ต้องเกริ่นก่อนว่าดัชนีการพัฒนามนุษย์ หรือ Human Development Index (HDI) คือดัชนีที่บ่งบอกถึงการพัฒนาใน 3 ด้านได้แก่ ด้านสุขภาพ (วัดจาก Life Expectancy หรืออายุขัยโดยเฉลี่ยของประชากร) ด้านการศึกษา (วัดจาก Adult Literacy rate หรืออัตราการอ่านออกเขียนได้ และ การเข้าชั้นเรียนโดยเฉลี่ย) ด้านเศรษฐกิจ (วัดจากผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ หรือ GDP โดยแปรค่าแบบ PPP) ทั้ง 3 ตัวชี้วัดนี้นำมาประกอบเป็นดัชนีการพัฒนามนุษย์ โดยค่า HDI จะมีค่าระหว่าง 0 ถึง 1 โดยสามารถจัดการพัฒนามนุษย์ตามค่า HDI ได้เป็น 4 ประเภท คือ กลุ่มที่มีการพัฒนามนุษย์สูงมาก (High Human Development) โดยมีค่า HDI มากกว่า 0.9 ขึ้นไป, กลุ่มที่มีการพัฒนามนุษย์สูง (High Human Development) โดยมีค่า HDI อยู่ระหว่าง 0.8 – 0.9 , กลุ่มที่มีการพัฒนามนุษย์ปานกลาง (Medium Human Development) โดยมีค่า HDI อยู่ระหว่าง 0.5 – 0.8 , และกลุ่มที่มีการพัฒนามนุษย์ต่ำ (Low Human Development) โดยมีค่า HDI ต่ำกว่า 0.5 และนอกจากนี้ ค่า HDI สามารถแบ่งแยกระหว่าง ประเทศที่มีการพัฒนามากกว่า (More-Developed Countries, MDCs) ได้แก่ ประเทศดัชนีการพัฒนามนุษย์สูงและสูงมาก และ ประเทศที่มีการพัฒนาน้อยกว่า (Less-Developed Countries, LDCs) ได้แก่ ประเทศที่มีดัชนีการพัฒนามนุษย์ปานกลางและต่ำ
จากการศึกษาดัชนีการพัฒนามนุษย์ใน Human Development Report 2011 ของ UNDP พบว่า
1. ดัชนีการพัฒนามนุษย์ของประเทศไทยอยู่ที่ 0.682 ซึ่งถูกจัดอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีดัชนีการพัฒนามนุษย์ปานกลาง ซึ่งเพิ่มจากปีที่แล้วคือ 0.680 ในส่วนของประเทศพม่า ดัชนีการพัฒนามนุษย์อยู่ที่ 0.483 ซึ่งถูกจัดอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีดัชนีการพัฒนามนุษย์ต่ำ ซึ่งเพิ่มจากปี 2010 คือ 0.479
2. อายุขัยโดยเฉลี่ยของไทยอยู่ที่ 74.1 ปี และพม่าอยู่ที่ 65.2 ปี
3. ค่าเฉลี่ยการเข้ารับการศึกษาของประเทศไทยอยู่ที่ 6.6 ปี ส่วนประเทศพม่าอยู่ที่ 4 ปี
4. รายได้มวลรวมวัดแบบ PPP ของประเทศคือ 7,694 ล้านเหรียญ พม่าอยู่ที่ 1,535 ล้านเหรียญ
จะ
ดัชนีเบื้องต้น ดูเหมือนว่า
ดัชนีชี้วัดต่างๆของประเทศไทยนั้นสูงกว่าประเทศพม่าในทุกกรณี
แต่มีประเด็นที่นักเศรษฐศาสตร์สาขาการพัฒนาการเศรษฐกิจ นักวางแผนนโยบาย
นักวิชาการ และประชาชนทั่วไปควรทราบ ดังนี้
1. ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1980 จนกระทั่งปี ค.ศ. 2012 อัตราการเพิ่มขึ้นของพม่าในดัชนีการพัฒนาการมนุษย์คือ 73% ขณะที่ประเทศไทยเพิ่มขึ้นตลอดระยะเวลากว่า 30 ปีเพียงแค่ 40%
2. จากช่วงระยะเวลาดังกล่าว อายุขัยโดยเฉลี่ยของประชากรในประเทศพม่า เพิ่มขึ้น 10.1 ปี ขณะที่ประเทศไทยเพิ่มขึ้น 8.6 ปี
