยตัวออกมาอีกครั้ง
เดือนธันวาคม รมว.กระทรวงต่างประเทศ ประเทศสหรัฐอเมริกา นางฮิลารี คลินตันได้เข้าพบนางออง ซาน ซูจี และพูดถึงการยินดีที่จะพัฒนาความสัมพันธ์หากการปฏิรูปประชาธิปไตยเกิดขึ้นในพม่า นอกจากนี้พลโท เต็ง เซ่งลงนามอนุญาตให้มีการประท้วงอย่างสันติได้เป็นครั้งแรกในประเทศพม่า และพรรค NLD ได้สมัครลงเลือกตั้งอีกครั้งในฐานะพรรคการเมืองโดยจะเลือกตั้งกันในปี พ.ศ. 2555 ทั้งนี้ได้มีการยุติการทำสงครามต่อต้านชนกลุ่มน้อย Kachin
พ.ศ. 2555      เดือนมกราคม รัฐบาลทหารพม่าได้ลงนามการหยุดรบกับชนกลุ่มน้อยกะเหรี่ยง วันต่อมาได้มีการปล่อยนักโทษการเมืองร่วมร้อยคน รวมถึงนักศึกษาที่เคลื่อนไหวต่อต้านในปี พ.ศ. 2531 และพระสงค์ที่ต่อต้านในปี พ.ศ. 2551
                                 

