ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก 2016

หนังสือเล่มแรกในชีวิต "เจาะประเด็นเด่น เศรษฐกิจไทย"

จากที่ผมได้ทำบล็อคนี้ขึ้นมาตั้งแต่สมัยเรียนอยู่ในระดับป.ตรี ที่คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ตอนนั้นผมได้เรียนวิชา Public Finance อาจารย์ก็จะมี paper ให้ทำเป็นประจำ ด้วยความเสียดาย จึงอยากเผยแพร่เพื่อแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นกับคนที่สนใจ แล้วก็พบว่าการทำบล็อคเนี่ยแหละ เหมาะสมที่สุด เพราะทำง่าย เข้าถึงง่าย และไม่เสียเงิน  กว่า 5 ปี มาแล้ว ที่ได้ทำบล็อค ด้วยความเป็นคนชอบเขียน ชอบอ่าน ตั้งแต่เด็กๆ อ่านทุกแนว ตั้งแต่นิยาย สารคดี ไปจนถึง how to พัฒนาตัวเองต่างๆ ความฝันสูงสุด นอกเหนือจากการเป็นนักเศรษฐศาสตร์ ทำงานเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศ ก็คือ การได้เห็นหนังสือของเรา วางขายในร้านหนังสือบ้าง  จนกระทั่งวันนี้ ผมได้ใช้วิชาความรู้ที่ได้เรียนมา บวกกับประสบการณ์การทำงานจากสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง และมหาวิทยาลัยรามคำแหง จัดทำหนังสือชื่อ "เจาะประเด็นเด่น เศรษฐกิจไทย" สำนักพิมพ์ซีเอ็ด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์เศรษฐกิจไทยในหลายๆ ด้าน โดยใช้ความรู้ทางเศรษฐศาสตร์เข้ามาช่วย  เนื้อหาแบ่งออกเป็น 13 บท ดังนี้ บทที่ 1 หนี้เกษตรกรไทย บทที่ 1 หนี้เกษตรกรและกา...

นโยบายแจกเงิน 3,000 บาท จน-ไม่แจก แจก-คนไม่จน

"จน - ไม่แจก แจก - คนไม่จน" วรรณพงษ์ ดุรงคเวโรจน์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง Photo Source: http://www.abc.net.au/religion/articles/2014/02/10/3941760.htm                 จากการที่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2559 เห็นชอบมาตรการการเพิ่มรายได้ให้แก่ผู้มีรายได้น้อยในโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ โดยใช้งบประมาณ 12,750 ล้านบาท ซึ่งเป็นการจ่ายให้กับกลุ่มคนจนในเมือง และเมื่อรวมกับมติครม. เมื่อ 27 กันยายน 2559 ที่อนุมัติงบ 6,540 ล้านบาท สำหรับแจกเกษตรกร รวม 2 โครงการ ใช้งบประมาณทั้งสิ้นกว่า 20,000 ล้านบาท                 สำหรับหลักเกณฑ์การจ่ายเงินทั้งกลุ่มเกษตรกร และกลุ่มคนจนในเมือง พบว่ามีเกณฑ์เดียวกันคือ หากมีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี รับเงิน 3,000 บาท และหากมีรายได้ตั้งแต่ 30,000 แต่ไม่เกิน 100,000 บาทต่อปี รับเงิน 1,500 บาท นโยบายแจกเงินนี้ไม่ใช่นโยบายใหม่ ย้อนกลั...

การส่งออกไทยเมื่อทรัมป์ขึ้นเป็นประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกา

Photo Source: CNN วรรณพงษ์ ดุรงคเวโรจน์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ในวันที่ 8 พฤศจิกายน 2559 นายโดนัลด์ ทรัมป์ ( Donald Trump ) คว้าชัยชนะจากการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ครั้งที่ 58  เหนือตัวเต็งอย่างฮิลลารี คลินตัน ( Hillary Clinton ) ขึ้นเป็นประธานาธิบดีคนที่ 45 ต่อจากนายบารัค โอบามา ผลการเลือกตั้งอาจจะถูกใจบ้าง ประหลาดใจบ้าง แต่สุดท้ายแล้ว ใจความสำคัญของประชาธิปไตยก็คือ การยอมรับผลการเลือกตั้ง ซึ่งได้จากคนส่วนใหญ่ ( Majority vote) นั่นเอง                 เราจะมาลองดูว่านโยบายด้านการค้าระหว่างประเทศ ( International trade policies ) ของทรัมป์ (อาจ) ส่งผลกระทบอะไรต่อเศรษฐกิจภาคต่างประเทศของไทยบ้าง (จำกัดการวิเคราะห์เพียง External sector เพราะในความเป็นจริงแล้ว ยังมีอีกหลายเรื่อง เช่น แรงงาน การลงทุนข้ามชาติ และบริษัทไทยที่ไปลงทุนในสหรัฐอเมริกา เป็นต้น)  เกริ่นนำเรื่องความตกลงทางการค้าสักสองสามบรรทัด ปกติแล้ว หาก 2 ประเทศตกลงที่จะค้าขายกัน ห...