วรรณพงษ์ ดุรงคเวโรจน์ PhD Candidate, Australian National University Photo: Ill. Niklas Elmehed. © Nobel Media. ประกาศกันไปแล้ว สำหรับรางวัลโนเบล สาขาเศรษฐศาสตร์ ประจำปี 2019 ได้แก่ Professor Abhijit Banerjee (MIT), Professor Esther Duflo (MIT), Professor Michael Kremer (Harvard University) สำหรับการวิจัยเชิงทดลอง (experimental approach) ที่ใช้เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน โดยความพิเศษของปีนี้คือ Duflo ถือเป็น (1) นักเศรษฐศาสตร์ที่อายุน้อยที่สุดที่ได้รางวัลดังกล่าว มีอายุเพียง 46 ปีเท่านั้น (เจ้าของสถิติเดิม คือ Kenneth Arrow ได้รางวัลตอนอายุ 51 ปี เมื่อปี 1972) และ (2) นักเศรษฐศาสตร์ผู้หญิงคนที่สองที่ได้รางวัลโนเบล ต่อจาก Elinor Ostrom ที่ได้รับรางวัลเมื่อปี 2009 ซึ่งศาสตราจารย์ด้านเศรษฐศาสตร์การพัฒนา ทั้ง 3 ท่าน ถือว่า เป็นผู้บุกเบิกการนำเอาเครื่องมือที่ใช้ในวงการแพทย์อย่าง Randomized Controlled Trials (RCTs) มาประยุกต์ใช้กับงานทางด้านเศรษฐศาสตร์ สำหรับ Banerjee และ Duflo นั้น หลายคนอาจจะรู้จักในฐานะผู้เขียนหนังสือชื่อดังอย่าง "Poor Economics" ซึ่ง
วรรณพงษ์ ดุรงคเวโรจน์ อาจารย์ประจำภาควิชาเศรษฐศาสตร์การพัฒนา คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ผมมีโอกาสได้ไปทำวิจัยเรื่องศักยภาพสินค้าไก่ระหว่างไทย-จีน ณ ประเทศจีน ระหว่างวันที่ 9 - 14 พฤษภาคม 2560 และได้มีโอกาสนั่งรถไฟความเร็วสูง (High-speed Train/Bullet Train) เส้นทางปักกิ่ง (Beijing) ไปเซี้ยงไฮ้ (Shanghai) จึงมารีวิวและเขียนข้อเสนอแนะเพิ่มเติมครับ รถไฟความเร็วสูงของจีน (High-speed rail; HSR) บริหารโดยรัฐวิสาหกิจที่มีชื่อว่า China Railway Corporation (คงคล้ายๆ กับรฟท.ของไทย) ได้ชื่อว่ามีโครงข่ายที่ยาวที่สุดในโลก (เพราะอาณาเขตพื้นที่ของจีนนั้นยิ่งใหญ่มหาศาลเหลือเกิน) มีเส้นทางรวมกันกว่า 22,000 กิโลเมตร และมีโครงการที่ขยายเส้นทางให้ครอบคลุมถึง 38,000 กิโลเมตรในอนาคต รถไฟความเร็วสูงของจีนเริ่มต้นให้บริการในปี พ.ศ. 2550 โดยมียอดการใช้บริการมากกว่า 1 พันล้านคนต่อปี เส้นทางของรถไฟความเร็วสูงปักกิ่ง-เซี้ยงไฮ้อยู่ที่ 1,318 กิโลเมตร เทียบได้กับเชียงใหม่-สุราษฏร์ธานี โดยให้บริการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554 (เริ่มสร้างในปี พ.ศ. 2551) โดยเส้นทางดังกล่าวถือเป็นเส้นทางที่สร้างกำไรให้กั