         เมื่อต้นเดือนเมษายนที่ผ่านมา ประเทศพม่าได้มีการปฏิรูปค่าเงินจ๊าดให้เป็นไปตามกลไกของตลาดเงินมากขึ้นโดยใช้นโยบายอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัว ให้เป็นไปตามกลไกอุปสงค์และอุปทานภาคใต้การจัดการของธนาคารกลางทำให้ใกล้เคียงกับอัตราแลกเปลี่ยนในตลาดมืดที่ซื้อขายกันจริงมากขึ้น ทำให้อัตราแลกเปลี่ยนอ่อนลงอย่างมากจาก 6 จ๊าดต่อ ดอลลาร์สหรัฐมาอยู่ที่ประมาณ 820 จ๊าดต่อดอลลาร์สหรัฐ และต้นเดือนนี้เองที่ประเทศพม่าได้มีการเลือกตั้งครั้งแรกนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2533 โดยมีนางออง ซาน ซูจี กลับมาลงสมัครแข่งขันอีกครั้งในรอบกว่า 20 ปี นับตั้งแต่ชนะการเลือกตั้งเมื่อปี ค.ศ. 1989 และผลการเลือกตั้ง พรรค NLD ชนะอย่างถล่มถลาย ได้ 43 ที่นั่งจาก 45 ที่นั่งในสภา และในวันที่ 3 เมษายนนี้เองที่นางออง ซาน ซูจีได้เดินเข้าสภาอย่างภาคภูมิท่ามกลางความยินดีของประชาชนชาวพม่าทั่วโลกแม้ว่ารูปแบบรัฐสภาของประเทศพม่าจะมีการกำหนดโควต้าที่นั่งไว้ให้กับกองทัพก็ตาม ในวันที่ 5 เดือนเดียวกัน นางฮิลลารี คลินตัน รัฐมนตรีต่างประเทศ สหรัฐฯ ได้เข้าพบนางออง ซาน ซูจี อย่างเป็นทางการ ต่อด้วยนายเดวิด คาเมรอน นายกรัฐมนตรีของประเทศอังกฤษ ในวันที่ 21 เมษายน ประเทศสหรัฐอเมริกา ออสเตรเลียและสหภาพยุโรปได้นำเรื่องการยกเลิกการคว่ำบาตร (Sanction) ที่เข้มงวดทั้งการลงทุนต่างๆ การท่องเที่ยว และการเข้าประเทศ ขณะเดียวกันพันเอกเต็ง เส็ง ประธานาธิบดีของพม่าได้เดินทางไปประเทศญี่ปุ่นเรื่องการขอความช่วยเหลือด้านการเงินรวมถึงการลงทุน วันที่ 22 เมษายน ทาง IMF ประกาศพร้อมให้ความช่วยเหลือด้านเทคนิคและคำปรึกษาเกี่ยวกับการปฏิรูปค่าเงิน ในวันที่ 23 เมษายน พรรค NLD โดยมีนางออง ซาน ซู จี เป็นผู้นำได้ประท้วงการสาบาน (Oath) เรื่องนโยบายที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ไม่เป็นทำ ในสองวันต่อมาประเทศแคนาดาได้ประกาศยกเลิกการคว่ำบาตรประเทศพม่าอย่างเป็นทางการ ในวันที่ 27 นั้นธนาคารโลก (World Bank) ได้มาจัดตั้งสำนักงานในประเทศพม่าอีกครั้ง วันต่อมา สหภาพยุโรป (European Union) ได้เปิดสำนักงานในพม่าโดยมีสัญญาปีต่อปี เริ่มเดือนพฤษภาคม นายบัน คี มูน เลขาธิการสหประชาชาติได้เข้าพบนางซูจีและกล่าวชื่นชมที่เธอต่อสู้และยืนหยัดในประชาธิปไตย วันที่ 3 พฤษภาคม หัวหน้าพรรค NLD ได้ยอมที่จะเข้าสาบานในรัฐสภาเพราะต้องการให้ประเทศชาติเดินหน้า วันที่ 7 เดือนเดียวกัน ได้มีการปรับแก้กฎหมายการลงทุนจากต่างชาติเพื่อจูงใจให้ต่างชาติเข้ามาลงทุนในรูปแบบของ F.D.I. มากยิ่งขึ้น และในวันที่ 31 พฤษภาคม นาง ออง ซาน ซูจี ได้เดินทางมาประเทศไทยเพื่อร่วมงาน World Economic Forum ซึ่งถือเป็นครั้งแรกในรอบ 24 ปีที่เธอได้ออกนอกประเทศ อย่างไรก็ตามในเดือนมิถุนายน นางออง ซาน  ซูจี ได้เดินทางไปยังประเทศสวิสเซอร์แลนด์เพื่อเจรจาเรื่องการคว่ำบาตรแรงงานพม่าที่องค์แรงงานระหว่างประเทศ (ILO) และเดินทางไปรับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพที่เมืองออสโล ประเทศนอร์เวย์ที่เธอได้รางวัลนี้ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1991 และเธอได้เดินทางไปรับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยออกฟอร์ด ประเทศอังกฤษ ทั้งนี้อาจกล่าวได้ว่าในเดือนเมษายน พ.ศ. 2555 นี้ถือเป็นเดือนทอง (Golden Month) ของประเทศพม่าอันเนื่องมาจากการปฏิรูปทั้งค่าเงินจ๊าด และการผ่อนปรนการคว่ำบาตรทั้งจากประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศออสเตรเลีย และสหภาพยุโรป โดยทางออสเตรเลียประกาศว่าจะให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศพม่าเป็นจำนวน 100 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ อีกทั้งจะสนับสนุนการศึกษาทั้งแพทย์และกฎหมาย โดยในเดือนกันยายนที่จะถึงนี้ (2555) นาง ออง ซาน ซูจีมีแผลนที่จะเดินทางไปยังประเทศสหรัฐอเมริกาเพื่อรับรางวัลจาก American Think Tank อย่างไรก็ตามความมีเสถียรภาพทางการเมืองได้สร้างบรรยากาศการค้าขายการลงทุนมากขึ้น โดยมีประเทศจีนได้เข้ามาลงทุนเป็นอันดับ 1 ของประเทศพม่า จำนวน 33 โครงสร้าง มูลค่าทั้งสิ้นประมาณ 1,400 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ อันดับสองได้แก่ประเทศไทย จำนวน 61 โครงการ มูลค่าทั้งสิ้น ประมาณ 9,500 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ อันดับสามได้แก่ประเทศฮ่องกง เกาหลีใต้ และอังกฤษตามลำดับ
            ขณะเดียวกัน ในรัฐสภาของประเทศพม่ากำลังพิจารณาเรื่องกฎหมายการลงทุนจากต่างชาติในเรื่องของ Tax Break และการอนุญาติให้เอกชนสามารถเข้ามาถือครองที่ดินอันอุดมสมบูรณ์ของพม่า และกำลังเป็นประเด็นสำคัญเพราะในปัจจุบัน รูปแบบการลงทุนในพม่าที่ได้รับอนุญาตจาก Myanmar Inversment Commission โดยคณะกรรมการการลงทุนจากต่างประเทศ ( The Union of Myanmar Foreign Investment Commission) มี 2 รูปแบบคือการลงทุนที่ต่างชาติถือหุ้นได้ 100 % กับการร่วมลงทุนทั้งกับรัฐบาลและเอกชนพม่าโดยลงทุนไม่น้อยกว่า 35% ธุรกิจโรงแรมและอสังหาริมทรัพย์ได้รับอนุญาตให้ลงทุนแบบ BOT ส่วนการลงทุนแบบ PSC  ให้เฉพาะการสำรวจและขุดเจาะมาใช้ประโยชน์เท่านั้น Minimum foreign capital ในภาคอุตสาหกรรมคือ $500,000 บริการคือ $300,000 สิทธิประโยชน์มี Tax Holiday 3 ปี มีความคุ้มครองทุนของต่างชาติ ส่วนตัวเห็นว่าพม่าควรเพิ่มนิคมอุตสาหกรรมที่มีมาตรฐานระดับสากลมากขึ้น เพราะปัจจุบันนิคมประเภทดังกล่าวมีเพียงหนึ่งเดียวคือ Mingaladon Industrial Park จากทั้งหมด 19 นิคมอุตสาหกรรมขนาดเล็กถึงกลางประปราย และพม่าควรออกนโยบายส่งเสริมการลงทุนเพื่อดึงดูดนักลงทุนให้มากขึ้นนอกเหนือจากภาษี  เช่น การจ่ายค่าน้ำมันในราคาถูกกว่าปกติ หรือ สิทธิประโยชน์ด้านการขนส่ง สวัสดิการคนงาน เป็นต้น ทั้งนี้ก็เพื่อโอกาสในการพัฒนาเศรษฐกิจของพม่าเองโดยควรเน้นไปที่ FDI ประเภท Footloose หรือการมาผลิตที่พม่าและนำไปขายต่อที่ประเทศอื่น ทั้งนี้การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจก็มีความสำคัญเช่นกัน เช่น โครงการท่าเรือน้ำลึกทวาย Dawei Port เป็นต้น รวมถึงการสร้างถนนหนทาง ไฟฟ้า ประปา การติดต่อสื่อสาร อินเทอร์เน็ต เพื่อเอื้อประโยชน์แก่การทำธุรกิจทั้งหลายทั้งปวงนั่นเอง โดยในขณะนี้ บริษัท Coca-Cola และ General Electrics ได้เข้ามาเจรจากับผู้เกี่ยวข้องในประเทศพม่าในเรื่องของการจัดสรรพลังงานไฟฟ้าเป็นที่เรียบร้อยแล้ว 

