บทความโดยวรรณพงษ์ ดุรงคเวโรจน์
จากวิกฤติทางด้านเศรษฐกิจในประเทศไทยโดยเริ่มส่อแววตั้งแต่ปลายปี พ.ศ. 2539 ซึ่งรู้จักกันในชื่อ “วิกฤติเศรษฐกิจต้มยำกุ้ง” ส่วนหนึ่งของปัญหาเกิดมาจากหลายส่วนทั้งในตลาดเงินทุน ตลาดหุ้น และตลาดสินค้าและบริการ ปัญหาการเข้าสู่แนวคิด Globalization ที่รวดเร็วและขาดพื้นฐานที่ดี การพยายามเปลี่ยนรากฐานของประเทศจากเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมโดยขาดการวางแผนและการเตรียมความพร้อมที่ดีนำไปสู่กับดักของทุนนิยมในที่สุด ทั้งนี้เรื่องใช้เงินเพื่อพยุงค่าเงินบาทไม่ให้แข็งเกินไปเป็นนโยบายตามทฤษฏีเศรษฐศาสตร์มหภาคซึ่งสามารถรักษาระดับของค่าเงินไว้ได้แต่เนื่องจากปัญหาต้มยำกุ้งในครั้งนั้นมีปัจจัยอื่นมากมายทำให้ทิศทางการแก้ไขไม่เป็นไปตามที่กราฟและทฤษฏีว่าไว้จนทำให้เกิดเป็นปัญหาการดำเนินนโยบายที่ผิดพลาดของรัฐบาลรวมถึงธนาคารแห่งประเทศไทย ทั้งนี้วิกฤติการณ์ต้มยำกุ้งครั้งนี้อาจเรียกได้ว่าเป็นฟองสบู่ของระบบเศรษฐกิจ ฟองสบู่หมายถึงการที่สินค้าและบริการรวมถึงราคาของหุ้นได้พุ่งขึ้นสูงอย่างต่อเนื่องซึ่งเกิดมาจากปัญหาด้านอุปสงค์และอุปทานในตลาดสินค้าและตลาดหุ้น(นักลงทุนที่ปั่นราคา)พร้อมกันช่วยกันผลักดันให้ระดับราคาของสินค้าทั้งระบบสูงขึ้น ฟองสบู่นี้ได้กลายเป็นอุปสงค์เทียมและสุดท้ายฟองสบู่ก็ได้แตกในปี พ.ศ. 2540 เงินทุนของนักลงทุนจากต่างประเทศทยอยนำเงินออกนอกประเทศ (นำโดยจอส โซรอส ซึ่งผู้เขียนไม่โทษว่าเป็นความผิดของเขาเพราะหากเราเป็นนักลงทุน เมื่อลงทุนอะไรซักอย่างแล้วเห็นทีท่าไม่ดี การถอนเงินทุนออกย่อมเป็นเรื่องธรรมดา) เมื่อมีการนำเงินออกนอกประเทศอย่างมากผลักดันให้ค่าเงินบาทอ่อนตัวอย่างมาก เราพยายามรักษาระดับโดยใช้เงินเข้าอุดเพื่อพยุงไว้แต่สุดท้ายก็ไม่สามารถต้านทานกฎของอุปสงค์และอุปทานของเงินทุนได้ ท้ายที่สุดแล้วทำให้ประเทศไทยต้องทำการกู้เงินจาก IMF เป็นครั้งที่ 5 หลังจากกู้มาแล้วในปี พ.ศ. 2521, 2524, 2525, และ 2528 โดยในครั้งนี้ได้กู้จำนวน 5.1 แสนล้านบาท โดยแลกกับเงื่อนไขมากมายที่รัฐบาล ธนาคารกลาง ภาคเอกชนต้องยอมทำตาม อย่างไรก็ตามแม้เงินที่กู้มานี้ ส่วนใหญ่จะหมดไปกับการเติมเงินทุนสำรองที่เสียไปจากการพยุงค่าเงินบาท ไม่ได้ใช้เพื่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจซักเท่าไหร่ ทั้งนี้ในส่วนของเงื่อนไข ผู้เขียนได้รวบรวมมาดังนี้
1. แยกบริษัทเงินทุนที่ดีออกจากบริษัทเงินทุนที่มีปัญหาออกจากกัน ทำให้มีการปิดสถาบันการเงินที่อ่อนแอลงซึ่ง 56 แห่ง อย่างไรก็ตามเมื่อมีข่าวลืมว่าแบงค์จะล้ม คนเริ่มไม่เชื่อถือในความมั่นคงของสถาบันการอีกต่อไป ทำให้คนทยอยถอนเงินอย่างต่อเนื่อง จึงมีการประกาศรับประกันเงินฝากเกิดขึ้น แต่เมื่อรัฐบาลสั่งปิดสถาบันการเงิน กองทุนฟื้นฟูจึงไปหาเงินที่จะจ่ายให้กับผู้ฝากเงินกับสถาบันที่ถูกปิดซึ่งสร้างหนี้ให้กับกองทุนฟื้นฟูมาจนกระทั่งปัจจุบัน
2. เปิดเสรีการค้า
3. แก้กฎหมายให้ต่างชาติเพิ่มสัดส่วนถือหุ้นได้และราคาหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ถูกลดลงมาครึ่งหนึ่งทำให้ต่างชาติเข้าครอบครองกิจการภายในประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งในธุรกิจการเงิน ธุรกิจคมนาคม และธุรกิจอสังหาริมทรัพย์
4. ปัญหาความโปร่งใสในสถาบันการเงินทำให้ธนาคารแห่งประเทศไทยขาดมาตรฐานความเป็นสากล ตลาดการเงินไทยขาดความเชื่อถือ ดังนั้นบริษัทในประเทศที่ต้องการเงินทุนจากนอกประเทศต้องเปิดเผยข้อมูลเพื่อเพิ่มความโปร่งใสในทุกธุรกรรม
5.นโยบายการเงินเข้มงวด มีการขึ้นดอกเบี้ยเพื่อไม่ให้ค่าเงินบาทลดลงไปมากกว่าเดิมและป้องกันไม่ให้เกิดการแข่งขันกันลดค่าเงินเพื่อแย่งชิงการส่งออก
