ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมด้วยเครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์ (Environment Conservation with Economic Instruments)



วรรณพงษ์   ดุรงคเวโรจน์
นักวิจัยประจำสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง
wannaphong@fispri.org/wannaphongd@gmail.com

___________________________________________________________________________________________________________________________________


           ในวันศุกร์ที่ 21 พฤศจิกายน 2557 ที่ผ่านมา ผมได้มีโอกาสเข้าฟังการบรรยายในหัวข้อ “การบริหารจัดการพื้นที่อนุรักษ์ องค์กร กฎหมาย และเครื่องมือทางการคลัง” โดย ดร. อดิศร์ อิศรางกูร ณ อยุธยา อาจารย์ประจำคณะพัฒนาการเศรษฐกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ณ กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช และต้องขอชมเชยผู้วิจัยเป็นอย่างมากเนื่องจากข้อมูลมีความครบถ้วนและสมบูรณ์
          ในประเด็นเครื่องมือทางการคลัง (Fiscal Instrument) นั้น ได้เน้นไปที่พันธบัตรระบบนิเวศป่าไม้ (Ecosystem Bond) ที่ถูกพูดถึงในฐานะเครื่องมือแก้ไขปัญหาเรื่องงบประมาณของรัฐที่จำเป็นจะต้องจัดหาเพื่อบริหารจัดการพื้นที่อนุรักษ์ กลไกของพันธบัตรสิ่งแวดล้อมเริ่มตั้งแต่การที่มีหน่วยงานหรือองค์กรทำการออกพันธบัตร นอกจากนั้น ยังมีการเรียกเก็บรายได้จากผู้ที่ได้ประโยชน์จากระบบนิเวศต้นน้ำซี่งอาศัยหลักการของการจ่ายตอบแทนการบริการของระบบนิเวศ (Payment for Ecosystem Service: PES) และนำเงินจำนวนดังกล่าวมาจ่ายเป็นผลตอบแทน (Yield) ให้กับผู้ลงทุนในพันธบัตร ซึ่งจะสังเกตุว่าลักษณะของการออกพันธบัตรจะคล้ายคลึงกับพันธบัตรที่ออกโดยธนาคารพาณิชย์ หากแต่กรณีของพันธบัตรป่าไม้นั้นไม่มีตลาดป่าไม้ดังเช่นตลาดหุ้น/ตลาดทุน อย่างไรก็ตาม นอกเหนือจากการออกพันธบัตรเพื่อระดมรายได้แล้ว ยังมีวิธีการอื่นอีกหลากหลาย เช่น การจัดตั้งกองทุนในรูปแบบมูลนิธิ หรือ การเก็บภาษี เป็นต้น
                อย่างไรก็ตาม การศึกษาดังกล่าวไม่ได้พูดถึงการใช้เงินทุน/รายได้ที่ได้ด้วยวิธีการต่างๆไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพหรือเกิดประโยชน์สูงสุด (Efficiently allocated use) จากการศึกษาเพิ่มเติมจึงขอเสนอให้จัดการเงินทุนเหล่านั้นด้วยเงินอุดหนุนเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม (Environmental Subsidy)[1] ประเด็นของเงินอุดหนุนดังกล่าวมีประเด็นสำคัญอยู่ที่องค์กรที่ระดมทุนจะมอบ (Grant) เงินจำนวนหนึ่งให้กับบุคคลที่ดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม หลักการจะคล้ายคลึงกับ PES แต่ต่างตรงที่มีผู้มอบเงินชัดเจน เช่น หากหมู่บ้าน ก.  ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่ต้นน้ำสามารถจัดการไม่ให้ขยะไหลเข้ามาปะปนกับสายน้ำ หมู่บ้าน ก. จะได้รับเงินจากองค์กรอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเพื่อนำไปใช้จำนวนหนึ่ง เป็นต้น ทั้งนี้ ประเด็นสำคัญคือเงินที่ให้โดยองค์กรจะต้องมากกว่าต้นทุนของหมู่บ้าน ก. จำเป็นที่จะต้องใช้ในการป้องกันไม่ให้ชาวบ้านทิ้งขยะลงในแม่น้ำ ในบางกรณี ต้นทุนที่แท้จริงอาจเป็นศูนย์แต่จะต้องมีการพิจารณาคือ ต้นทุนที่ไม่อิงราคาตลาดด้วย กล่าวคือ จะต้องมีการประเมินว่า มูลค่าของที่ชาวบ้านจะไม่ทิ้งขยะลงแม่น้ำมีมูลค่าเท่าไหร่? ซึ่งเป็นเรื่องยากที่จะประเมิน แต่ก็มีทางแก้ไขเหมือนกัน เช่น การประเมินมูลค่าที่ไม่ผ่านตลาด[2] (Non-market approach, non market valuation) ซึ่งประกอบด้วยวิธีการวัดความพึงพอใจเปิดเผย (Revealed preference) และ วิธีการวัดความพึงพอใจโดยตรง (Stated preference) เป็นต้น 