              สำหรับโอกาสของคนไทยในการเข้าไปลงทุนนั้นพบว่า ในปัจจุบันประเทศพม่ามี 3 โครงการหลักที่กำลังพัฒนาได้แก่ ท่าเรือทวาย (ไทยลงทุน) ท่าเรือมะละเหม่ง (ญี่ปุ่นลงทุนโดยเน้นสินค้าเข้าทางตอนกลางของภูมิภาคทั้งหมด) และท่าเรืออิระวะดี (พม่าลงทุนเอง) โดยท่าเรือที่ได้รับความสนใจจากนักลงทุนไทยมาที่สุดย่อมหนีไม่พ้นท่าเรือทวายเนื่องจากอยู่ใกล้ดินแดนประเทศไทยเพียง 350 380 กิโลเมตรทั้งจังหวัดตากและจังหวัดกาญจนบุรี หรือทางจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ผ่านด่านสิงขร และมีโครงการทำถนนเชื่อมกับนิคมอุตสาหกรรมมาบตะพุด แหลมฉบัง นอกจากนี้ยังมีโครงการสร้างถนนเชื่อมพม่า ไทย ลาว กัมพูชา และเวียดนาม ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นจริงอาจกล่าวได้ว่าเป็น Regional Development ซึ่งส่งผลให้ไม่ต้องขนส่งสินค้าไปที่ช่องแคบมะละกาอีกต่อไป นอกจากนี้ยังมีโครงการที่จะเชื่อมท่าเรือทวายกับท่าเรือระนองโดยต้องการสร้างเป็นฮับของการส่งสินค้าออกสู่อันดามัน นอกจากนี้ยังมีอีก 3 โครงการที่สำคัญประกอบด้วย 