6. นโยบายการคลังเข้มงวด ใช้นโยบายเกินดุล (บางแหล่งให้ข้อมูลว่าใช้นโยบายสมดุลซึ่งก่อให้เกิดปัญหาว่า ตามทฤษฏีแล้วเมื่อยามเศรษฐกิจชะลอตัวหรือถดถอย ควรใช้นโยบายขาดดุลเพื่อส่งเสริมให้ระบบเศรษฐกิจถูกกระตุ้นและฟื้นฟูได้เร็ว) มีการขึ้นภาษีไม่ว่าจะเป็นภาษีสรรพษามิตน้ำมัน ภาษีไวน์ ภาษีเบียร์ ภาษีบุหรี่นำเข้า ภาษีน้ำหอม ภาษีป้ายรถยนต์ ภาษีผ้าขนสัตว์ และมีการให้กรมที่ดินเก็บภาษีธุรกิจเฉพาะการขายอสังหาริมทรัพย์แทนกรมสรรพากร
7. ตั้งสถาบันการเงินใหม่ๆเพื่อสร้างความเชื่อมั่นและความมั่นคงของสถาบันทางการเงินเอกชน เช่น สถาบันประกันเงินฝาก สถาบันการเงินกันเงินสำรองและเพิ่มทุน เป็นต้น
8. การแปรรูปจากองค์กรรัฐวิสาหกิจเป็นองค์กรเอกชน (Privatization) อย่างไรก็ตาม หากแปรรูปรัฐวิสาหกิจให้เป็นองค์กรเอกชนแล้ว ต่างชาติสามารถเข้ามาดำเนินกิจการได้ซึ่งในเรื่องการแปรรูปนี้เป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายพระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ (ข้อ10) ซึ่งเป็นที่มาของคำว่า “กฎหมายขายชาติ”
9. ใช้นโยบายอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัว (Float Exchange Rate)
10. ออกกฎหมายฟื้นฟูเศรษฐกิจ 11 ฉบับในสมัยนายกชวน หลีกภัย เพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจได้แก่
1. พระราชบัญญัติเช่าอสังหาริมทรัพย์การพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรม พ.ศ. 2542
2. พระราชบัญญัติอาคารชุด (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2543
3. พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2542
4. พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ. 2542
5. พระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2542
6. พระราชบัญญัติการประกอบกิจการธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542
7. พระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2542
8. พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2542
9. พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 18) พ.ศ. 2542
10. พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 19) พ.ศ. 2542
11. พระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2542
2. เปิดเสรีการค้า
3. แก้กฎหมายให้ต่างชาติเพิ่มสัดส่วนถือหุ้นได้และราคาหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ถูกลดลงมาครึ่งหนึ่งทำให้ต่างชาติเข้าครอบครองกิจการภายในประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งในธุรกิจการเงิน ธุรกิจคมนาคม และธุรกิจอสังหาริมทรัพย์
4. ปัญหาความโปร่งใสในสถาบันการเงินทำให้ธนาคารแห่งประเทศไทยขาดมาตรฐานความเป็นสากล ตลาดการเงินไทยขาดความเชื่อถือ ดังนั้นบริษัทในประเทศที่ต้องการเงินทุนจากนอกประเทศต้องเปิดเผยข้อมูลเพื่อเพิ่มความโปร่งใสในทุกธุรกรรม
5.นโยบายการเงินเข้มงวด มีการขึ้นดอกเบี้ยเพื่อไม่ให้ค่าเงินบาทลดลงไปมากกว่าเดิมและป้องกันไม่ให้เกิดการแข่งขันกันลดค่าเงินเพื่อแย่งชิงการส่งออก
6. นโยบายการคลังเข้มงวด ใช้นโยบายเกินดุล (บางแหล่งให้ข้อมูลว่าใช้นโยบายสมดุลซึ่งก่อให้เกิดปัญหาว่า ตามทฤษฏีแล้วเมื่อยามเศรษฐกิจชะลอตัวหรือถดถอย ควรใช้นโยบายขาดดุลเพื่อส่งเสริมให้ระบบเศรษฐกิจถูกกระตุ้นและฟื้นฟูได้เร็ว) มีการขึ้นภาษีไม่ว่าจะเป็นภาษีสรรพษามิตน้ำมัน ภาษีไวน์ ภาษีเบียร์ ภาษีบุหรี่นำเข้า ภาษีน้ำหอม ภาษีป้ายรถยนต์ ภาษีผ้าขนสัตว์ และมีการให้กรมที่ดินเก็บภาษีธุรกิจเฉพาะการขายอสังหาริมทรัพย์แทนกรมสรรพากร