          ดังนั้น สามารถสรุปเป็นแผนภาพได้ดังนี้
 
ที่มา: ผู้เขียน


            แหล่งเงินทุน ประกอบด้วย ผู้ลงทุนในพันธบัตรสิ่งแวดล้อม/ผู้จ่ายภาษี/ผู้ให้เปล่าในกองทุน/เรียกเก็บด้วยหลัก PES เมื่อองค์กรสามารถระดมเงินโดยอาศัยเครื่องมือทางการคลังแล้วนั้น จะใช้เงินดังกล่าวไปใน 2 วิธี ประกอบด้วย 1) ใช้เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโดยตรง เช่น การสร้างฝายชะลอน้ำ การจัดจ้างเจ้าหน้าที่ควบคุมดูแลระบบน้ำในหมู่บ้าน เป็นต้น และ 2) การใช้เงินทุนเป็นเงินอุดหนุน โดยจ่ายไปให้กับผู้ดูแลสิ่งแวดล้อม โดยทั้ง 2 วิธีการมีเป้าหมายเดียวกัน คือ การมีคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้น อย่างไรก็ตาม ผู้สัญญาว่าจะรักษาสิ่งแวดล้อมอาจเป็นคนเดียวกันกับผู้ลงทุนในพันธบัตรหรือผู้บริจาคเงินให้กองทุน หรือหากเกิดมลพิษในชุมชนที่อยู่ มีความเป็นไปได้ที่จะถูกเรียกเก็บภาษีสิ่งแวดล้อม (Pigovian Tax) เช่นกัน


เอกสารประกอบเพิ่มเติม
          Kete, N. (1994). Environmental policy instrument for market and mixed-market economies.
          Kodonen, K., & Nicodeme, G. (2009). Taxation papers: The role of fiscal instruments in environmental policy. European Commission.
          Patterson, C. D. (2000). Environmental taxes and subsidies: What is the appropriate fiscal policy for dealing with modern environmental problem?. William & Mary Environmental Law and Policy Review, Vol 24 (1).
Stavins, R. N. (2001). Experience with market-based environmental policy instruments.  




[1] ที่มา: http://environment.alberta.ca/01834.html
[2] TEEB. (2010). The Economics of Ecosystems and Biodiversity Ecological and Economic Foundations. Edited by Pushpam Kumar. Earthscan, London and Washington.

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

รีวิวรถไฟความเร็วสูงปักกิ่ง-เซี้ยงไฮ้ ชั้น First Class: บทเรียนจากจีนสู่ไทย

วรรณพงษ์ ดุรงคเวโรจน์ อาจารย์ประจำภาควิชาเศรษฐศาสตร์การพัฒนา คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ผมมีโอกาสได้ไปทำวิจัยเรื่องศักยภาพสินค้าไก่ระหว่างไทย-จีน ณ ประเทศจีน ระหว่างวันที่ 9 - 14 พฤษภาคม 2560 และได้มีโอกาสนั่งรถไฟความเร็วสูง (High-speed Train/Bullet Train) เส้นทางปักกิ่ง (Beijing) ไปเซี้ยงไฮ้ (Shanghai) จึงมารีวิวและเขียนข้อเสนอแนะเพิ่มเติมครับ รถไฟความเร็วสูงของจีน (High-speed rail; HSR) บริหารโดยรัฐวิสาหกิจที่มีชื่อว่า China Railway Corporation (คงคล้ายๆ กับรฟท.ของไทย) ได้ชื่อว่ามีโครงข่ายที่ยาวที่สุดในโลก (เพราะอาณาเขตพื้นที่ของจีนนั้นยิ่งใหญ่มหาศาลเหลือเกิน) มีเส้นทางรวมกันกว่า 22,000 กิโลเมตร และมีโครงการที่ขยายเส้นทางให้ครอบคลุมถึง 38,000 กิโลเมตรในอนาคต รถไฟความเร็วสูงของจีนเริ่มต้นให้บริการในปี พ.ศ. 2550 โดยมียอดการใช้บริการมากกว่า 1 พันล้านคนต่อปี เส้นทางของรถไฟความเร็วสูงปักกิ่ง-เซี้ยงไฮ้อยู่ที่ 1,318 กิโลเมตร เทียบได้กับเชียงใหม่-สุราษฏร์ธานี โดยให้บริการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554 (เริ่มสร้างในปี พ.ศ. 2551) โดยเส้นทางดังกล่าวถือเป็นเส้นทางที่สร้างกำไรให้กั