1. ถนนเชื่อมทวาย-มาบตะพุด-กัมโปงโสม สิ้นสุดที่ปลายแหลมญวณประเทศเขมร ซึ่งกระทบต่อท่าเรือมะละกาและคอคอดกระอย่างแน่นอน 2. ถนนเชื่อมทวาย-พนมเปญ-ไซง่อน 3. ถนนเชื่อมทวาย-เสียมราฐ และสิ้นสุดที่เวียดนาม อย่างไรก็ตามรัฐบาลไทยได้มีการตื่นตัวกับการเปิดทุนนิยมของพม่าอยู่พอสมควร นับจากวันที่ 19 พฤษภาคม ปี พ.ศ. 2551 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศได้มีประชุมนัดพิเศษของอาเซียนที่ประเทศสิงคโปร์ รัฐมนตรีไทยกับพม่าได้ลงนามบันทึกความเข้าใจเรื่องการพัฒนาโครงการท่าเรือน้ำลึกทวาย โดยจะมีการก่อสร้างท่าเรือ ถนนเชื่อมท่าเรือและจุดผ่านแดนทวายกับจังหวัดกาญจนบุรี โดยสภาพัฒน์ได้กล่าวว่าโครงการที่จะเกิดขึ้นนี้สอดคล้องกับแผนของกลุ่มประเทศอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (GMS) ซึ่งมีโครงการพัฒนาเส้นทางการค้าในแนวตะวันออก ตะวันตก และแนวเหนือ ใต้ และในวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 รองประธานบริษัทอิตาเลียนไทย ดีเวลอปเมนต์ได้ลงนามในกรอบความตกลงอายุสัมปทาน 60 ปีการสร้างท่าเรือพม่าและนิคมอุตสาหกรรม รวมทั้งสิ้น 250 ตร.กม. ซึ่งจะดำเนินการโดยบริษัทลูกชื่อ Dawei Development Company สำหรับโครงการดังกล่าวได้แบ่งออกเป็น 3 เฟสดังนี้ 1. เฟสแรก ปี 2010 2015 เน้นที่โครงสร้างพื้นฐานโดยร่วมลงทุนกับ 4 กิจการ ได้แก่ ปตท, นิปปอนสตีล (Nippon Steel), กฟผ, และปีโตรนาส(Petronas)โดยจะสร้างถนน 8 เลน ยาว 160 กิโลเมตรและสร้างทางรถไฟมาไทย โดยในเดือนเมษายน ปี พ.ศ. 2554 ถนนเชื่อมทวายกับน้ำพุร้อนที่จังหวัดกาญจนบุรีได้สร้างเสร็จ และขณะนี้กำลังอยู่ในช่วงวางท่อก๊าซน้ำมันคู่ขนานกับถนนและทางรถไฟ โดยในอนาคตจะมีการเชื่อมกับศรีโสภณ ประเทศกัมพูชาและสิ้นสุดที่ก๋วงบัง ประเทศเวียดนาม มีมูลค่าราว 8,600 ล้านดอลลาร์ ขณะมูลค่ารวมอาจสูงถึง 58,000 ล้านดอลลาร์ 2. เฟสสอง สร้างท่าเรือทวาย โดยเรือที่มีระวางบรรทุก 20,000 50,000 ตันสามารถเข้าเทียบได้พร้อมกัน 25 ลำ โดยสามารถรองรับเรือบรรทุกได้ 100 ล้านตันต่อปี 3. เฟสสาม จะสร้างนิคมอุตสาหกรรมที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มี 6 เขต ได้แก่ ท่าเรือและอุตสาหกรรมหนัก น้ำมันและก๊าซ อุตสาหกรรมปิโตรเคมีขั้นต้น อุตสาหกรรมปิโตรเคมีขั้นปลาย อุตสาหกรรมปิโตรเคมีขั้นกลาง และอุตสาหกรรมปิโตรเคมีขั้นเล็ก โดยในขณะนี้อยู่ในช่วงเตรียมร่างกฎระเบียบสำหรับท่าเรือทวาย บริษัทอิตาเลียนไทย ดีเวลอปเมนต์จะสร้างโรงไฟฟ้าขนาด 4,000 เมกะวัตต์และเขื่อนขนาด 219 ล้านลบม. ด้วย เมื่อสร้าง 3 เฟสเป็นที่เรียบร้อย ทวายจะกลายเป็นศูนย์กลางการค้าเชื่อมมหาสมุทรอินเดีย ตะวันออกกลาง ยุโรปและแอฟริกาและใหญ่กว่าแหลมฉบังของไทยถึง 10 เท่า


สำหรับต่างชาติที่ให้ความสนใจมาลงทุนนั้นประกอบด้วยประเทศจีน ประเทศอินเดีย และประเทศญี่ปุ่น