3. รายได้ต่อหัวของประชาชนชาวพม่าเพิ่มขึ้น 322% แต่รายได้ต่อหัวของคนไทยเพิ่มขึ้นเพียง 248%
4. แต่ในด้านการศึกษานั้น จำนวนปีที่คนไทยเข้ารับการศึกษาเพิ่มขึ้น 4.4 ปี แต่พม่าเพิ่มขึ้นเพียง 3.1 ปี
สิ่ง
ที่น่าสนใจคือ
หากประเทศพม่าสามารถรักษาอัตราการเพิ่มขึ้นในตัวชี้วัดดังกล่าวนี้ก็จะไป
เสริมสร้างให้ดัชนีการพัฒนามนุษย์ของประเทศพม่าสูงขึ้นเรื่อยๆ
ช่องว่างระหว่างค่าดัชนีการชี้วัดระหว่างไทยและพม่าจะเริ่มแคบลงเรื่อยๆ
จนกระทั่งวันหนึ่ง
ดัชนีการพัฒนามนุษย์ของประเทศพม่าอาจแซงหน้าประเทศไทยได้
ถึงแม้ว่าจะใช้เวลาค่อนข้างนาน แต่หากเราไม่ให้ความสำคัญตั้งแต่วันนี้
ประเทศไทยอาจพ่ายแพ้เพื่อนบ้านก็เป็นได้
อีกประเด็นที่น่าสนใจคือ ในปี 2011 สูตรการคิดคำนวณของ HDI นั้นเปลี่ยนไป ซึ่งโดยส่วนตัวคิดว่า การเปรียบเทียบค่าดัชนีชี้วัดดังกล่าวระหว่างปีที่ผ่านมากับปีปัจจุบันนั้น อาจ mislead เราให้หลงทาง ไปได้ และอีกเรื่องหนึ่งที่มองข้ามไม่ได้คือ ในปี 2010 ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 92 จาก 169 ประเทศ โดยมีค่า HDI อยู่ที่0.680 แต่ในปี 2011 ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 103 จาก 187 ประเทศโดยมีค่า HDI อยู่ที่ 0.682 ทั้ง
นี้ การพูดว่า ประเทศไทยมีดัชนีการพัฒนามนุษย์นั้นมองผิวเผินอาจจะจริง
แต่อาจดูถึงเงื่อนไขต่างๆแล้ว มีความเป็นไปว่า สูตรที่เปลี่ยนใหม่ทำให้ค่า
HDI มีการปรับฐานกันใหม่ หรือ 18 ประเทศที่เข้ามาใหม่ในปี 2011 อาจเข้าไปแทรกและทำให้ดูว่า ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ลดน้อยถอยลง
อีกหนึ่งค่าที่ HDR แสดงคือค่า Inequality-adjusted HDI (IHDI) โดยเป็นการนำเอาเรื่องของความเหลื่อมล้ำในการจัดสรรผลผลิตของการพัฒนามนุษย์เข้ามาคำนวณด้วย โดยเป็นการปรับค่าจาก HDI เดิมให้มีการคำนึงถึงเรื่องของความเท่าเทียมด้วยเพราะก่อนหน้านี้ HDI ถูกโจมตีในแง่ของการปกปิดความไม่เท่าเทียมในการจัดสรรต่างๆ ทั้งนี้ ในส่วนของประเทศไทย HDI เดิมอยู่ที่ 0.682 แต่เมื่อปรับค่าของความเหลื่อมล้ำแล้วนั้น ค่า IHDI ลดลงเหลือเพียง 0.537 โดยลดลงไป 21.3% แต่เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศเวียดนามที่ค่า HDI เดิมคือ 0.593 และค่า IHDI อยู่ที่ 0.510 โดยลดลงไปแค่ 14% ซึ่งในจุดนี้ ผู้เขียนขอตั้งคำถามปิดท้ายไว้ว่า มีความเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหนที่ค่า IHDI จะเป็นตัวสะท้อนหรือกลายเป็นดัชนีชี้วัดความเหลื่อมล้ำตัวใหม่แทนที่ Gini Coefficient ที่ใช้กันมาอย่างยาวนาน และอย่างไหนจะแน่นอนและเที่ยงตรงมากกว่ากัน..
เอกสารอ้างอิง - Human Development Report ปี 2011 โดย UNDP
Development Economics - Barbara
Development Economics - Todaro
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น