Commodity
Transformation
![]() |
photo source:www.abc.net.au |
Commodity Transformation อธิบายการเปลี่ยนแปลงชนิดสินค้าในระยะเวลาชั่วคราวจากสินค้าทั่วไป
(Normal Goods) ไปยังสินค้าเสมือนจำเป็น (Necessary - liked Goods) ซึ่งโดยปกติแล้วสินค้าดังกล่าวจะเป็นสินค้าทั่วไป
กล่าวคือปริมาณความต้องการซื้อและขายเคลื่อนไหวตามปัจจัยด้านราคาและอื่นๆตามกฎอุปสงค์และกฎอุปทาน
(Law of demand and supply) รายได้มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับปริมาณความต้องการ
ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคาอยู่ระดับปานกลางถึงสูงอันเนื่องมาจากสภาวะการแข่งขันที่สมบูรณ์
( Perfect Competition) หากผู้ขายขึ้นราคา
ผู้บริโภคสามารถเปลี่ยนชนิดของสินค้าหรือหันไปซื้อจากผู้ขายรายได้
ผู้ซื้อเองสามารถเลือกซื้อจากผู้ขายรายอื่นได้
ดังนั้นผู้ขายจึงไม่กล้าขึ้นราคาและยอมให้ลดได้(การต่อรองราคา)เพื่อดึงดูดลูกค้า
แต่เมื่อเกิดสภาวะบางอย่างขึ้น จะทำให้สินค้าชนิดดังกล่าวกลายเป็นสินค้าเสมือนจำเป็น
กล่าวคือ ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ที่มีต่อราคามีต่ำลง
การขึ้นราคาไม่อาจทำให้ผู้บริโภคหันเหไปซื้อจากผู้ค้ารายอื่นได้มากนักเนื่องจากราคาที่ใกล้เคียงกันถึงแม้จะมีผู้ขายหลายรายก็ตาม
ผู้ขายรู้ถึงสภาวการณ์ดังกล่าวจึงสามารถขึ้นราคาได้เต็มที่เพราะรู้ดีว่าผู้ซื้อจำเป็นที่จะต้องซื้อสินค้าดังกล่าวแม้ว่าจะมีราคาแพงกว่าในช่วงสถานการณ์ปกติก็ตาม
นอกจากนั้นการต่อรองราคาจะทำได้ยากหรือเป็นไปไม่ได้ และเมื่อพ้นจากสภาวการณ์ดังกล่าว
สินค้าจะกลับไปเป็นสินค้าทั่วไปดังเดิม ตัวอย่างของสภาวการณ์ กรณี
ราคาของลูกโป่งอัดแก๊สและตุ๊กตาในช่วงรับปริญญา ในช่วงเวลาปกติ ราคาของลูกโป่งจะอยู่ประมาณลูกละ
13 บาท ผู้ขายรับมาขายในช่วงวันก่อนรับปริญญา ขายอยู่ที่ 20 บาท
เมื่อถึงวันซ้อมใหญ่และวันรับจริง ราคาลูกโป่งพุ่งขึ้นไปลูกละ 25 บาท
การต่อรองทำไม่ได้เนื่องจากผู้ขายรายอื่นขึ้นราคาเช่นกัน
การขึ้นราคาเสมือนว่ามีเหตุมีผลเนื่องจากเกิดขึ้นพร้อมกัน และเมื่อหมดเทศกาลรับปริญญา
สินค้าดังกล่าวจะกลับไปเป็นสินค้าทั่วไปดังเดิม การขึ้นราคาของลูกโป่งไม่ได้เป็นเพียงปัจจัยหนึ่งตามกฎอุปทานหรืออุปสงค์ทั่วไป
เนื่องจาก Commodity Transformation มีการคำนึงถึงการคาดหวัง (Expectation) จากผู้ขายและผู้ซื้อ
การต่อรองราคา ราคาคู่แข่ง และระยะเวลา เข้ามาพิจารณาด้วย
โดย วรรณพงษ์ ดุรงคเวโรจน์
Copyrights in using the contents
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น