ในส่วนของประเทศจีนนั้นได้เล็งเห็นประโยชน์ด้านความมั่นคงที่จะมีเส้นทางทางบกที่จะเปิดภาคตะวันออกเฉียงใต้ของจีนสู่มหาสมุทรอินเดีย จีนนั้นไม่ลงทุนในเฟสแรกแต่ให้ความสนใจที่จะร่วมลงทุนเนื่องจากจีนมีแผนสร้างรถไฟเชื่อมยูนาน-ทวาย-มหาสมุทรอินเดีย และถนนเชื่อมคุนหมิง-ท่าจ๊อกผิวในพม่า-มัณฑะเลย์-ซิตตะเว่ โดยได้ลงนามไปแล้วเมื่อเดือนพฤษภาคมปี พ.ศ. 2553 ทั้งนี้จีนยังได้เสนอ China City Free Trade Centre ในกรุงเทพฯ เลยได้มีแนวคิดถนนเชื่อมจีน-ทวาย-กรุงเทพฯ เกิดขึ้น นอกจากนี้ยังได้มีความคิดพัฒนามณฑลยูนนานของจีนเพื่อเชื่อมกับโลกฝั่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากขึ้น เน้นไปที่การพัฒนาเขตความร่วมมือด้านเศรษฐกิจชายแดน ปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานให้มีความสมบูรณ์ อาทิ การคมนาคมข้ามแดน เส้นทางเข้าออกตามด่านและชายแดน เป็นต้น เพื่อเร่งก่อสร้างเป็นแนวเศรษฐกิจชายแดน มณฑลยูนนานจะส่งเสริมกระบวนการความร่วมมือกับประเทศรอบข้างอย่างต่อเนื่องในการเชื่อมโยงถนน การเชื่อมสายไฟฟ้า เพื่อขยายขอบข่ายความร่วมมือที่เอื้อประโยชน์ซึ่งกันและกัน มณฑลยูนนานเป็นหนึ่งในมณฑลซึ่งตั้งอยู่ทาง ภาคตะวันตกเฉียงใต้ของจีนโดยถือเป็นเมืองหน้าด่านสำคัญของจีนที่สามารถเชื่อมโยงกับประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเซียอาคเนย์และเอเซียใต้ ในช่วง10 ปีที่ผ่านมาการพัฒนาสาธารณูปโภคด้านต่างๆ โดยเฉพาะการเชื่อม โยงโครงข่ายเส้นทางคมนาคมกลายเป็นกลไกสำคัญในการสนับสนุนการเจริญเติบโตของมณฑล ทำให้ปัจจุบันเส้นทางคมนาคมทางถนน ทางอากาศ ทางรถไฟและทางน้ำที่ใช้เชื่อมภายในมณฑลและที่เชื่อมกับมณฑลอื่นๆรอบข้างมีความสะดวกรวดเร็วมากขึ้นมณฑลยูนนานได้วางยุทธศาสตร์สำหรับเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคมภายในมณฑล โดยกำหนดให้นครคุนหมิงเป็นศูนย์กลาง และกำหนดให้เมืองหลักๆ โดยรอบนครคุนหมิงไม่ว่าจะเป็นเมืองชวีจิ้ง ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันออก เมืองยวี่ซีทางทิศใต้ เมืองเจาทงทางทิศเหนือเมืองฉู่สงทางทิศตะวันตก และเมืองหงเหอทางทิศตะวันออกเฉียงใต้เป็นจุดหลักของโครงข่ายการคมนาคมโดยมีเส้นทางการคมนาคมทางถนนและทางรถไฟ เป็นโครงข่ายหลัก ส่วนเส้นทางการคมนาคมทางน้ำกับทางอากาศเป็น โครงข่ายรอง สำหรับยุทธศาสตร์ในการเชื่อมโยงโครงข่ายการคมนาคมระหว่างมณฑลยูนนานกับภายนอก (นอกมณฑล) ทางการได้กำหนดให้เส้นทางคมนาคมทางรถไฟเป็นโครงข่ายหลัก สำหรับเดินทางติดต่อกับมณฑลอื่นๆ ขณะที่ยุทธศาสตร์การเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคมติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้านทางทิศใต้เน้นการใช้เส้นทางถนนซุปเปอร์ไฮเวย์ (เช่น เส้นทางคุนหมิง-จิ่งหง-กรุงเทพฯ) และการคมนาคมทางแม่น้ำโขงเป็นสำคัญ อย่างไรก็ดี เส้นทางรถไฟสายแพนเอเชีย(คุนหมิง-สิงคโปร์) จะกลายเป็นโครงข่ายเสริมที่สำคัญในอนาคต ส่วนเส้นทางอากาศจะรองรับเฉพาะการขนส่งสินค้าพิเศษบางประเภทเท่านั้น