7. ตั้งสถาบันการเงินใหม่ๆเพื่อสร้างความเชื่อมั่นและความมั่นคงของสถาบันทางการเงินเอกชน เช่น สถาบันประกันเงินฝาก สถาบันการเงินกันเงินสำรองและเพิ่มทุน เป็นต้น
8. การแปรรูปจากองค์กรรัฐวิสาหกิจเป็นองค์กรเอกชน (Privatization) อย่างไรก็ตาม หากแปรรูปรัฐวิสาหกิจให้เป็นองค์กรเอกชนแล้ว ต่างชาติสามารถเข้ามาดำเนินกิจการได้ซึ่งในเรื่องการแปรรูปนี้เป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายพระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ (ข้อ10) ซึ่งเป็นที่มาของคำว่า “กฎหมายขายชาติ”
9. ใช้นโยบายอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัว (Float Exchange Rate)
10. ออกกฎหมายฟื้นฟูเศรษฐกิจ 11 ฉบับในสมัยนายกชวน หลีกภัย เพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจได้แก่
1. พระราชบัญญัติเช่าอสังหาริมทรัพย์การพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรม พ.ศ. 2542
2. พระราชบัญญัติอาคารชุด (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2543
3. พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2542
4. พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ. 2542
5. พระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2542
6. พระราชบัญญัติการประกอบกิจการธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542
7. พระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2542
8. พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2542
9. พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 18) พ.ศ. 2542
10. พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 19) พ.ศ. 2542
11. พระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2542
อย่างไรก็ตามจากนโยบายเงินและคลังที่เข้มงวดก่อให้เกิดปัญหากับประชาชนที่ต้องแบกรับค่าครองชีพที่สูงขึ้นจากราคาสินค้าและบริการที่แพงขึ้น ดอกเบี้ยที่สูงขึ้นทำให้ต้นทุนการเงินสูงขึ้น อย่างไรก็ตามนอกจากการกู้เงินจาก IMF แล้วรัฐบาลยังได้กู้เงินจากประเทศญี่ปุ่นในชื่อที่ว่า มิยาซาวา แพลนในปี 2541 เพื่อสร้างเสถียรภาพในภาครัฐและเสริมสภาพคล่องให้กับระบบเศรษฐกิจรวมถึงภาคการผลิต สนับสนุนผู้ประกอบการเล็กรวมถึงการพัฒนาเทคโนโลยี ในวันนี้ประเทศชาติได้ผ่านวิกฤติต้มยำกุ้ง พ.ศ. 2540 มาแล้วถึง 14 ปี ความน่าเชื่อถือและความมั่นคงของสถาบันการเงินในประเทศมีมากอย่างต่อเนื่อง นักลงทุนมีความเชื่อมั่นในระบบเศรฐกิจของประเทศไทยยิ่งขึ้น เศรษฐกิจขยายตัวในทิศทางที่ดี อย่างไรก็ตาม คำถามที่จะฝากทิ้งท้ายคือ เราจะเรียนรู้บทเรียนนี้ได้อีกนานแค่ไหน? ทุกครั้งที่มีการวางแผนนโยบาย เรามีการคำนึงถึงผลพวงของนโยบายในทุกภาคส่วนหรือไม่? และคนไทย..รู้จักวิกฤติการณ์ต้มยำกุ้งในฐานะบทเรียนอันมีค่านี้ดีพอหรือยัง? ทุกคนคือต้นเหตุของปัญหา เราต้องรับผิดชอบร่วมกัน ไม่ใช่เป็นเพียงบุคคลที่ใช้ชีวิตไปวันๆโดยปล่อยให้ทุกอย่างเป็นหน้าที่ของนักการเมือง เราเลยจุดที่จะว่าใครคือต้นเหตุมานาน 14 ปีแล้ว ตอนนี้สิ่งที่สำคัญคือการร่วมมือกันเพื่อพยุงเศรษฐกิจของประเทศท่ามกลางความผันผวนของเศรษฐกิจของโลกนี้ต่อไป
แหล่งอ้างอิง
http://maha-arai.blogspot.com/2011/05/blog-post_302.html
http://www.stou.ac.th/stouonline/lom/data/sec/Lom6/03-03.html
http://www.pub-law.net/publaw/view.aspx?ID=533
แหล่งอ้างอิง
http://maha-arai.blogspot.com/2011/05/blog-post_302.html
http://www.stou.ac.th/stouonline/lom/data/sec/Lom6/03-03.html
http://www.pub-law.net/publaw/view.aspx?ID=533
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น