กนง. ลดอัตราดอกเบี้ย ดีหรือไม่?

Photo Source: http://www.dailynews.co.th สรุปสั้นๆ>> "กนง.ลดดอกเบี้ยนโยบายหวังกระตุ้นเศรษฐกิจ เหลือ 2.25 ธนาคารพาณิชย์ตอบรับด้วยการลดดอกเบี้ยทั้งฝากและกู้"  วิเคราะห์ >>  1. ดอกเบี้ย สามารถพิจารณาได้เป็น 2 อย่าง คือเป็นทั้งผลตอบแทน (Rewards) ของการฝากเงิน และเป็นต้นทุน (Cost) หรื อราคาของการกู้ ดังนัน หากลดอัตราดอกเบี้ยลง ย่อมจูงใจให้ภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจเข้ามา "กู้เงิน" มากยิ่งขึ้น 2. สำหรับภาคธุรกิจ กู้เพื่อนำไปลงทุนหรือขยายกิจการ ซื้อเทคโนโลยี การตลาด ต่างๆ นานา การลงทุนของเอกชนนี้ หากเป็นการขยายร้านหรือลงทุนทางกายภาพ จะ"ส่งผลต่อเนื่อง"ไปยังตลาดสินค้าและบริการรวมถึงตลาดแรงงาน นับเป็นผลทางบวก 3. สำหรับภาคครัวเรือน การลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จะเปิดโอกาสให้กู้เพื่อซื้ออสังหาริมทรัพย์ได้มากขึ้น อย่างที่กล่าวว่าดอกเบี้ยคือราคาของการกู้ เมื่อราคาถูกลง ตามหลักอุปสงค์อุปทานพื้นฐาน ปริมาณเสนอซื้อหรือความต้องการซื้อหรือในที่นี่คือความต้องกู้ย่อมมากขึ้นเป็นธรรมดา อย่างไรก็ตามต้องมีการระวังในเรื่องของฟองสบู่ในตลาดอสังหาริมทรัพย์ เพราะวิกฤติฟองสบ

พม่า..ผืนแผ่นดินทอง

ข้อมูลพื้นฐานประเทศพม่า ประเทศพม่า (Burma  หรือ  Myanmar)  มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า "สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า" ( Republic of the Union of Myanmar ) เป็นประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และคาบสมุทรอินโดจีน มีพรมแดนทางแผ่นดินติดต่อกับ 5 ประเทศ ได้แก่ อินเดีย จีน บังคลาเทศ ลาว และไทย ทั้งนี้ พม่าเคยอยู่ภายใต้อาณานิยมของอังกฤษในช่วง พ.ศ. 2367-2485 และ 2488-2491 ด้วยพื้นที่ 261 , 789 ตารางไมล์ ( 678 , 034 ตารางกิโลเมตร ) แบ่งเป็นพื้นที่ทางบก 657,740 ตารางกิโลเมตร และพื้นที่ทางน้ำ 20,760 ตารางกิโลเมตร   อาณาเขต                  ทางฝั่งตะวันตกอยู่ติดกับบังกลาเทศ ทางเหนือติดกับอินเดียและจีน   ทางตะวันออกติดกับลาวและไทย ทางตอนใต้ของประเทศจะอยู่ติดกับอ่าวเบงกอลและทะเล  อันดามัน จังหวัดที่มีอาณาเขตติดต่อกับพม่า มี 10 จังหวัด คือ เชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ตาก กาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพรและระนอง   การปกครอง แบ่งเป็น 7 ภาคได้แก่ เขตอิระวดี เขตมาแกว เขตมัณฑะเลย์ เขตพะโค ( หงสาวดี) เขตสะกาย เขตตะนาวศรี และเขตย่างกุ้ง และ 7 รัฐ ได้แก่ รัฐยะไข่ รั