หากพิจารณาจากความได้เปรียบทางภูมิศาสตร์ ของมณฑลยูนนานที่มีพรมแดนติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้านทั้งพม่า ลาวและเวียดนาม รวมระยะทางกว่า4 พันกิโลเมตร รวมทั้งมีชายแดนติดกับมณฑลกวางสีทางภาคะวันออก มณฑลกุ้ยโจวทางภาคเหนือ และมณฑลเสฉวนทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือ ทำให้มณฑลยูนนานเปรียบเสมือนศูนย์กลางในการเชื่อมโยงกับ 2 เขตเศรษฐกิจใหญ่ ทั้งในฐานะที่เป็นประตูการค้าเชื่อมโยงกับกลุ่มประเทศอาเซียนผ่านโครงข่ายคมนาคมเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้านและความร่วมมือการค้าเสรีอาเซียน-จีน ขณะเดียวกันมณฑลยูนนานยังมีฐานะเป็นส่วนหนึ่งของการรวมกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจปากแม่น้ำ
จูเจียง1 ดังนั้น การที่มณฑลยูนนานพยายามเร่งรัดพัฒนาโครงข่ายเส้นทางคมนาคมเชื่อมโยงกับทั้งสองกลุ่มเศรษฐกิจมาอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นถนนสายคุนหมิง-กรุงเทพฯ1ความร่วมมือในเขตเศรษฐกิจปากแม่น้ำจูเจียง (Pan Pearl River Delta : PPRD) ประกอบด้วย 9 มณฑล และ 2 เขตปกครองพิเศษมณฑลฝูเจี้ยน มณฑลเจียงซี มณฑลหูหนาน มณฑลกวางตุ้ง เขตปกครองกวางสี มณฑลไห่หนาน มณฑลเสฉวน มณฑลกุ้ยโจว มณฑลยูนนานรวมทั้งฮ่องกงและมาเก๊าทางรถไฟแพนเอเซีย (คุนหมิงสิงคโปร์) การปรับปรุงระบบการขนส่งทางแม่น้ำโขง การก่อสร้างและปรับปรุงถนนไฮเวย์ และทางรถไฟเชื่อมต่อเมืองต่างๆ ภายในและภายนอกมณฑลก็เป็นข้อพิสูจน์ว่ามณฑลยูนนานมีความเป็นไปได้ที่จะกลายเป็นอีกหนึ่งจุดยุทธศาสตร์สำคัญของประเทศจีนที่สามารถเชื่อมโยงเขตเศรษฐกิจอาเซียนและเขตเศรษฐกิจปากแม่น้ำจูเจียงให้เป็นหนึ่งเดียวกันและทำให้พื้นที่ทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ของจีนกลายเป็นตลาดขนาดใหญ่ที่มีศักยภาพและสามารถดึงดูดการค้าและการลงทุนจากต่างประเทศ เทียบเคียงกับมณฑลที่ตั้งอยู่ชายฝั่งตะวันออกซึ่งมีความได้เปรียบในเชิงภูมิศาสตร์นอกจากนี้ หากการพัฒนาโครงข่ายการคมนาคมแล้วเสร็จตามแผนที่วางไว้ จะทำให้มณฑลยูนนานมีความเหมาะสมสำหรับการเป็นศูนย์กลางการให้บริการโลจิสติกส์ที่สำคัญแห่งหนึ่งในภูมิภาค
 สำหรับประเทศญี่ปุ่น ได้มีการสนับสนุนในด้านการเงินและมาสร้างโครงสร้างพื้นฐาน ท่าเรือ และกิจการเหล็กกล้าซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการสนับสนุนความร่วมมืออนุภูมิลุ่มแม่น้ำโขงผ่านบริษัทนิปปอนสตีลที่ได้ลงทุนในเฟสแรกเรียบร้อยแล้ว ทั้งนี้ธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งประเทศญี่ปุ่นหรือ JBIC อาจมาปล่อยเงินกู้ในการก่อสร้างเฟสต่อไปให้กับพม่า  ในส่วนของประเทศอินเดีย ทวายถือเป็นเส้นทางการเข้าถึงตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้เร็วขึ้น ส่งเสริมความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-อินเดีย ในประเทศไทยนั้น การค้าชายแดนไทย-พม่า มีอัตราการเติบโตร้อยละ 55 ทุกปี โดยท่าเรือทวายนั้นจะช่วยส่งเสริมการค้าของไทยอย่างมากโดยช่วยไทยให้เป็นศูนย์กลางของการคมนาคมของพื้นที่เศรษฐกิจแนวตะวันออก-ตะวันออกของอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ในการประชุมของคณะกรรมการร่วมการค้าไทย-พม่า เดือนเมษายน ปี พ.ศ. 2553 มีได้การตั้งเป้าการค้าให้เติบโตให้ได้ 3 เท่าใน 5 ปี จาก 4,300 ล้านดอลลาร์สหรัฐเป็น 13,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หากเป็นไปตามคาดในปี พ.ศ. 2558 ประเทศไทยจะกลายเป็นศูนย์กลางคมนาคมของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นอกจากนี้ฐานการผลิตในจังหวัดกาญจนบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ สมุทรสงคราม สมุทรสาคร สุพรรณบุรี และกรุงเทพฯ จะได้รับประโยชน์เนื่องจากได้แหล่งระบายสินค้าหรือจุดส่งออกผลิตภัณฑ์ สำหรับเอกชน ที่เด่นชัดคือบริษัทลอกซเลย์ (Loxley) ที่สนใจเข้าไปลงทุนในพม่าในโครงการส่งไฟฟ้าและท่าขนถ่ายก๊าซและน้ำมัน โครงการต่างๆเหล่านี้จะช่วยขยายอิทธิพลทางเศรษฐกิจในประเทศพม่า การเปิดเสรีช่วยดึงดูดเม็ดเงินจากต่างชาติ F.D.I. ไม่แน่ว่าในอนาคต เราอาจได้เห็นสถานีน้ำมันสัญชาติพม่าเหมือนอย่างปิโตรนาสของประเทศมาเลเซียก็เป็นได้อันเนื่องมาจากทรัพยากรทางธรรมชาติที่สมบูรณ์ โดยยังเหลือพื้นที่ป่ามากกว่า 50% ทรัพยากรที่สำคัญประกอบด้วยก๊าซธรรมชาติ ป่าไม้ อัญมณี แร่ธาตุ แผ่นดินที่อุดมด้วยทับทิม หยก และพลอย มีโลหะมีค่า อาทิ ทอง เงิน เหล็ก ตะกั่ว ทองแดง ดีบุก และสังกะสี มีแหล่งพลังงาน อาทิ น้ำมัน ก๊าซ และถ่านหิน ในน้ำอุดมด้วยกุ้งและปลานานาชนิด ผืนแผ่นดินพม่าจึงมีสภาพแวดล้อมและทรัพยากรที่ออกจะสมบูรณ์อยู่ภายในตัว และเมื่ออุตสาหกรรมเข้ามามีบทบาทมากขึ้น ความเป็นทุนนิยมเริ่มจะแพร่ขยายมากกว้างกว่าทุนนิยมอุตสาหกรรมโดยในอนาคตทุนนิยมการเงินอาจเกิดขึ้น หมายความว่าในอนาคตอันใกล้นี้ ประเทศพม่าอาจจะมีตลาดหุ้นเป็นของตนเอง มีตลาดสำหรับการซื้อขายแลกเปลี่ยนเงินตราโดยอาศัยความเข้มแข็งของเอกชนผ่านสถาบันการเงินและบริษัทของคนพม่าเองว่าจะมีความพร้อมมากน้อยแค่ไหนหรือใช้เวลายาวนานเพียงใดที่จะสร้างเสริมตนเองให้แข็งแกร่งทัดเทียมนานาประเทศในภูมิภาค ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับผู้นำและคนในชาติเองว่าต้องการการเจริญเติบโตมากน้อยแค่ไหน ความมีเสถียรภาพทางการเมืองและความเป็นประชาธิปไตยมีบทบาทสำคัญในการนำพาประเทศเข้าสู่ความรุ่งโรจน์ เมื่อถึงวันนั้น ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนชาวพม่าจะมีมากขึ้นจากสวัสดิการต่างๆที่เข้าถึงคนทุกกลุ่ม ระบบการศึกษาที่เข้มแข็ง โรงพยาบาลที่มีอยู่ทุกแห่งหนและสะดวกต่อการใช้บริการและรวมองค์กรอิสระของเอกชนต่างๆหรือกลุ่มต่างๆที่กล้าที่จะรวมตัวกันเพื่อความถูกต้องในสังคม สิ่งต่างๆเหล่านี้ เชื่อแน่ว่าอีกไม่กี่ปีจะต้องเกิดขึ้นในประเทศพม่าอย่างแน่นอน

สำหรับโอกาสของประเทศไทยจากการพัฒนาท่าเรือทวายหรือนิคมอุตสาหกรรมอื่นๆของพม่าที่มีต่อคนไทย สามารถแยกได้เป็น 3 ช่วง ในระยะสั้น โครงการดังกล่าวจะมีประโยชน์ต่อผู้รับเหมาก่อสร้างถนน ท่าเรือ โรงไฟฟ้าถ่านหิน เขื่อน รวมทั้งการปรับปรุงที่ดินโรงงานและระบบส่งน้ำ ในระยะกลาง จะเป็นประโยชน์ต่อนักธุรกิจสร้างคอนโด ที่อยู่อาศัยต่างๆ ในระยะยาว จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการให้เช่าพื้นที่ขนส่งสินค้า บริการไฟฟ้า ประปา และการติดต่อสื่อสารอื่นๆ ดังนั้นการฉกฉวยโอกาสของการพัฒนาการเศรษฐกิจในประเทศพม่าเป็นเรื่องที่รัฐบาลไทยและคนไทยควรให้ความสำคัญเพราะไม่แน่ว่าในอนาคต ประเทศพม่าที่เคยล้าหลังกว่าใครอาจจะกลายเป็นผู้นำทางด้านเศรษฐกิจของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็เป็นได้...



ที่มา

Khin Muang Kyi, Burmese Economy, 2543
นิตรสารแม่น้ำโขง เดือนเมษยน,ยูนนานใต้เมฆสลับสี, 2554
สริญญา สุขสวัสดิ์  ณ อยุธยา, การค้ามิติใหม่, วารสารการค้าระหว่างประเทศ กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ     กระทรวงพาณิชย์
http://www.bbc.co.uk/news/world-asia-16546688
http://www.irrawaddy.org/archives/765
http://www.oceansmile.com/Phama/PhamaHistory.htm

                http://business.east.spu.ac.th/admin/knowledge/A109myma1r.doc
http://www.bot.or.th/Thai/EconomicConditions/AsianEconomies/NeighborReport/MMYNGMSReport/DocLib_MMYNGMS    /5001NeighborReport.pdf
 http://www.oknation.net/blog/print.php?id=682792
http://web1.iseas.edu.sg/?p=6432
http://online.wsj.com/article/SB10001424052702303754904577532641012022220.html



ความคิดเห็น

  1. ขอให้เป็นวันที่ดี,
    ฉัน voorhees philip ฉันต้องการลงทุนในธุรกิจของคุณด้วยความสุจริตฉันมีเงินทุนสำหรับการลงทุนที่ทำกำไรได้ ฉันยังเสนอสินเชื่อเพื่อการพาณิชย์และสินเชื่อส่วนบุคคลที่มีอัตราดอกเบี้ยต่อปีต่ำมากถึง 3% ภายในระยะเวลาการชำระคืนหนึ่งปีไปยังส่วนใดส่วนหนึ่งของโลก จำนวนเงินทุนสูงสุดคือ $ 100million USD
    * สินเชื่อเพื่อการพาณิชย์
    * สินเชื่อส่วนบุคคล
    * สินเชื่อธุรกิจ
    * เงินกู้เพื่อการลงทุน
    * สินเชื่อเพื่อการพัฒนา
    * เงินกู้ซื้อ
    * สินเชื่อเพื่อการก่อสร้าง

    อีเมล: philipvoorhees007@gmail.com
    Whatsapp:
    +447862073672
    ขอขอบคุณ
    VOORHEES ฟิลิปปินส์

    ตอบลบ

แสดงความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

รีวิวรถไฟความเร็วสูงปักกิ่ง-เซี้ยงไฮ้ ชั้น First Class: บทเรียนจากจีนสู่ไทย

วรรณพงษ์ ดุรงคเวโรจน์ อาจารย์ประจำภาควิชาเศรษฐศาสตร์การพัฒนา คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ผมมีโอกาสได้ไปทำวิจัยเรื่องศักยภาพสินค้าไก่ระหว่างไทย-จีน ณ ประเทศจีน ระหว่างวันที่ 9 - 14 พฤษภาคม 2560 และได้มีโอกาสนั่งรถไฟความเร็วสูง (High-speed Train/Bullet Train) เส้นทางปักกิ่ง (Beijing) ไปเซี้ยงไฮ้ (Shanghai) จึงมารีวิวและเขียนข้อเสนอแนะเพิ่มเติมครับ รถไฟความเร็วสูงของจีน (High-speed rail; HSR) บริหารโดยรัฐวิสาหกิจที่มีชื่อว่า China Railway Corporation (คงคล้ายๆ กับรฟท.ของไทย) ได้ชื่อว่ามีโครงข่ายที่ยาวที่สุดในโลก (เพราะอาณาเขตพื้นที่ของจีนนั้นยิ่งใหญ่มหาศาลเหลือเกิน) มีเส้นทางรวมกันกว่า 22,000 กิโลเมตร และมีโครงการที่ขยายเส้นทางให้ครอบคลุมถึง 38,000 กิโลเมตรในอนาคต รถไฟความเร็วสูงของจีนเริ่มต้นให้บริการในปี พ.ศ. 2550 โดยมียอดการใช้บริการมากกว่า 1 พันล้านคนต่อปี เส้นทางของรถไฟความเร็วสูงปักกิ่ง-เซี้ยงไฮ้อยู่ที่ 1,318 กิโลเมตร เทียบได้กับเชียงใหม่-สุราษฏร์ธานี โดยให้บริการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554 (เริ่มสร้างในปี พ.ศ. 2551) โดยเส้นทางดังกล่าวถือเป็นเส้นทางที่สร้างกำไรให้กั

กนง. ลดอัตราดอกเบี้ย ดีหรือไม่?

Photo Source: http://www.dailynews.co.th สรุปสั้นๆ>> "กนง.ลดดอกเบี้ยนโยบายหวังกระตุ้นเศรษฐกิจ เหลือ 2.25 ธนาคารพาณิชย์ตอบรับด้วยการลดดอกเบี้ยทั้งฝากและกู้"  วิเคราะห์ >>  1. ดอกเบี้ย สามารถพิจารณาได้เป็น 2 อย่าง คือเป็นทั้งผลตอบแทน (Rewards) ของการฝากเงิน และเป็นต้นทุน (Cost) หรื อราคาของการกู้ ดังนัน หากลดอัตราดอกเบี้ยลง ย่อมจูงใจให้ภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจเข้ามา "กู้เงิน" มากยิ่งขึ้น 2. สำหรับภาคธุรกิจ กู้เพื่อนำไปลงทุนหรือขยายกิจการ ซื้อเทคโนโลยี การตลาด ต่างๆ นานา การลงทุนของเอกชนนี้ หากเป็นการขยายร้านหรือลงทุนทางกายภาพ จะ"ส่งผลต่อเนื่อง"ไปยังตลาดสินค้าและบริการรวมถึงตลาดแรงงาน นับเป็นผลทางบวก 3. สำหรับภาคครัวเรือน การลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จะเปิดโอกาสให้กู้เพื่อซื้ออสังหาริมทรัพย์ได้มากขึ้น อย่างที่กล่าวว่าดอกเบี้ยคือราคาของการกู้ เมื่อราคาถูกลง ตามหลักอุปสงค์อุปทานพื้นฐาน ปริมาณเสนอซื้อหรือความต้องการซื้อหรือในที่นี่คือความต้องกู้ย่อมมากขึ้นเป็นธรรมดา อย่างไรก็ตามต้องมีการระวังในเรื่องของฟองสบู่ในตลาดอสังหาริมทรัพย์ เพราะวิกฤติฟองสบ